สวัสดีครับ ผม TAXBugnoms เจ้าเก่าเจ้าเดิม เพิ่มเติมคือมาเขียนบทความ UPDATE แบบล่าสุด เรื่อง “ค่าลดหย่อนภาษีจากการท่องเที่ยว" ให้เพื่อนๆพี่ๆน้องๆทุกคนได้อ่านกันครับ

ก่อนหน้านี้ผมเคยเขียนบทความเรื่อง สรุปรายการลดหย่อนภาษีประจำปี 2559 พร้อม UPDATE เทคนิคประหยัดภาษีที่คุณต้องรู้!! ให้อ่านกันไปแล้ว แต่ว่าเข้าสู่ช่วงปลายปีแบบนี้ ทางภาครัฐเรามีโปรโมชั่นแรงๆ ในการลดหย่อนภาษีออกมาเพียบครับ ดังนั้นเลยต้องจัดหนักเพิ่มรายละเอียดเป็นเรื่องๆ เพื่อสร้างความเข้าใจให้เพื่อนๆพี่ๆน้องๆอย่างถูกต้องอีกทีหนึ่งครับ #ยิ้มหวาน

สำหรับบทความในตอนนี้จะเป็นการ UPDATE รายการค่าลดหย่อนภาษีที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวทั้งหมดในปี 2559 ให้อ่านกันครับ ซึ่งผมขอไล่เรียงเริ่มจากค่าลดหย่อนตัวล่าสุดก่อนที่เพิ่งประกาศไปไวๆ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2559 ที่ผ่านมานี้ เรามาดูกันเลยดีกว่าครับ

1. ค่าลดหย่อนเที่ยวตลอดเดือนธันวาคม 2559 จำนวน 15,000 บาท

ตามที่มีมติครม.ประกาศมาเมื่อวานครับกับ ครม.ไฟเขียวหักลดหย่อนท่องเที่ยวตลอด ธ.ค.ไม่เกิน 1.5 หมื่นบาท 

โดยครม.มีมติเห็นชอบมาตรการลดหย่อนภาษีเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวตลอดช่วงเดือน ธ.ค. เป็นเวลา 1 เดือน (ตั้งแต่วันที่ 1 - 31 ธันวาคม 2559) โดยให้หักลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท ซึ่ง ณ วันนี้ได้ประกาศออกมาเป็นกฎหมายแล้วครับ ตามนี้เลยครับผม (อ้างอิง : กฎกระทรวงฉบับที่ 322)

จากที่อ่านดูนะครับ ใช้เงื่อนไขเหมือนกันกับ ค่าลดหย่อนการท่องเที่ยวเดิม (กฎกระทรวงฉบับที่ 316) ที่จะเล่าให้ฟังเพิ่มเติมในข้อ 2 นี่แหละครับ เอาล่ะครับ เรามาดูกันต่อเลยนะครับ

2. ค่าลดหย่อนเที่ยวตลอดทั้งปี 2559 จำนวน 15,000 บาท

ตาม กฎกระทรวงฉบับที่ 316  สำหรับ ค่าบริการท่องเที่ยว และ ค่าที่พักโรงแรม ในประเทศไทย โดยมีเงื่อนไขดังนี้ครับ

1) ผู้รับเงินต้องเป็น  “ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว” ที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ หรือ “ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรม” ที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรมครับ โดยตรวจสอบรายชื่อได้ที่เวปไซด์กรมสรรพากรตามลิงค์นี้เลยครับ

1) รายชื่อผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมที่มีสิทธิขอหักลดหย่อนค่าเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ

2) รายชื่อผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวและมักคุเทศก์ที่มีสิทธิขอหักลดหย่อนค่าเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ

ถ้าหากไม่มีชื่ออยู่ในนี้ ถือว่าใช้ไม่ได้ครับ!! ซึ่งแปลว่าตัวแทนรับจองโรงแรมต่างๆ เช่น Agoda, Booking.com หรือเจ้าอื่นๆ ที่ไม่ได้จดทะเบียนกิจการในประเทศไทยนั้นส่วนใหญ่ไม่สามารถใช้ได้ครับ

2) ค่าใช้จ่ายอะไรต้องเป็นการจ่าย “ค่าบริการ” ให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว หรือที่ได้จ่ายเป็น “ค่าที่พักในโรงแรม” ให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมสำหรับ การเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศเท่านั้น นั่นแปลว่า ค่าเดินทาง เช่น น้ำมันรถ ค่าตั๋วรถทัวร์ ค่าตั๋วเครื่องบิน หมดสิทธินะครับผม (TwT)

3) จำนวนเงินเท่าไรตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่สูงสุดแล้วรวมกัน ไม่เกิน 15,000 บาท

4) เริ่มใช้ตั้งแต่วันไหนวันที่กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับ คือ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ครับผม 

สุดท้ายที่อยากจะเน้นไว้ นั่นคือ หลักฐานการรับเงิน โดยระบุชื่อของเรา (ผู้ที่ต้องการนำค่าใช้จ่ายส่วนนี้มาใช้ลดภาษี) พร้อมทั้งระบุ จำนวนเงิน วัน เดือน ปี ที่จ่ายเงินให้ชัดเจน เช่น ใบกำกับภาษี หรือ ใบเสร็จรับเงินครับผม

หมายเหตุ: ผมอยากแนะนำให้อ่านรายละเอียดในบทความ ไปเที่ยวทั้งที มาลดหย่อนภาษีกันดีกว่า เพิ่มเติมด้วยนะครับ จะได้เข้าใจเรื่องนี้มากขึ้นครับ

สรุปจากข้อ 1 และ 2 จะเห็นว่าค่าใช้จ่ายในส่วนนี้มีระยะเวลาที่เกี่ยวเนื่องกันอยู่ครับ โดยสิทธิ์ค่าลดหย่อนท่องเที่ยวในเดือนธันวาคม 2559 นั้น เปรียบเสมือนเป็นสิทธิประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นมานั่นเองครับ

สมมุติว่า ถ้าเราท่องเที่ยวในช่วงเดือนมกราคม – พฤศจิกายน 2559 ครบสิทธิ 15,000 บาทไปแล้ว (ตามข้อ 2) เราก็ยังจะสามารถใช้สิทธิเพิ่มเติมในข้อ 1 ได้ในเดือนธันวาคม 2559 อีก 15,000 บาทอยู่ดีครับ

หรือเราจะเลือกใช้ 30,000 บาทเต็มๆในเดือนธันวาคม 2559 (กรณีที่ไม่เคยใช้สิทธิมาก่อน) แบบนี้ก็สามารถทำได้ไม่ผิดแต่อย่างใดเหมือนกันครับ ตรงนี้คงต้องปรับใช้ตามไลฟ์สไตล์ใครไลฟ์สไตล์มันครับผม

แต่จริงๆแล้ว สิทธิการลดหย่อนภาษียังไม่หมดเพียงแค่นี้ครับ เพราะยังมีค่าใช้จ่ายท่องเที่ยวที่แอบซ่อนอยู่อีกตัวหนึ่ง ซึ่งใครหลายคนลืมไปแล้ว นั่นคือค่าลดหย่อนช่วงสงกรานต์ตามนี้ครับ

3. ค่าใช้จ่ายท่องเที่ยวช่วงสงกรานต์จำนวน 15,000 บาท

โดยนำรายจ่ายจากการ “กิน-เที่ยว” หรือค่าใช้จ่ายจากการจ่ายค่าอาหารและเครื่องดื่มในร้านอาหาร (ไม่รวมสุรา เบียร์ ไวน์) รวมถึง ค่าท่องเที่ยวและค่าที่พักโรงแรม มาหักเป็นค่าลดหย่อนภาษีได้เท่าที่จ่ายจริงแต่ต้องไม่เกิน 15,000 บาท โดยมีผลช่วงเทศกาลสงกรานต์ 9 วัน คือ 9-17 เมษายน 2559 ที่ผ่านมานี้ครับ (อ้างอิงตาม กฎกระทรวงฉบับที่ 315 นะครับ)

ตรงนี้ก็เป็นอีกเรื่องที่ผ่านไปแล้วครับ เพื่อนๆพี่ๆน้องๆ คงไม่สามารถกลับมาใช้สิทธิได้ในช่วงนี้ แต่ผมเขียนขึ้นมาเพื่อเป็นการเตือนอีกทีครับว่า ถ้าหากใครได้ไป ท่องเที่ยวในช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา ก็อย่าลืมหลักฐานเอามาใช้สิทธิลดหย่อนภาษีกันด้วยนะครับ

สรุปแล้ว จะเห็นว่าในปี 2559 นี้เรามีสิทธิในการลดหย่อนภาษีจากการใช้จ่ายท่องเที่ยวได้สูงสุดเป็นจำนวน 45,000 บาทกันเลยทีเดียวครับ เพียงแต่ว่าแยกเป็นในแต่ละช่วงเวลา ดังนั้นถ้าใครใช้สิทธิก็อย่าลืมเอามาใช้กันด้วยนะครับ

ก่อนจากกัน ผมอยากจะเตือนสั้นๆ อีกสักครั้งครับว่า อย่าให้การใช้สิทธิลดหย่อนภาษีมาบดบังการประหยัดค่าใช้จ่าย