สวัสดีครับ กลับมาพบกันอีกครั้งกับ TAXBugnoms คนเดิม เพิ่มเติมกับบทความประจำ Aommoney.com เหมือนเช่นเคยครับ สำหรับบทความในวันนี้ ผมได้รับเกียรติจากน้อง Bushy นักเขียนดาวรุ่งไฟแรงจากเวปไซด์ Storylog มาพูดคุยกันในหัวข้อ Exclusive Interview : TaxBugnoms กูรูภาษีจากเว็บไซต์ AomMoney  “Startup มือใหม่ จัดการภาษีอย่างไรให้ธุรกิจไปข้างหน้า” ครับ เลยถือโอกาสนำบทสัมภาษณ์ฉบับนี้มาส่งต่อให้เพื่อนๆพี่ๆน้องๆทุกคนอ่านกันครับ 


บทสัมภาษณ์นี้จะเราพาผู้อ่านมาคุยกับ TaxBugnoms หรือ ‘พรี่หนอม’ (ถนอม เกตุเอม) เจ้าของ “บล็อกภาษีข้างถนน” และกูรูด้านภาษีจากเว็บไซต์ AomMoney โดยวันนี้เราจะมาปลดล็อกความสงสัยของคนทำ Startup ที่ตั้งคำถามว่า “Startup ไทยต้องเสียภาษีรึเปล่า”

ทำธุรกิจ Startup จำเป็นต้องรู้เรื่องภาษีด้วยเหรอ

ก่อนจะตอบคำถามนี้ ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ทุกคนที่มีรายได้ในประเทศไทยต้องเสียภาษี กฎหมายระบุไว้ว่า “สิ่งที่คุณได้รับจากการทำงานถือเป็นเงินได้ตามกฎหมาย ต้องนำมาคำนวณภาษีทั้งหมด” ซึ่งจะมีรายได้บางประเภทที่ไม่ต้องนำมาคิดภาษีเพราะกฎหมายยกเว้นให้ เช่น เงินที่พ่อแม่ให้เรา ทีแรกถือว่าเป็นรายได้เพราะเราได้เงินมา แต่กฎหมายยกเว้นไว้ว่าเงินประเภทนี้ไม่ต้องนำมาคิดภาษี นี่คือพื้นฐานที่ต้องเข้าใจให้ตรงกันก่อน

ต่อมาเราต้องรู้ด้วยว่าภาษีหลักๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจมี 2 ประเภทคือ หนึ่ง ภาษีเงินได้ และ สอง ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ซึ่งครั้งนี้จะโฟกัสเรื่องภาษีเงินได้อย่างเดียว เพราะเป็นสิ่งที่คนทำ Startup ต้องรู้

ภาษีเงินได้คืออะไร ง่ายๆ เลย มันคือภาษีที่เกิดจากรายได้ แบ่งออก 2 แบบ คือ บุคคลธรรมดา กับ นิติบุคคล

ภาษีบุคคลธรรมดา เช่น สมชายรับจ้างทำสวนได้เงินมา 5,000 บาท สมชายต้องนำเงินจำนวนนี้ไปเสียภาษีบุคคลธรรมดา แต่ถ้าสมชายเปิดบริษัทที่จดทะเบียน แล้วบริษัททำกำไรได้เงินปีละ 5 ล้าน ส่วนที่เป็นกำไรของบริษัท สมชายต้องนำไปเสียภาษีนิติบุคคล ซึ่งทั้งสองแบบมีวิธีการคำนวณภาษีต่างกัน

สมมติสมชายสร้างแอปฯ ขายอุปกรณ์ทำสวนกับเพื่อน ทำมา 1 ปี และนิยามตัวเองว่าเป็น Startup แบบนี้สมชายต้องเสียภาษีมั้ย

ต้องถามกลับว่าแล้วแอปฯ ของสมชายสร้างรายได้รึเปล่า ถ้ายังไม่มีรายได้ก็ไม่ต้องเสียภาษี แต่ถ้ามีรายได้ก็ต้องไปดูอีกทีว่ารายได้เข้าใคร เข้าคน (บุคคลธรรมดา) หรือเข้าบริษัท (นิติบุคคล) ถ้าแอปฯ ของสมชายทำรายได้ แต่ยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นบริษัท เมื่อได้เงินมา เงินเข้าตัวเอง แบบนี้ถือเป็นรายได้ส่วนบุคคล ก็ต้องนำไปเสียภาษีบุคคลธรรมดา

อีกกรณีหนึ่งสมชายจดทะเบียนไว้ในนามของบริษัท เงินที่ได้ถ้าเป็นกำไร ก็ต้องนำส่วนของกำไรไปเสียภาษีนิติบุคคล แต่ถ้าบวกลบต้นทุนแล้วขาดทุน แบบนี้ถือว่าบริษัทไม่มีกำไร ก็ไม่ต้องเสียภาษี

ได้ยินมาว่าภาษีของธุรกิจ Startup ได้รับการยกเว้นเป็นพิเศษจากทางรัฐ รายละเอียดเรื่องนี้เป็นอย่างไร

ข้อนี้แหละที่สำคัญ ช่วง 2-3 ปีมานี้สิทธิประโยชน์กฎหมายไทยให้ความสำคัญกับการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยการลดอัตราภาษีต่างๆ ลง ซึ่งกลุ่มเป้าหมายของภาครัฐในตอนนี้ เป็นกลุ่มธุรกิจขนาดเล็กและกลางเป็นส่วนใหญ่ รวมถึงกลุ่มธุรกิจที่นิยามตัวเองว่า Startup ด้วย

โดยธุรกิจ Startup จะได้รับ สิทธิประโยชน์ในการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นจำนวน 5 ปี หลังจากที่ปฏิบัติตามเงื่อนไข 3 ข้อ และนี่คือคำถามที่ Startup ต้องเช็คตัวเอง นั่นคือ

1. กิจการเราเป็นแบบไหน

กิจการที่จดทะเบียนนิติบุคคลระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2558 – 31 ธันวาคม 2559 รวมถึงมี ทุนชำระไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท โดยกิจการดังกล่าวต้องไม่มีการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หรือได้รับสิทธิ BOI แต่อย่างใด

2. ประกอบธุรกิจอะไร

ประเภทธุรกิจของบริษัท Startup จะต้องเป็นธุรกิจ 1 ใน 10 ประเภทนี้ ซึ่งต้องใช้เทคโนโลยีมาเกี่ยวข้องในการผลิต และได้ขออนุมัติพร้อมกับรับการรับรองจากทางสวทช.เป็นที่เรียบร้อย

1) อุตสาหกรรมอาหารและการเกษตร
2) อุตสาหกรรมเพื่อประหยัดพลังงาน ผลิตพลังงานทดแทน และพลังงานสะอาด
3) อุตสาหกรรมฐานเทคโนโลยีชีวภาพ
4) อุตสาหกรรมการแพทย์และสาธารณสุข
5) อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อุตสาหกรรมบริการ และอุตสาหกรรมเศรษฐกิจสร้างสรรค์
6) อุตสาหกรรมวัสดุก้าวหน้า
7) อุตสาหกรรมสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม และเครื่องประดับ
8) อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน
9) อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และบริการสารสนเทศ
10) อุตสาหกรรมฐานการวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม หรืออุตสาหกรรมใหม่

โดยประเด็นสำคัญ คือ กิจการดังกล่าวต้องมีรายได้จากธุรกิจที่จดทะเบียนกับทาง สวทช. (เรียกในอีกชื่อหนึ่งว่า กิจการที่รัฐต้องการสนับสนุน) ในอัตราที่ไม่ต่ำกว่า 80% ของรายได้ทั้งหมด

3. ลงทะเบียนยังไง

สำหรับกิจการที่เข้าเงื่อนไขทั้ง 1 และ 2 นั้น ต้องยื่นคำร้องในเว็บไซต์กรมสรรพากรภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2560 เพื่อให้อธิบดีฯ อนุมัติ (รอแจ้งผลอนุมัติภายใน 15 วัน) และจะมีผลได้รับสิทธิในวันถัดจากวันที่อธิบดีอนุมัติเป็นรอบระยะเวลาบัญชีแรก

ถ้าทำตามเงื่อนไข 3 ข้อนี้ได้ถูกต้องครบถ้วน ธุรกิจของเราจะได้รับอนุมัติเป็น New Startup และจะได้สิทธิประโยชน์ในการยกเว้นภาษีเป็นจำนวน 5 ปี (ที่มา : Startup และ SMEs ได้สิทธิลดอัตราภาษีแบบยังไง? มาทำความเข้าใจกันหน่อย!)

ภาษีถือเป็นเรื่องใหม่และเรื่องใหญ่สำหรับคนทำ Startup เหมือนกัน อย่างนี้พรี่หนอมมีข้อแนะนำสำหรับ Startup มือใหม่มั้ย

ข้อแนะนำง่ายๆ สำหรับ Startup มือใหม่ที่กำลังมึนเรื่องภาษี

1. ควรจะมีความรู้ความเข้าใจเรื่องภาษีในขั้นพื้นฐานก่อน เพื่อที่จะได้รู้ว่าตัวเองอยู่ในประเภทไหน และสามารถยื่นเอกสารหรือทำอะไรในบริษัทตัวเองบ้าง

2. ไปจดทะเบียนบริษัทให้ถูกก่อน ถ้ารู้ตัวว่าจะมีรายได้แน่ๆ เพื่อที่จะยื่นภาษีได้ถูกต้อง

3. ง่ายกว่านั้น ไปหาคนทำบัญชีด้วย เพราะการที่คุณจดทะเบียนบริษัทแปลว่าคุณต้องทำบัญชี ต้องทำงบการเงินส่งทั้งกรมสรรพากรและกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ซึ่งเป็นหน้าที่ของบริษัทที่ต้องรายงานข้อมูล จะจ้างจากข้างนอกก็ได้หรือเป็นคนในองค์กรก็ได้ สำคัญคือต้องจบจบบัญชีมาเพราะต้องมีไลเซนส์ผู้ประกอบวิชาชีพ แนะน