สวัสดีคร้าบบบ กลับมาอีกครั้งกับบทความเทคนิควิธีวางแผนภาษีก่อนถึงสิ้นปีกันอีกครั้งหนึ่งครับ โดยบทความในตอนนี้เป็นบทความที่เขียนเพื่อตอบคำถามที่เพื่อนๆพี่ๆน้องๆมีข้อสงสัยมากที่สุดในช่วงนี้ นั่นคือเรื่องราวของการ “วิธีการวางแผนภาษีด้วยประกันชีวิต” นั่นเองครับ ซึ่งวันนี้ผมจะมาเผยแพร่เคล็ดลับง่ายๆในการลดหย่อนภาษีด้วยประกันชีวิตให้ฟังกันครับ

ก่อนที่จะเข้าเรื่องเคล็ดลับต่างๆนั้น เรามาทบทวนเงื่อนไขกันเต็มสูตรอีกสักทีกันดีกว่าครับว่าการลดหย่อนภาษีด้วยประกันชีวิตนั้นมันมีอะไรบ้าง โดยแยกออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ประกันชีวิต (แบบทั่วไป) และ ประกันชีวิต (แบบบำนาญ)

สำหรับประกันชีวิต (แบบทั่วไป) สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้รวมทั้งสิ้นจำนวน 100,000 บาท ตามจำนวนที่จ่ายจริง โดยส่วนแรกสามารถหักได้ 10,000 บาท สำหรับส่วนที่เกิน 10,000 บาทนั้นหักได้ไม่เกินเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย แต่ไม่เกิน 90,000 บาท โดยมีเงื่อนไขดังนี้ครับ

  • กรมธรรม์ประกันชีวิตมีกำหนดเวลาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
  • ต้องทำกับบริษัทรับประกันภัยที่ประกอบกิจการประกันชีวิตในประเทศไทย
  • ถ้ามีการจ่ายเงินคืนเงินปันผลหรือผลตอบแทนระหว่างสัญญา จะต้องมีเงื่อนไขดังนี้

o   กรณีได้รับเงิน  คืนทุกปี ยอดเงินคืนนั้นต้องไม่เกิน 20% ของเบี้ยประกันชีวิตรายปี

o   กรณีได้รับเงินคืนตามช่วงระยะเวลา เช่น 2 ปี 3 ปี 5 ปี ยอดเงินคืนจะต้องไม่เกิน 20% ของเบี้ยประกันชีวิตสะสมของแต่ละช่วงระยะเวลา

o   กรณีอื่นๆ ผลรวมของเงินคืนตั้งแต่ปีแรกถึงปีที่มีการจ่ายเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืนต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของเบี้ยประกันสะสมในช่วงนั้นๆ

ส่วนอีกประเภทหนึ่งคือ เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ซึ่งกำหนดเงื่อนไขการลดหย่อนไว้ดังนี้ครับ

  • ลดหย่อนได้สูงสุด 15% ของเงินได้เป็นจำนวนสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
  • เมื่อรวมกับเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือเงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือเงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน และเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพแล้ว (RMF) ต้องไม่เกิน 500,000 บาท โดยมีเงื่อนไขดังนี้

o   เป็นกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบำนาญมีกำหนดเวลาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป

o   ต้องเอาประกันไว้กับผู้รับประกันภัยที่ประกอบกิจการประกันชีวิตในไทย

o   มีการกำหนดการจ่ายผลประโยชน์เป็นรายงวดอย่างสม่ำเสมอ จะจ่ายเท่ากันทุกงวดหรือจ่ายในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นตามระยะเวลาการเอาประกันก็ได้

o   มีการกำหนดช่วงอายุของการจ่ายผลประโยชน์เมื่อผู้มีเงินได้มีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป ถึงอายุ 85 ปี หรือกว่านั้น

o   ต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยครบถ้วนแล้ว ก่อนได้รับผลประโยชน์

ทั้งหมดนี้คือเงื่อนไขในการลดหย่อนภาษีด้วยประกันชีวิตที่เราทุกคนควรทราบครับ และอย่าลืมตรวจสอบเงื่อนไขเหล่านี้ให้ถูกต้องก่อนที่จะตัดสินใจซื้อประกันชีวิตด้วยนะครับ เอาล่ะครับ ทีนี้เรามาดูกันต่อครับว่า เคล็ดลับ 3 ข้อที่จะเลือกประกันให้เหมาะกับชีวิตคุณนั้นมีอะไรบ้างครับ

  • ตรวจสอบความต้องการของตัวเองเสียก่อน ข้อแรกที่ผมอยากจะย้ำในการตรวจสอบก่อนที่จะซื้อประกันชีวิตนั้น ไม่ใช่สิทธิในการลดหย่อนภาษี แต่เป็นสิทธิประโยชน์ที่เราต้องการจากประกันชีวิตครับ โดยถามคำถามตัวเองสั้นๆก่อนว่า “ต้องการป้องกันความเสี่ยง” หรือเปล่าก่อน ถ้าหากคำตอบคือ “ใช่” ที่นี้เราค่อยไปต่อกับข้อต่อๆไปครับ แต่ถ้าคำตอบคือไม่ใช่แล้วล่ะก็ ผมขอให้หยุดไว้ตรงนี้ก่อนเลยครับ
  • เลือกประกันชีวิตให้เหมาะสมกับ ความสามารถ ในการจ่ายชำระ เรื่องต่อมาหลังจากการตัดสินใจทำประกันชีวิตเพื่อป้องกันความเสี่ยง สิ่งที่ต้องตามมาคือ เราต้องมาสำรวจตัวเองก่อนครับว่า เรามีความสามารถในการจ่ายเบี้ยประกันชีวิตได้ครบถ้วนไหม ไม่ใช่จ่ายๆไปแล้วต้องมาเวนคืนกรมธรรม์ในอนาคต แบบนี้อาจจะมีปัญหาในเรื่องขาดทุนจากการเวนคืน และต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเพิ่มเติมอีกด้วยครับ

ยกตัวอย่างง่ายๆ ถ้าหากเรารู้ว่ารายได้เราไม่แน่นอน และไม่แน่ใจว่าปีหน้าจะสามารถจ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตได้ หรือไม่ เราอาจจะเลือกประกันชีวิตที่จ่ายเบี้ยเพียงครั้งเดียว แต่ได้รับสิทธิคุ้มครองยาวนานถึง 10 ปีตามอายุกรมธรรม์ (ในกรณีที่ต้องการออมเงิน และต้องการผลประโยชน์ทางภาษีเพิ่มเติม) แบบนี้ก็จะเป็นทางเลือกที่สะดวกและคล่องตัวกว่าครับ แต่ถ้าในกรณีที่เรามีความสามารถในการจ่ายชำระและมีกระแสเงินสดที่เข้ามาโดยตลอดแล้วล่ะก็ กรณีนี้ก็จะสามารถเลือกกรมธรรม์ที่มีการจ่ายเบี้ยระยะสั้นแบบนี้ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง หรือถ้าหากเราต้องการประกันชีวิตแบบบำนาญ เพื่อวางแผนเกษียณของเราไปในตัวพร้อมๆ กัน อันนี้ก็คงต้องหันไปหาประกันชีวิตแบบบำนาญที่มีเงื่อนไขตรงตามที่เราต้องการแทนครับ

  • ตรวจสอบเงื่อนไขทางภาษีให้ถูกต้อง เพื่อลดปัญหาในภายหลัง สำหรับแนวทางข้อสุดท้ายนั้น จะเป็นเรื่องท้ายสุดที่เราต้องให้ความสำคัญก่อนจะตัดสินใจซื้อประกันชีวิตครับ โดยผมขอสรุปเงื่อนไขสั้นๆที่ควรรู้มาให้อีกทีหนึ่งในข้อนี้ละกันนะครับ

1) ประกัน “ชีวิต” เท่านั้นที่ลดหย่อนภาษีได้

2) ประกัน “ชีวิต” ไม่สามารถลดหย่อนเกินกว่า “เงินได้” ที่เรามี เช่น กรณีที่เรามีเงินได้ต่อปี 80,000 บาท แต่เราซื้อประกันชีวิตไว้ 100,000 บาท แบบนี้ก็จะสามารถใช้สิทธิได้แค่ 80,000 บาทเท่านั้นครับ และสิทธิส่วนเกินนั้นก็ไม่สามารถโอนให้ผู้อื่น เช่น สามีหรือภรรยา ใช้แทนได้ครับ

3) สิทธิในการลดหย่อนภาษีสำหรับประกันชีวิตแบบบำนาญสูงสุด 300,000 บาท นั่นหมายความว่า ในกรณีทีเรามีรายได้มากกว่า 1,333,333 บาท ซึ่งเป็นสิทธิสูงสุดในการซื้อประกันชีวิตแบบบำนาญสูงสุดได้จำนวน 200,000 บาท แต่เราสามารถนำสิทธิ 100,000