สวัสดีครับ กลับมาพบกันอีกครั้งกับ TAXBugnoms เจ้าเก่าเจ้าเดิม กับบทความเพิ่มเติมเรื่องการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากับ สรุปรายการค่าใช้จ่าย UPDATE ปี 2560 ครับ

บทความในตอนนี้เป็นบทความต่อเนื่องจากบทความเรื่อง สรุปรายการลดหย่อนภาษีประจำปี 2560 + UPDATE ตลอดทั้งปี!!! เนื่องจากบางคนยังไม่ทราบ หรือไม่เข้าใจถึงความแตกต่างในการหักค่าใช้จ่ายกับการหักค่าลดหย่อน ดังนั้นบทความนี้น่าจะช่วยให้สามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้นครับ 

https://web.facebook.com/v2.9/plugins/post.php?app_id=125839547999656&channel=https%3A%2F%2Fstaticxx.facebook.com%2Fconnect%2Fxd_arbiter%2Fr%2FXBwzv5Yrm_1.js%3Fversion%3D42%23cb%3Df3346b1525de50c%26domain%3Daommoney.com%26origin%3Dhttps%253A%252F%252Faommoney.com%252Ffa3369f4ba17d8%26relation%3Dparent.parent&container_width=0&href=https%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2FTaxBugnoms%2Fphotos%2Fa.192327474126010.55670.142036289155129%2F1861314253893982&locale=en_US&sdk=joey&width=600

เริ่มจากทวนกันอีกที เรื่องสมการคำนวณภาษีครับ นั่นคือ รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน เราจะเห็นว่า ค่าใช้จ่ายนั้นเป็นตัวที่ต้องนำมาหักก่อนค่าลดหย่อน ซึ่งตัวค่าใช้จ่ายที่ว่านี้ถูกกำหนดตามประเภทของรายได้ครับ

วิธีการหักค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษี

ในปัจจุบันวิธีการหักค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น จะมีอยู่ 2 วิธีครับ นั่นคือ การหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา (อัตราร้อยละที่กฎหมายกำหนดมาให้) กับ การหักค่าใช้จ่ายตามจริง (ตามจำเป็นและสมควรตามหลักของกฎหมาย) น โดยผมได้สรุปออกมาเป็นตารางรูปด้านล่างนี้และเปรียบเทียบอัตราค่าใช้จ่ายปี 2559 และ 2560 ที่เปลี่ยนแปลงให้ดูกันชัดๆไปเลยครับว่าปีนี้มีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง

จากรูปเราจะเห็นว่า ในปี 2560 รายได้ทั้ง 8 ประเภทนั้น ยังมีการหักค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันเหมือนในปี 2559 ครับ โดยกลุ่มรายได้ประเภทที่ 1-2 นั้นจะยังไม่สามารถหักค่าใช้จ่ายตามจริง ส่วนรายได้ประเภทที่ 4 สามารถหักค่าใช้จ่ายไม่ได้เลย และประเภทที่ 3 ,5-8 สามารถเลือกหักได้ว่าจะหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาหรือตามจริงนั่นเองครับ

โดยวิธีการหักค่าใช้จ่ายที่เปลี่ยนแปลงในปี 2560 นั้นจะมีอยู่ 3 กลุ่มด้วยกัน คือ

1. กลุ่มรายได้ประเภทที่ 1 และ 2

จากเดิมที่หักได้ 40% ไม่เกิน 60,000 บาท เพิ่มขึ้นเป็น 50% ไม่เกิน 100,000 บาท ซึ่งตรงนี้ถือว่าเป็นประโยชน์สำหรับกลุ่ม มนุษย์เงินเดือน และ ฟรีแลนซ์ (งานไม่ประจำ) ครับ เพราะว่าสามารถหักค่าใช้จ่ายได้เพิ่มขึ้นกว่าที่ผ่านมาสูงสุดถึง 40,000 บาท

2. กลุ่มรายได้ประเภทที่ 3

จากเดิมที่หักได้ 40% ไม่เกิน 60,000 บาท สำหรับค่าลิขสิทธิ์เท่านั้น เปลี่ยนเป็นหักค่าใช้จ่ายได้สำหรับ ค่ากู้ดวิลล์ ค่าลิขสิทธิ์ หรือ ค่าสิทธิ์อย่างอื่น ซึ่งสามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายเหมาในอัตรา 50% แต่สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท หรือเลือกหักค่าใช้จ่ายตามจริง (ตามจำเป็นและสมควร) ได้อีกด้วยครับ (อ้างอิง : พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 634)

3. กลุ่มรายได้ประเภทที่ 7-8

จากเดิมที่หักได้ 70% สำหรับเงินได้ประเภทที่ 7 และหักได้ 60-85% สำหรับเงินได้ประเภทที่8 ถูกปรับลดลงเป็น 60% อัตราเดียวเท่านั้น (อ้างอิง : พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 629)) ทำให้กลุ่มนี้สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ลดลงครับ ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายสนับสนุนเพื่อให้เป็นนิติบุคคลนั่นเองครับ (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในบทความ เจาะลึกโดนใจ!! ทำไมสรรพากรถึงอยากให้เราจดบริษัท)

ซึ่งข้อ 3 นี้ จะกระทบกับหลายๆอาชีพอย่างแน่นอนครับ ไม่ว่าจะเป็นอาชีพที่ทำธุรกิจ ขายของออนไลน์ (ซื้อมาขายไป) หรือกลุ่มที่ทำอาชีพรับเหมาต่างๆ ที่เข้าข่ายเงินได้ประเภทที่ 7-8 จะได้รับผลกระทบต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นจากผลของการลดอัตราค่าใช้จ่ายลงครับ

จากทั้ง 3 ข้อนี้จะเห็นว่า มีการหักค่าใช้จ่ายในกลุ่มหนึ่งได้สิทธิเพิ่มขึ้น ส่วนอีกกลุ่มนี้หักค่าใช้จ่ายได้ลดลง ดังนั้นเป็นเรื่องที่แต่ละกลุ่มต้องวางแผนให้สอดคล้องกับเรื่องของภาษีครับ

เทคนิคการวางแผนภาษีสไตล์พรี่หนอม

มาถึงตรงนี้ ผมอยากจะแลกเปลี่ยนวิธีการวางแผนภาษีนิดนึงเพื่อต้อนรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นครับ ว่าการปรับปรุงเรื่องค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนในปี 2560 ใหม่นั้น เราควรจะปรับตัวอย่างไร และวางแผนอย่างไรบ้างครับ

1. สิ่งที่ต้องรู้อันดับแรก คือ รายได้เราเป็นประเภทไหนตามกฎหมาย

ซึ่งรายได้ทั้ง 8 ประเภทนั้นสามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายได้ในอัตราที่แตกต่างกันไป และวิธีการหักค่าใช้จ่ายที่ต่างกัน (แบบเหมา และ ตามจริง) เพื่อให้สามารถหักค่าใช้จ่ายได้สูงสุด และคุ้มค่ากับเราที่สุดครับ

2. วางแผนเพิ่มเติมด้วยค่าลดหย่อน

สำหรับรายการค่าลดหย่อนต่างๆที่เขียนไปในบทความ สรุปรายการลดหย่อนภาษีประจำปี 2560 + UPDATE ตลอดทั้งปี!!! เลือกใช้ตามสิทธิ์อย่างเหมาะสม และตามที่ต้องการอย่างมีประโยชน์ที่สุดครับ

โดยเทคนิค 2 ข้อนี้เป็นหลักการง่ายๆ ที่ผมอยากจะแนะนำก่อนครับ สำหรับคนที่เสียภาษีและอยากวางแผนภาษีสำหรับตัวเองครับ แม้ว่าจะดูเหมือนเป็นเทคนิคเบื้องต้น แต่ผมเชื่อว่าการเริ่มต้นจากพื้นฐานที่ถูกต้องนั้นสำคัญที่สุดครับ

สำหรับคนที่อยากได้เทคนิคเพิ่มเติมมากกว่านี้ เดี๋ยวมาลองติดตามดูกันครับว่า ในกรณีที่มีรายได้ประเภทที่ 7 และ 8 นั้นควรจะทำยังไงดี ควรจะจดบริษัทดีไหม หรือว่าจะจัดการอะไรยังไงให้ประหยัดภาษีสูงสุด เอาเป็นว่าติดตามกันต่อไปครับ โดยการกดติดตามที่เพจ TAXBugnoms ไว้ล่วงหน้าได้เลยคร้าบบบ