สวัสดีครับ กลับมาอีกครั้งในวันนี้กับผม TAXBugnoms คนเก่า ที่วันนี้จะทำหน้าที่เม้าท์มอยในเรื่องของกองทุนรวมกันบ้างครับ ซึ่งวันนี้รับหน้าที่มารีวิวกองทุนทริกเกอร์ฟันด์ที่มีชื่อว่า กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ สมาร์ท เทรด 555 ฟันด์ เอ (SCB SMART TRADE 555 FUND A) แหม่... แค่ฟังชื่อก็รู้สึกตลกแล้วล่ะครับ #ผิด

ก่อนอื่น ผมต้องขอแชร์ประสบการณ์ก่อนครับว่า ตัวผมเองเป็นคนหนึ่งที่ลงทุนในกองทุนรวมมากมายหลากหลายประเภทครับ ทั้งกองทุนหุ้นไทย กองทุนประหยัดภาษีอย่าง LTF RMF ไปจนถึงกองทุนที่ลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอย่างทองคำ น้ำมัน หรือแม้แต่ Fund of Funds ก็พอมีบ้างครับ กล้าบอกเลยครับว่าผมทดลองลงทุนในกองทุนรวมมาทั้งหมดแล้ว ได้กำไรแบบพุ่งกระฉูดก็มี หรือจะขาดทุนแบบรูดกราวก็มีเยอะครับ  ซึ่งตรงนี้ต้องมองดูดีๆนะครับว่า เป้าหมายของการลงทุนของเราคืออะไร?

แต่ต่อให้ลงทุนมากมายแค่ไหนก็ตาม มีกองทุนอยู่ประเภทเดียวที่ผมไม่เคยลงทุนเลย นั่นคือกองทุนที่เรียกว่า ทริกเกอร์ฟันด์ (Trigger Fund) ครับ

แล้ว Trigger Fund คืออะไร?

Trigger Fund คือ กองทุนที่มีการตั้งเป้าหมายผลกำไรไว้ตั้งแต่เริ่มจัดตั้งกองทุน และเมื่อกองทุนทำได้ตามเป้าหมาย ก็จะทำการปิดกองทุนทันที เอ๊ะฟังแล้วก็ดูดีใช่ไหมครับ ลงทุนปุ๊บ-กำไรปั้บ-ปิดกองทุนแป๊บ!

แต่ข้อเท็จจริงข้อหนึ่งของ Trigger Fund ที่ผู้ลงทุนทุกคนควรรู้คือ กำไรมีจำกัด แต่ ขาดทุนมีไม่จำกัด และปิดท้ายปลอบใจเราเบาๆ ด้วยคำว่า การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาก่อนตัดสินใจลงทุน

นอกจากนั้นแล้วกองทุนประเภท Trigger Fund นั้นยังไม่เหมาะสำหรับการลงทุนระยะยาวอีกด้วย เพราะตั้งเป้าหมายรับผลกำไรเร็วเกินไป อาจจะทำไม่ให้เราได้เห็นถึงพลังของดอกเบี้ยทบต้นจากการลงทุนระยะยาว

อ้าวว.. พูดมาแบบนี้ทั้งหมด แล้ววันนี้แกจะมารีวิวกองทุนทริกเกอร์ฟันด์เนี่ยนะ ใช่ครับ เพราะผมต้องการบอกข้อมูลในการลงทุนที่ทุกคนควรจะรู้ก่อนตัดสินใจลงทุนก่อน แล้วเราค่อยมาดูกันต่อครับว่า เจ้ากองทุนเปิดไทยพาณิชย์ สมาร์ท เทรด 555 ฟันด์ เอ ที่มีสโลแกนสั้นๆง่ายๆว่า กองทุนที่ทำให้คุณวางใจ รู้ล่วงหน้าถึงกรอบความเสี่ยงขาลง นั้น มันดีกว่าทริกเกอร์ฟันด์ตามปกติหรือไม่อย่างไร?

ทำความรู้จักกับ กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ สมาร์ท เทรด 555 ฟันด์ เอ

กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ สมาร์ท เทรด 555 ฟันด์ เอ หรือ SCB SMART TRADE 555 FUND A ที่ว่านี้เป็นกองทุนผสมที่มีนโยบายลงทุนโดยกระจายความเสี่ยงในการลงทุนออกไปหลากหลายประเภทครับ ทั้งหุ้น ตราสารหนี้ เงินฝาก ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวม โดยปรับสัดส่วนการลงทุนตามที่ต้องการ แต่ระบุเงื่อนไขว่าจะลงทุนในต่างประเทศไม่เกินร้อยละ 79 และอาจจะมีการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าอีกต่างหาก ดังนั้นผมแนะนำให้อ่านข้อมูลจากหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปนี้ ช้าๆชัดๆ เพื่อให้เข้าใจก่อนครับว่า กองทุนที่เราจะพูดถึงนี้ ลงทุนในอะไรบ้าง

กองทุนมีนโยบายกระจายการลงทุนในตราสารแห่งทุน และ/หรือตราสารแห่งหนี้ และ/หรือตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน และ/หรือเงินฝาก และ/หรือหน่วยลงทุนของกองทุน เป็นต้น รวมทั้งหลักทรัพย์และทรัพย์สินอื่นหรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นตามที่สานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนด โดยกองทุนจะพิจารณาปรับสัดส่วนการลงทุนได้ตั้งแต่ร้อยละ 0 ถึงร้อยละ 100 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ซึ่งสัดส่วนการลงทุนขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุนและตามความเหมาะสมกับสภาวการณ์ในแต่ละขณะ

ทั้งนี้ กองทุนอาจลงทุนในต่างประเทศไม่เกินร้อยละ 79 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน นอกจากนี้กองทุนอาจลงทุนหรือมีไว้ในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า(Derivatives) เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (Hedging) ตามความเหมาะสมสำหรับสภาวการณ์ในแต่ละขณะ ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการลงทุน รวมถึงอาจลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการลงทุน (Efficient portfolio management) อีกทั้งอาจลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (Structured Note)และตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่่ำกว่าที่สามารถลงทุนได้ (Non-investment grade) และตราสารหนี้ที่ไม่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Unrated Securities) และหลักทรัพย์ของบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (Unlisted Securities)

และข้อความทั้งหมดนั่นคือเงื่อนไขของการลงทุนครับ ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นกองทุนที่จัดการตามใจผู้จัดการกองทุนกันเลยทีเดียว อยากทำอะไรก็ได้ สบายๆ ดีครับท่าน ได้ครับนาย ฟรีสไตล์ตามความสามารถ อันนี้ก็ว่ากันไปครับ โดยกองทุนนี้ถูกจัดความเสี่ยงอยู่ในระดับ 5 จากความเสี่ยงที่มีทั้งหมด 8 ระดับ เนื่องจากเป็นกองทุนรวมแบบผสม ซึ่งการปรับสัดส่วนตรงนี้จะขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้จัดการกองทุนเป็นหลักครับ

โดยมุมมองการลงทุนของผู้จัดการลงทุนนั้น แบ่งออกเป็น 3 ประเด็น คือ

  1. การดำเนินนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) โดยคาดว่าทาง Fed จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกเพียง 1 ครั้งในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2016 เพราะยังมีข้อจำกัดในเรื่องค่าเงินดอลลาร์ที่อาจจะแข็งค่าขึ้นและกระทบต่อภาคธุรกิจไปจนถึงการผิดนัดชำระหนี้ โดยทางผู้จัดการกองทุนมองว่าการลงทุนต้องเน้นเลือกเป็นรายอุตสาหกรรมมากกว่าการลงทุนแบบกระจายตามตลาด ซึ่งจะเน้นไปในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับอุปโภคบริโภคและเทคโนโลยีสารสนเทศ
  1. การสนับสนุนทางการเงินของธนาคารกลางยุโรป (ECB) หลังจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ Fed ย่อมส่งผลให้ให้ ECB ดำเนินนโยบายทางการเงินแบบผ่อนปรนมากยิ่งขึ้น ซึ่งส่งผลให้อาจจะมีมาตรการต่างๆ เพิ่มขึ้น ประกอบกับการขยายตัวของเศรษฐกิจในยุโรป จึงคาดการณ์ว่าในปีนี้ยุโรปจะมีผลการดำเนินงานที่ดีกว่าภูมิภาคอื่นๆ
  1. ราคาน้ำมันอยู่ที่ระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง ด้วยการผลิตที่เพิ่มขึ้นจากอิหร่าน สหรัฐฯ ขยายโควต้าการส่งออก รวมถึงกลุ่ม OPEC ที่ระดมผลิตเกินโควต้าที่กำหนด ส่งผลให้อุปทานล้นตลาด ซึ่งการที่ราคาน้ำมันอยู่ในระดับต่ำ ย่อมà