ค่าของเงินตามเวลา

ค่าของเงินตามเวลา หรือ Time Value of Money มาจากแนวคิดที่ว่า เงินจะมีมูลค่าต่างๆกัน ตามเวลาที่แตกต่างกันไปนั่นเอง

เอางี้ .. เพื่อนๆพี่ๆน้องๆลองคิดง่ายๆ ว่าจะเลือกแบบไหน ระหว่าง ...

  • ได้รับเงินวันนี้ทันทีเลย 1,000,000 บาท
  • อีกสิบปีข้างหน้าค่อยมาเอา 1,000,000 บาท

แหม่... ไอ้ฟายยย @TAXBugnoms ถามอะไรง่าวๆ.. ใครจะเลือกรอเงินอีก 10 ปีล่ะโฟร้ยยยย!!!!!! เอาวันนี้เลยดีกว่า จะได้เอาไปทำอะไรที่อยากทำ ลงทุนที่อยากลงทุน อย่างน้อยๆก็ฝากธนาคารกินดอกเบี้ยก็ยังได้

นั่นไง!!!! เห็นป่ะละ!!!! แสดงว่า เงินในปัจจุบัน ย่อมมีมูลค่ามากกว่าเงินจำนวนเดียวกันในอนาคตนั่นเอง...  (อ้อ.. มีข้อแม้นิดนึงนะว่า ตราบใดที่อัตราดอกเบี้ยมากกว่า 0%)

เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น ลองมาดูตัวอย่างกันดีกว่า ว่าเงินจำนวน 1 ล้านบาทในปีนี้ อีก 20 ปี มันจะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าไรได้บ้างเน้ออออ

เงิน 1 ล้านบาท วันนี้
จะเป็นเท่าไหร่ในอีก 20 ปีข้างหน้า

เอ๊ะๆๆ...
ช้าก่อน... สังเกตเห็นไหมว่า...

อะไรทำให้จำนวนเงินแต่ละบรรทัดแตกต่างกัน

ระหว่าง

1. เงินต้น

2. ผลตอบแทน

3. ระยะเวลา

และคำตอบ ที่ถูกต้อง คือ ...

"ทุกตัว"

เงิน(เริ่ม)ต้น = มีพ่อรวย

จากตารางข้างบน ขนาดเงินเริ่มต้นเพียง 1ล้านบาท ถ้าลงทุนดีๆ เจอผลตอบแทน 20% ก็เพิ่มขึ้นกลายเป็นเงิน 38 ล้านบาทได้ภายใน 20 ปี ทีนี้ถ้ามีเงิน 100 ล้านบาทล่ะ แหม่.... กลายเป็น 3,800 ล้านบาทกันเลยทีเดียว

ดังนั้นจงอย่าแปลกใจ ถ้าใครคนไหนโชคดีมีพ่อรวย มีบุญบารมีสั่งสมวาสนามาจากชาติที่แล้ว สมมุติว่ามี 1,000 ล้านบาท เพียงลงทุนได้ผลตอบแค่ 5 % ก็มีเงินเพิ่มปีละ 50 ล้านบาท แบบชิวๆ ซึ่งบางคนทั้งชีวิตยังหาไม่ได้เลย กับ 50 ล้านบาทที่ว่า แต่คุณพี่ฝากปีเดียวซัดไปแบบง่ายๆ เย็นๆ สบายๆ

แบบนี้ก็ ถือเป็นบุญวาสนาของคนที่รวย ที่เราไม่สามารถไปแข่งได้ ได้แต่อิจฉาอยู่ห่างๆ อย่างห่วงๆ โอ้ยยย ทำไมพ่อตรูไม่รวยแบบนี้บ้างงงงงงโว้ยยยยยยยยยยยยยยยยย

ว่าแล้วก็ก้มหน้าก้มตาทำงานต่อไป...

ผลตอบแทน = คนฉลาด

ผลตอบแทนคือ สิ่งที่ได้รับจากการนำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ โดยปกติจะวัดในรูปแบบของอัตราผลตอบแทน หรือคิดเป็นเปอร์เซนต์ (%) ต่อปีจากเงินต้นที่เราลงทุนไป สำหรับใครที่ลงทุนได้ผลตอบแทนมากก็ยิ่งมีโอกาสที่จะรวยมาก

การหาผลตอบแทนมากๆ นั้นอยู่ที่ความสามารถ ที่มาจาก “สมอง” หรือ “ความฉลาด” ในการหาสินทรัพย์ที่ได้รับผลตอบแทนสูงขึ้น ซึ่งบางครั้งผลตอบแทนที่สูงขึ้นอาจจะตามมาด้วยความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน

โดยการที่เราจะหาผลตอบแทนได้มากๆนั้น มันอยู่ที่เวลาและโอกาส ซึ่งคนที่มีความรู้และความเข้าใจในการลงทุนมากกว่า ย่อมสามารถจะจับจังหวะการลงทุนที่จะได้รับผลตอบแทนที่มากขึ้นยังไงล่ะฮะ

โอ้ยยย แล้วคนโง่ๆอย่างตรูจะหาผลตอบแทนมากๆจากไหนฟระเนี่ย ... (หลายคนแอบบ่นในใจ ผมรู้ว่าคุณกำลังคิดแบบนั้น เพราะผมก็เป็นเหมือนกัน ฮา)

ระยะเวลา = คนขยัน

มาดูกันที่ตัวแปรสุดท้าย “ระยะเวลา” จะเห็นว่า ยิ่งเวลาลงทุนนานแค่ไหน ผลตอบแทนก็เพิ่มขึ้นเท่านั้น แต่สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับระยะเวลาก็คือคนที่ “ไม่มีพ่อรวย” และ “ไม่ฉลาด” ก็สามารถทำได้ง่ายๆ

โดยสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับ “ระยะเวลา” ที่เวลา ไม่ใช่แค่เพียงจำนวนปี แต่เป็น “เวลาที่เราได้เริ่มต้น” ต่างหาก

เอาล่ะ... ลองมาดูตัวอย่างระหว่าง นายเกรย์แมน และ น.ส.ซูซี่ กันหน่อยดีกว่า

นายเกรย์แมน เริ่มต้นเก็บเงินเดือนละ 1,000 บาท ตั้งแต่อายุ 20 ปี โดยตั้งใจเก็บจนถึงอายุ 35 ปี (15 ปี) หลังจากนั้นนายเกรย์แมนก็เลิกเก็บเงินโดยปล่อยให้เงินรับผลตอบแทนไปจนถึงอายุ 60 ปี

ส่วน น.ส.ซูซี่เริ่มต้นเก็บเงินเดือนละ 1,000 บาท ตอนอายุ 45 ปี โดยตั้งใจเก็บจนถึงอายุ 60 ปี โดยใช้เวลาทั้งหมด 15 ปี เช่นเดียวกันกับนายเกรย์แมน

สมมุติว่าทั้งคู่ เลือกที่จะนำเงินเก็บในแต่ละเดือนไปลงทุน โดยได้รับผลตอบแทนในอัตรา 10% ต่อปี ผลที่ได้ก็จะเป็นกราฟฟิกเปรียบเทียบข้างบน (เลื่อนขึ้นไปดูครับ)

เห็นหรือไม่ว่า ... เมื่ออายุ 60 ปี

  • นายเกรย์แมนมีเงินเก็บจำนวน 5,566,528 บาท
  • ส่วนมาดามซูซี่จะมีเงินเก็บเพียง 461,686 บาท

เมื่อใช้เวลาเก็บเงิน 15 ปีเท่ากัน เพียงแค่ว่านายเกรย์แมน “เริ่มต้นก่อน” เท่านั้น มาดามซูซี่ก็ตามหลังแบบไม่เห็นฝุ่น นั่นเป็นเพราะว่านายเกรย์แมนมีตัวช่วยที่เรียกว่า “ดอกเบี้ยทบต้น” 

ดอกเบี้ยทบต้น คืออะไร?

ดอกเบี้ยทบต้น ถ้าให้เรียกง่ายๆก็คือ ดอกเบี้ยของดอกเบี้ย นั่นแหละ

ตัวอย่างเช่น เราฝากเงิน 10,000 บาทในบัญชีธนาคารแห่งหนึ่ง ซึ่งจะจ่ายดอกเบี้ยร้อยละ 10 ต่อปี

เมื่อเวลาผ่านไป 1 ปี ได้รับดอกเบี้ย 1,000 บาท ดังนั้นเมื่อสิ้นสุดปีที่ 1 เราจะมีเงินในบัญชี 11,000 บาท

พอปีที่ 2 เราจะได้รับดอกเบี้ย 2,000 บาทจากเงินต้น (1,000 แรกจากปีที่ 1 และอีก 1,000 จากปีที่ 2) และได้รับดอกเบี้ยของดอกเบี้ยอีก 100 บาท รวมเป็นดอกเบี้ยทั้งสิ้น 2,100 บาท เมื่อสิ้นสุดปีที่ 2 เราจะมีเงินในบัญชี เท่ากับ 12,100 บาท

ดังนั้นเมื่อเวลายิ่งผ่านไป ผลตอบแทนที่เราได้รับ จะไม่ได้มาจากดอกเบี้ยของเงินต้นเท่านั้น แต่จะได้รับ “ดอกเบี้ยของดอกเบี้ย” ตามจำนวนปีที่เพิ่มขึ้นด้วย ดังนั้น จึงเป็นสาเหตุที่นายเกรย์แมนมีเงินเพิ่มขึ้นมากกว่าน.ส.ซูซี่แบบทวีคูณ นั่นก็มาจากอานุภาพของเจ้าดอกเบี้ยทบต้นที่ว่านี่แหละคร้าบบ

จากผลสรุปข้างต้นทั้ง 3 ตัวแปรที่มีความสำคัญ ขอถามสั้นๆว่าถ้าหาก “พ่อไม่รวย” และ “ไม่ฉลาด” แต่มีความฝันว่าอยากจะรวย สิ่งที่เราทำได้เพียงอย่างเดียวก็คือ ....

"เริ่มเก็บเงินตั้งแต่ตอนนี้!!!"

รวยได้ไม่ง้อพ่อ ตอน 3 : ทำยังไงให้รวย