ในช่วงที่ผ่านมานี้จะเห็นได้ว่ามีหุ้นเข้าใหม่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ให้นักลงทุนเข้ามาจับจองเป็นหุ้นส่วนกันเยอะแยะมากมายเต็มไปหมดเลยนะครับ แต่ละบริษัทนั้นก็เป็นธุรกิจยุคใหม่ ทันสมัยและเป็นที่รู้จักกันดี ในวันนี้ผมก็จะมานำเสนออีกหนึ่งบริษัท ที่จะเป็นหุ้นน้องใหม่ นั่นคือ "บริษัท มัดแมน จำกัด (มหาชน")

ถ้าพูดว่า "Mudman (มัดแมน) " เพื่อนๆ หลายคนอาจจะไม่คุ้นหูว่าเป็นหุ้นอะไร  แต่ถ้าบอกว่าเป็นหุ้นบริษัทโฮลดิ้งที่เป็นผู้ได้รับสิทธิแฟรนไชส์ของ Dunkin’ Donuts, Au Bon Pain, Baskin Robbins และยังเป็นเจ้าของแบรนด์ร้านอาหารสุดเท่อย่าง Greyhound Café และสินค้าไลฟ์สไตล์อย่าง Greyhound Original และ Smileyhound ทุกคนก็คงจะร้อง อ๋อ! รู้จักแล้ว เพราะเป็นสินค้าที่เราเห็นทั่วไปในชีวิตประจำวันเวลาไปซื้อของตามห้างสรรพสินค้าครับ

ในบทความนี้ผมจะนำเสนอใน 5 แง่มุม ได้แก่

  1. ธุรกิจในเครือและสินค้าบริการ
  2. โครงสร้างรายได้และการทำกำไร
  3. โครงสร้างธุรกิจของ Mudman จากการระดมทุน
  4. โอกาสในการเติบโตของกิจการ
  5. ความเสี่ยงของกิจการ

เรามาเริ่มดูกันทีละหัวข้อกันเลยนะครับ

1) ธุรกิจในเครือและสินค้าบริการ

กลุ่มธุรกิจของ "Mudman (มัดแมน)" นั้นประกอบด้วยสินค้าและบริการ 2 ประเภทนะครับ ได้แก่ กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม และกลุ่มสินค้าไลฟ์สไตล์

ในส่วนอาหารและเครื่องดื่ม จากที่เกริ่นให้ฟังในช่วงแรกนั้นนอกเหนือจาก Dunkin’ Donuts และ Baskin Robbins แล้ว บริษัทฯ ยังมีแบรนด์สินค้าที่ให้บริการคือ Au Bon Pain, Greyhound Café และ M Kitchen ด้วยนะครับ เชื่อว่าหลายๆ คนก็คงมีประสบการณ์ใช้บริการแบรนด์เหล่านี้อยู่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร ขนม เบเกอรี่ ไอศครีม ก็มีให้เห็นโดยทั่วไป

นอกจากนี้แล้ว ยังมีเสื้อผ้าไลฟ์สไตล์สำหรับสุภาพบุรุษและสุภาพสตรี เชื่อได้เลยว่าแฟนเพจหลายๆ ท่านก็ชื่นชอบเสื้อผ้าแบรนด์นี้อยู่ไม่น้อย คือแบรนด์ที่ชื่อว่า Greyhound Original ซึ่งผมสรุปเป็นตารางข้างล่างนี้ให้เห็นภาพกันง่ายๆ นะครับ ว่าสินค้าบริการของมัดแมนมีอะไรบ้าง

2) โครงสร้างรายได้และการทำกำไร

เมื่อเราเป็นนักลงทุน สิ่งที่เราควรจะต้องดูเพิ่มเพื่อรู้จักบริษัทให้ดีขึ้นก็คือ ผลประกอบการและการทำกำไรของบริษัทนะครับ มาดูโครงสร้างรายได้ล่าสุด ซึ่งเป็นข้อมูลสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค. 2559 จะเห็นได้ว่ารายได้ส่วนใหญ่นั้นมาจาก Dunkin’ Donuts ถึง 39.6% ตามมาด้วยร้านอาหาร Greyhound Café ถึง 25.6% และร้านกาแฟที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่อย่าง Au Bon Pain ถึง 24.4% ครับ

ที่นี้ ผมเอางบการเงินย้อนหลังจาก Filing ที่ยื่นกับทาง กลต. มาให้ดูนะครับว่าเป็นอย่างไรบ้างมาดูกันเลยนะครับ

หมายเหตุ: ปรับปรุงผลกระทบของขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ และค่าตัดจำหน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้มาจากการรวมธุรกิจ

หากเรามองย้อนหลัง 4 ปีแล้วจะเห็นได้ว่ารายได้รวมของบริษัทเพิ่มสูงขึ้น จากการขยายสาขาและยอดขายที่สูงขึ้นของแต่ละสาขา หากเรามองในส่วนของกำไรนั้นในช่วงที่ผ่านมามีการขาดทุนอยู่ ซึ่งเกิดจากค่าตัดจำหน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตน

ซึ่งเกิดจากการเข้าซื้อธุรกิจ Dunkin’ Donuts , Au Bon Pain , Greyhound Café และ Greyhound Original และการด้อยค่าสินทรัพย์ไม่มีตัวตนของ Greyhound Original โดยค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายทางบัญชี เช่นเวลาที่เราจ่ายค่าลิขสิทธิ์ให้เจ้าของแบรนด์มาใช้ประโยชน์ ก็จะต้องมีการตัดค่าใช้จ่ายทางบัญชีทุกปีๆ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายทางบัญชี ซึ่งเกิดจากการลงทุนในอดีต จะตัดไปเรื่อยๆ จนกว่าจะหมดไปนะครับ

คราวนี้หากเรามามองในเชิงของการดำเนินงานจริงๆ ว่าธุรกิจมีเงินสดเข้ามาหรือไม่ โดยไม่ได้คิดต้นทุนทางบัญชีส่วนนี้ จะเห็นได้ว่าบริษัทยังมีกำไรสุทธิจากการดำเนินงานที่เติบโตอย่างต่อเนื่องและมีเงินสดที่เข้ามาจากการทำธุรกิจอย่างแข็งแกร่งครับ

3) โครงสร้างธุรกิจของ Mudman จากการระดมทุน

บริษัท มัดแมน จำกัด (มหาชน) นั้นมีผู้ถือหุ้นใหญ่หลักๆ อยู่ 2 กลุ่มคือ บมจ. ทรัพย์ศรีไทย 80.33% และ บมจ. น้ำตาลขอนแก่น 9.33% นอกนั้นจะเป็นผู้ถือหุ้นท่านอื่นๆ อีก 10.34% ครับ

การเสนอขายหุ้นครั้งนี้จะมีการระดมทุนเพิ่ม 210,980,750 หุ้น คิดเป็น 20% ของหุ้นที่ออกทั้งหมดภายหลังการเสนอขาย

โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน

  • ในส่วนแรก จำนวน 41,437,135 หุ้น หรือ 20% ของหุ้นที่เสนอขายจะเสนอขายให้กับผู้ถือหุ้นกลุ่ม บมจ. ทรัพย์ศรีไทย (“SST”) ที่มีสิทธิในการจองซื้อ (Pre-emptive Rights) ในอัตราส่วน 10 หุ้นของ SST ต่อ 1 หุ้นของบริษัท โดย SST จะขึ้นเครื่องหมาย XB ในวันที่ 14 มีนาคม 2560 ซึ่งหมายความว่านักลงทุนที่ถือหุ้น SST จนกระทั่งตลาดปิดในวันที่ 13 มีนาคม 2560 จะได้รับสิทธิในการจองซื้อหุ้นของบริษัท ดังนั้นหากนักลงทุนซื้อหุ้น SST ก่อนวันที่ 13 มีนาคม 2560 แต่ขายหุ้นในวันที่ 13 มีนาคม 2560 หรือซื้อหุ้น SST ในวันที่ 14 มีนาคม 2560 ก็จะไม่ได้รับสิทธิจองซื้อหุ้นของบริษัท
  • ในส่วนที่ 2 อีก 169,543,615 หุ้น หรือ 80% รวมกับส่วนที่เหลือในส่วนแรก จะเสนอขายให้กับประชาชน

จากภาพจะเห็นได้ว่า หลังจากมีการระดมทุนเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้ว ประชาชนก็สามารถเป็นเจ้าของได้นะครับ โดยผู้ถือหุ้นหลักๆ ไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงใดๆ ก็จะไม่มีความเสี่ยงในเรื่องนี้ เพราะไม่ได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อออกจากธุรกิจไป แต่เป็นการนำเงินมาขยายกิจการ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มเงินทุนหมุนเวียน ชำระเงินกู้ยืม และไปลงทุนในต่างประเทศครับ

4) โอกาสในการเติบโตของกิจการ

ถ้าเราศึกษาประวัติของบริษัทแห่งนี้ก็จะพบว่าเขาก็พัฒนาแบรนด์อย่างต่อเนื่องนะครับ มีการนำธุรกิจเข้ามาอยู่ในพอร์ตอย่างต่อเนื่องรวมถึงการหาโอกาสขยายสาขาเพื่อต่อยอดทã