วันนี้จะมาแอบเม้าท์เรื่องของนักวิทยาศาสตร์ผู้โด่งดังคนหนึ่งที่ชื่อเซอร์ ไอแซก นิวตั้นให้ฟังนะครับ ผมเชื่อว่าหลายๆคนก็คงรู้จักนิวตันดีจากเรื่องราวแสนคลาสสิ๊ก คลาสสิก ที่วันหนึ่งคุณท่านไปนั่งที่ใต้ต้นแอปเปิล แล้วแอปเปิลก็ตกใส่หัวขึ้นมา เขาก็เลยปิ๊งปั๊งว่า “เฮ้ยยย โลกมันมีแรงดึงดูดและแรงโน้มถ่วงนะเว้ยยยยยยยย” และสิ่งที่เราได้เรียนรู้จากความคิดของนิวตันนั้นมีอีกเยอะมากโดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหลักฟิสิกส์

แต่เรื่องของการลงทุนนั้นอย่าไปเลียนแบบนิวตันนะจ๊ะ

เรื่องราวก็มีอยู่ว่า ในช่วงระหว่างศตวรรที่ 17-18 อังกฤษเป็นประเทศที่มีเรื่องโน้นนี่หลายสิ่ง สงครามกลางเมือง สงครามระหว่างประเทศ และในสงครามแต่ละครั้งก็ต้องใช้เงินกันเป็นมหาศาล จนเงินในคลังนั้นมีน้อยมากเมื่อเทียบกับหนี้สินที่จ่อคอยหอยรัฐบาล ต้องใช้หนี้กันซักประมาณ 300 ปีล่ะมั้ง แต่การแก้ปัญหาเศรษฐกิจในสมัยนั้นก็คงไม่ต่างจากสมัยนี้ที่พอจะขยับอะไรหน่อยอย่างการเก็บภาษีเพิ่มก็จะเกิดการต่อต้านไปทั่ว รัฐบาลสมัยนั้นก็เลยปิ๊งไอเดียขึ้นมาใหม่ก็คือการจัดตั้งบริษัทขึ้นมาเพื่อโอนหนี้รัฐบาลไปเป็นการลงทุนในบริษัทการค้าและนั่นก็เป็นที่มาของบริษัท “South Sea Company”

ตอนนั้นใครที่ก็เป็นการเปลี่ยนโครงสร้างหนี้ของรัฐบาลมาเป็นการลงทุนในบริษัทการค้า โดยที่รัฐบาลจะจ่ายดอกเบี้ยให้กับ SSC ที่ 6% และผู้ถือหุ้นก็จะได้รับเงินปันผลไป พร้อมกับให้สัมปทานของบริษัทนี้ในการผูกขาดในการค้าระหว่างอังกฤษกับทางอเมริกาใต้ด้วย พอนักลงทุนฟังดูแล้วก็คงจะอินไม่ได้ คือ ได้รายได้จากดอกเบี้ยรัฐบาลพร้อมๆไปกับการเติบโตในการค้าที่ผูกขาดด้วย ผู้ถือหุ้นก็หน้าตาดีๆทั้งนั้น เรียกได้ว่าครบถ้วนในเรื่องรายได้ที่มาอย่างสม่ำเสมอพร้อมๆกับ Competitive Advantage ที่มโนแล้วรวยกันได้เลยทีเดียว

ถ้าใครฟังแผนที่ดูหรูหราของบริษัทนี้แล้วก็คงอยากจะลงเงินอยู่เนอะ เพราะถ้าเกิดบริษัทไปได้ดี ผลตอบแทนก็จะสูงมาก แต่ในความเป็นจริงของเหตุบ้านการเมืองระหว่างประเทศในตอนนั้นคือ อเมริกาใต้นั้นเป็นอาณานิคมของสเปนซึ่งไม่ถูกกับอังกฤษเอาซะเลยแถมยังทำสงครามกันอีก บริษัทสามารถส่งเรือไปค้าขายได้ปีละ 1 ลำเท่านั้นเอง ทำให้บริษัทเองก็ไม่สามารถสร้างผลกำไรจากการผูกคาดทางการค้าอย่างที่รัฐบาลให้สัมปทานได้ นอกจากนี้แล้วการสร้าง Story มากมายในบริษัท South Sea Company มีการนำบุคคลสำคัญๆ หรือเป็น Celebrity ในสมัยนั้นไม่ว่าจะเป็นสมาชิกราชวงศ์ ชนชั้นนำ เข้ามาอยู่ในกลุ่มการลงทุนด้วย พอเห็นแบบนี้ก็เดาต่อได้แล้วว่าต้องมีขบวนการ Insider ในการสร้างราคาหุ้นอยู่แล้ว

เรื่องราวต่างๆก็ทำให้หุ้นปรับตัวให้มีราคาขึ้นได้แม้พื้นฐานการดำเนินกิจการจะไม่ดีเลย ซึ่งท้ายสุดแล้วก็เหมือนกับทุกๆหุ้นปั่นที่ราคาจะลดลงอย่างรวดเร็ว

“เซอร์ไอแซก นิวตันก็เป็นหนึ่งในคนที่ขาดทุนในเวลานั้น”

ตัวเลขที่มีการพูดคุยกันก็ไม่ได้น้อยเท่าไหร่ คือ £20,000 หรือถ้าเทียบเป็นเงินในสมัยนี้ก็ประมาณ 120 - 150 ล้านบาทในสมัยนี้ ลองคิดดูว่าถ้าอยู่ๆเราลงทุนแล้วเงินหายไป 120 ล้านบาทจะขนาดไหน คงเสียดายมากๆเลยนะครับ มันเป็นจำนวนเงินที่คนทุกสมัยนำไปใช้จ่ายแล้วอยู่ได้ทั้งชีวิตโดยไม่ต้องทำงานก็ได้เลยนะครับ

มีการอธิบายในเรื่องของอารมณ์ในการลงทุนของไอแซก นิวตันผ่านกราฟโดยมาร์ค ฟาเบอร์และเจรามี่ เกรนเทม ซึ่งผมมองว่าก็คงไม่ต่างจากคนในสมัยนี้นะครับ เขาอธิบายว่านิวตันเริ่มลงทุนในช่วงที่หุ้นบริษัทนี้เริ่มขึ้น ในช่วงต้นปี 1792 และก็ขายทำกำไรไปช่วงที่หุ้นปรับราคาขึ้นไป 100% ในช่วงเวลาต่อมา ในภาพยังแสดงต่ออีกว่าหลังจากนั้นเมื่อเห็นเพื่อนได้กำไรหุ้นหลังจากที่ราคาปรับตัวขึ้นไปสูงกว่าเดิม ก็ทำให้กลับเข้าไปซื้อใหม่เพราะคิดว่าหุ้นจะขึ้นไปอีก (และคนจำนวนไม่น้อยก็ทุ่มสุดตัวในเวลานั้นแบบ All in ก็มี) แน่นอนว่าเมื่อหุ้นปั่นนั้นถูกตลาดมองว่ามีความเสี่ยงและอันตรายมาก กำไรตามไปไม่ทันก็จะถูกเทขายอย่างแรงและไม่มีพื้นฐานรองรับใดๆเลย

ราคาหุ้น SSC ที่ขึ้นและลงถล่มทลายนั้น เกิดในช่วงเวลาอันสั้นมากๆ ถึงแม้ในช่วงแรกๆเขาจะขายทำกำไรไปแล้วแต่ถ้าพอเนื่องด้วยที่มีการกลับไปลงทุนอีกครั้งในสภาวะกระทิงที่กำลังเปลี่ยนเป็นหมีก็ทำให้เกิดการขาดทุนอย่างรุนแรง ก็เลยเกิดประโยคอมตะของนิวตันเกี่ยวกับการลงทุนขึ้นมาดังนี้ครับ

“I can calculate the motions of heavenly bodies, but not the madness of people.” หรือ “ฉันสามารถคำนวณการเคลื่อนไหวของดวงดาวได้ แต่ไม่รวมถึงความบ้าคลั่งของมนุษย์”

บทเรียนที่เราได้จากเรื่องการลงทุนของเซอร์ไอแซก นิวตันและบริษัท South Sea คืออะไร?

1. วิสัยทัศน์ของกิจการจะดีขนาดไหนแต่เราก็ต้องอยู่บนโลกแห่งความจริง

ธุรกิจที่มีความได้เปรียบในการแข่งขันนั้น เราอาจจะมองว่ามันดูดี น่าจะเติบโตในอนาคตได้ แต่นั่นคือการคาดการและมโนของเราเท่านั้น เราเองก็ต้องดูความเป็นจริงในการประกอบกิจการและสภาวะการแข่งขันและมุมมองความเป็นจริงต่างๆว่ามีความเสี่ยงอย่างไรและมีความเป็นไปได้ในการลงทุนตามที่เขาบอกหรือไม่ พื้นฐานกิจการที่ดีจะต้องมีการทำกำไรได้จริงและสะท้อนออกมาจากงบการเงินของบริษัท ไม่ใช่ความต้องการของนักลงทุนที่จะดันราคาให้สูงขึ้นเพียงอย่างเดียว

2. ผลการดำเนินงานนั้นสำคัญไม่แพ้กับข่าวและความน่าเชื่อถือของบริษัท

บริษัท South Sea ในสมัยนั้นเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่มากๆและสิ่งหนึ่งที่ทำให้คนมั่นใจในการลงทุนก็คือ การที่มีบุคคลสำคัญๆเข้ามาร่วมถือหุ้นและบริหารกิจการ เช่น สมาชิกของราชวงศ์ ชนชั้นนำ ซึ่งทำให้บริษัทนี้มีความน่าเชื่อถือสูงมาก และก็คงไม่ต่างจากคนสมัยนี้ที่เวลาเห็นนักลงทุนชื่อดังเข้าไปซื้อหุ้นก็จะแห่ซื้อตามบนความเชื่อที่ว่า “เขาคงไม่พลาดหรอก” โดยไม่ได้ศึกษาข้อมูลกิจการให้ดีและอาจจะทำให้ขาดทุนได้

3. อารมณ์ตลาดทำให้คนที่เกิดความโลภขาดทุนได้เสมอ