เรื่องก็มีอยู่ว่าผมได้นั่งอ่านบทความซึ่งมีการอ้างอิงในเรื่องของสถิติเกย์ไทยและเรื่องที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการเงินของกลุ่มรักร่วมเพศ มีความน่าสนใจมากเลยครับ บทความในข้อมูลที่ผมอ่านมาก็อ้างอิงจาก Zocial,inc. (ข้อมูลปี 2004) และ บริษัท นาโน เสิร์ช (ข้อมูล ปี 2007) ที่ทำการสำรวจมา มาดูข้อมูลที่น่าสนใจกันนะครับ

  1. จำนวนประชากรเกย์ในประเทศไทย จากข้อมูลหลายปีก่อนก็อยู่ในอันดับ 8 ของโลกนะครับ จำนวนที่ระบุว่าตัวเองเป็นเกย์ใน Facebook คือ 340,000 คน ซึ่งในปัจจุบันก็น่าจะมีแนวโน้มที่มีจำนวนมากขึ้นนะครับ เพราะเด็กรุ่นหลังๆก็โตมาและยอมรับตัวเอง มีการแสดงออกใน Facebook มากขึ้น ในขณะที่ประชากรเกย์ผู้ใหญ่ก็คงไม่ได้ลดลงมากเพราะคงไม่มีใครอยู่ๆก็แมนขึ้นมาเฉยๆแล้วไปชอบผู้หญิงได้อยู่แล้ว ในส่วนของข้อมูลเลสเบี้ยนก็พอมีนะครับตัวเลขที่จะสูงกว่าเกย์เท่านึงคือประมาณ 660,000 คน
  1. การเก็บเงินออมของกลุ่มเกย์ ที่น่าสนใจมากก็คือ จำนวนเกย์ไทยถึง 61% มีการเก็บออมได้ และส่วนใหญ่ 22% จะเก็บออมในรูปแบบเงินฝาก ที่เหลือก็จะเป็นในส่วนของประกันชีวิตนะครับ ซึ่งจากสถิติแล้วเป็นไปได้ว่าเมื่อ 10 ปีก่อนคนอาจจะไม่ได้รู้จักในเรื่องของการลงทุนมากเท่าตอนนี้ แต่อย่างไรก็ตามจากที่ผมคุยกับเพื่อนๆที่เป็นเกย์ มีส่วนน้อยเท่านั้นที่เข้ามาลงทุนในหุ้น อย่างมากก็ซื้อกองทุนรวมหรือ LTF RMF และนอกนั้นก็ไม่ได้สนใจเรื่องการลงทุนเท่าไหร่
  1. พฤติกรรมการใช้เงิน ส่วนใหญ่จะมีเงินเก็บนะครับ (จริงง่ะ? ผมอาจจะมีเพื่อนเกย์ที่ไม่มีเงินเก็บซะเยอะ) แต่จะมีเพียง 76% เท่านั้นที่จะวางแผนการเงินที่เก็บออมต่อว่าจะเอาไปทำอะไร ส่วนใหญ่ก็ไม่ได้วางแผนการใช้จ่ายอยากได้ของก็ซื้อ โดยส่วนตัวผมว่าด้วยความที่เกย์ส่วนใหญ่ได้เงินเดือนมาแต่ไม่ต้องใช้ไปกับภาระอื่นๆ เช่น เรื่องลูกเมีย ก็เลยสามารถมีเงินจับจ่ายใช้สอยได้อย่างสบาย ก็อาจจะมีการอยู่เป็นคู่บ้าง เป็นโสดบ้าง แต่ส่วนใหญ่ก็เป็นโสดซะเยอะนั่นล่ะ เวลาคุยเรื่องความรักใครว่าชะนีไม่มีที่ยื่น เกย์ก็ไม่ใช่จะมีขนาดนั้นเหมือนกัน

จริงๆข้อมูลก็มีอีกหลายอย่างนะครับ แต่พอผมเอาข้อมูลสำคัญๆมานั่งดู ก็พอจะเห็นภาพได้ว่าเกย์นั้นมีกำลังซื้อสูงมาก มีเงินเก็บออมกันเยอะด้วย แต่อาจจะไม่ได้วางแผนเรื่องเงินๆทองๆรวมถึงคิดเรื่องอนาคตว่าเงินที่เก็บเหล่านั้นจะเพียงพอเลยหรือเปล่า และก็คงไม่มีใครที่อยากแก่ไปเป็นคุณเกย์ป้าๆ ต้องทำงานหาเช้ากินค่ำอยู่แล้ว พวกนี้ก็ต้องวางแผนกัน ถ้าเพื่อนๆผู้อ่านท่านใดเป็นเกย์แล้วคิดว่า “ฉันกำลังเป็นแบบนี้อยู่เลย” จริงๆเราสามารถต่อยอดเป้าหมายเงินออมกันไปสู่ในอนาคตเลยว่าต่อไปหากจะต้องอยู่คนเดียวจะต้องดูแลตัวเองอย่างไร

การมีหลักประกันทางสุขภาพและชีวิต

ส่วนตัวแล้วผมยังให้ความสำคัญกับเรื่องการประกันเป็นเรื่องแรกนะครับ เพราะถ้าหากว่าอนาคตจะต้องดูแลตัวเองจริงๆ ต้องทำงานหาเงินคนเดียว หลักประกันทางสุขภาพเป็นเรื่องที่จำเป็นมากที่สุดเพราะถ้าหากป่วยทำงานไม่ได้ชีวิตจะแย่ลงในทันที ตรงนี้ต้องลองตรวจสอบดูว่าตัวเองมีประกันในลักษณะไหนบ้าง มีเรื่องสุขภาพ อุบัติเหตุ รวมถึงการชดเชยรายได้ว่าเพียงพอต่อการดำรงชีพและรายจ่ายไหม หากมีเงินเก็บออมเพิ่มก็อาจจะต่อยอดไปในประกันประเภทอื่นๆไม่ว่าจะเป็นประกันสะสมทรัพย์หรือประกันควบการลงทุนซึ่งจะสร้างหลักประกันในระยะยาวในยามเกษียณครับ

การสร้างหลักประกันด้วยการมีทรัพย์สิน

เท่าที่พูดคุยกับเพื่อนเกย์หลายๆคนแล้ว หลายคนมีทัศนคติที่ว่าการเป็นเกย์ไม่ได้มีภาระเยอะ การจับจ่ายใช้สอยก็จะเน้นไปในเรื่อง ช้อป กิน เที่ยว ปาร์ตี้ ลั่นล้า ซึ่งท้ายสุดหลายคนไม่ได้มีทรัพย์สินเป็นของตัวเองที่จะเป็นหลักประกันของชีวิตได้อย่างที่อยู่อาศัย ผมเคยสอบถามเพื่อนที่เป็นเกย์ถึงมุมมองในเรื่องนี้ ก็น่าสนใจมากที่เขาบอกว่า การเช่าอยู่มันในแต่ละเดือนนั้นเป็นจำนวนเงินที่ไม่เยอะและย้ายเมื่อไหร่ก็ได้ ซึ่งเป็นจุดดีเมื่อเทียบกับการผ่อนบ้านหรือที่อยู่อาศัยที่จะต้องผ่อนกัน 20-30 ปีต่อเนื่อง

หากใครคิดแบบนี้เช่นเดียวกัน ก็ต้องอย่าลืมว่าในยามที่ไม่มีใครดูแลแล้วการไม่มีทรัพย์สินเป็นของตัวเองนั้นก็อาจจะทำให้ชีวิตลำบากได้ เกษียณแล้วไม่รู้จะเอาเงินที่ไหนจ่ายค่าเช่าที่พัก และค่าเช่าต่างๆในแต่ละปีก็แพงขึ้นเรื่อยๆ ความมั่งคงตรงนี้ก็ควรจะต้องสร้างขึ้นมานะครับ

แต่โดยสถิติส่วนตัว เพื่อนๆที่เป็นเกย์นั้นส่วนใหญ่ถ้าจะเลือกซื้อทรัพย์สิน ก็มักจะเลือกซื้อคอนโดเป็นของตัวเองกันเยอะเหมือนกันนะ อาจจะเป็นเพราะถ้าชีวิตจะต้องอยู่คนเดียวหรือมีคู่อีกซักคน การอยู่ห้องแบบง่ายๆ ไม่ต้องอะไรมาก ดูแลง่ายๆก็เป็นทางเลือกที่เพื่อนผมเขาชอบกัน

การมีเงินใช้จ่ายในยามเกษียณ

นอกจากนี้ เราอาจจะต้องมองไปถึงอนาคตไกลๆดูว่าหลังจากเกษียณแล้ว จะเอาเงินที่ไหนใช้ ก็อย่างที่เห็นตามสถิติก็คือถึงแม้กลุ่มเกย์จะมีเงินเก็บออมแต่เรื่องการวางแผนยังไม่เยอะนะครับ การออมแต่ใช้ไปในภายหลัง ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยว ช้อปปิ้ง ก็อาจจะทำให้เงินหมดได้ เราจึงต้องวางแผนให้เรามีเงินใช้ในอนาคตด้วยนะครับ

วิธีง่ายๆคือ ลองกำหนดเป้าหมายทางการเงินดูว่า การอยู่คนเดียวจะต้องใช้เงินมากขนาดไหน เช่น ในวันเกษียณต้องการมีรายได้เดือนละ 50,000 บาทไปอีก 20 ปี (240 เดือน) คิดแบบรวมๆไปแล้วก็ต้องหาให้ได้ 12 ล้าน แล้วลองเทียบกับเงินเก็บในปัจจุบันดู หลายคนก็อาจจะบอกว่า เอ่อ มันไม่น่าจะพอนะ ก็ต้องมานั่งจัดสรรปันส่วนกันนะครับว่า เงินออมที่มีจะมาวางแผนการลงทุนอย่างไรตามความเสี่ยงที่เหมาะสม เช่น ในหุ้น กองทุนรวม เพื่อให้ไปถึงเป้าหมายที่วางไว้ได้

ศึกษาข้อมูลและสิทธิทางกฎหมายในอนาคต

ก็เห็นมีข่าวอยู่เรื่อยๆเกี่ยวกับการนำเสนอ พ.ร.บ.คู่ชีวิต ที่ให้สิทธิในเรื่องต่างๆต่อกลุ่มรักร่วมเพศที่มีคู่ (เกย์โสดอย่าน้อยใจไปเลย) ก็ต้องติด