แพงคืออะไรคะคุณแม่

 

สัปดาห์ที่ผ่านมาเราโพสข้อความเกี่ยวกับการสอนเด็กๆให้รู้จักคุณค่าของเงินจากการให้เงินค่าขนม แม้ว่าผู้เขียนจะไม่มีลูก แต่ก็ได้รับคำสอนเกี่ยวกับการใช้เงินมาจากพ่อแม่ รวมถึงการพูดคุยกับรุ่นพี่และผู้ใหญ่วัยเก๋าที่มีวิธีการสอนลูกที่น่าสนใจ จึงรวบรวมและถ่ายทอดเป็นบทความเพื่อจะได้เป็นประโยชน์กับทุกท่านได้ลองนำไปปรับใช้ให้เข้ากับครอบครัวตนเองนะจ๊ะ

 

ความเชื่อหนึ่งที่อยากจะเขียนเรื่องการสอนเงินให้เด็กเพราะพฤติกรรมต่างๆเกิดขึ้นจากครอบครัว เราปลูกข้าวก็ได้ข้าว ไม่มีทางที่จะปลูกข้าวแล้วได้ต้นมะม่วง มันเป็นสัจธรรมที่ทุกคนเข้าใจกันอยู่แล้ว เรื่องการเงินก็เช่นกัน ผู้ปกครองสอนลูกใช้เงินอย่างไร เด็กโตขึ้นก็จะเป็นไปตามที่เราสอน

 

การเงินไม่ใช่เรื่องของจำนวนเงิน

แต่เป็นเรื่องของวิธีคิดเกี่ยวกับการใช้เงิน

 

ความรักทำให้ทุกอย่างสวยงาม ในขณะเดียวกันก็ทำร้ายคนให้เจ็บเจียนตายได้เช่นกัน ความรักของพ่อแม่ที่หวังดีกับลูกโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนนั้นเป็นความรักที่ไม่มีอะไรมาเปรียบเทียบได้ มันสวยงามเกินคำบรรยาย แต่เราจะรู้ไหมว่าความรักนั้นกำลังทำร้ายลูกตนเองอยู่ด้วยเช่นกัน

 

ดังนั้น เริ่มปลูกฝังความคิดเกี่ยวกับการใช้เงินที่เหมาะสมให้กับลูกหลานตั้งแต่เรายังมีชีวิตอยู่กันดีกว่านะคะ เพื่อเป็นการปูทางให้เขาแก้ไขปัญหาให้ตนเองได้ในอนาคตในช่วงที่เราหมดลมหายใจไปแล้ว เรามาเริ่มตั้งแต่ตอนนี้กันเลยดีกว่านะจ๊ะ ^_^

 

เรื่องนี้มีอยู่ว่า.......

แพง1

 

 

แพง2

 

 

แพงคืออะไรคะ

 

 

แพง4

 

 

ภาพตกใจ

 

 

แพง6

 

ลูกสาวของพี่ที่ทำงานอยากกินไอติมราคา 40 บาท แต่คุณแม่มองว่าราคาแพงไป ไม่เหมาะสมกับวัย น่าจะกิน 10 บาทก็พอแล้ว แต่ถ้าตอบว่าไม่ให้ซื้อก็ไม่ได้เพราะจะทำร้ายจิตใจมากเกินไป แล้วครั้งต่อไปก็อาจจะมารบเร้าให้ซื้ออีก จึงต้องหาวิธีอธิบายให้เด็กเข้าใจ

 

วิธีที่เขาสอนให้ลูกสาวรู้จักค่าของเงินนั้นน่าสนใจมากๆ เขาจะไม่ให้แบงก์ 50 หรือแบงก์ 100 ไปซื้อไอติม เพราะมันเป็นเพียงกระดาษใบเดียวที่เด็กยังแยกแยะไม่ได้ว่ามูลค่ามากหรือน้อย

 

พี่คนนี้เขาให้เหรียญบาทแทนแบงก์ แล้วสอนนับเลขว่า "เลข 10" กับ "เลข 40" อะไรมากกว่ากัน เมื่อเด็กนับเหรียญก็จะรู้ว่า 40 บาทนั้นเยอะมากกว่า 10 บาท ทำให้เด็กรู้จักคำว่า "แพง"จากการนั่งนับเหรียญ สุดท้ายเด็กก็เลือกไอติมราคา 10 บาท

 

2 ไอเดีย "สอนลูกเรื่องเงิน

 

ไอเดียที่ 1 รู้จักคุณค่าของเงิน

 

ไอเดียหลักของเรื่องเป็นวิธีที่ทำให้ให้รู้จักคุณค่าของเงิน บางครั้งเด็กอยากได้...

 

  • ของเล่นที่แพงเกินไป
  • อยากได้มือถือเหมือนเพื่อน
  • อยากซื้อปากการาคาแพงทั้งที่ความจริงคุณครูให้ใช้แต่ดินสอ
  • หรือ อยากได้สิ่งของอื่นๆ แต่ยังไม่ถึงเวลาซื้อ

 

เราก็สามารถใช้วิธีการนี้เป็นหนึ่งในแนวทางการอธิบายได้เพื่อให้คิดให้ถี่ถ้วนก่อนจะจ่ายเงิน แม้ว่าเราจะมีเงินมากมาย แต่ถ้าไม่ให้คู่มือวิธีใช้เงินไปด้วย เงินที่เรามีก็ถูกเผาหมดในรุ่นลูกก็ได้นะคะ หรืออย่างเลวร้ายที่สุดก็จะทำให้เด็กกลายเป็นผู้ใหญ่ที่ชอบก่อหนี้ที่ไม่สร้างรายได้จนชีวิตล้มละลายก็เป็นได้นะจ๊ะ

 

ไอเดียที่ 2 มูลค่าของเงิน

 

จากเนื้อเรื่องจะเห็นว่าการให้แบงก์ 50 หรือแบงก์ 100 นั้นเด็กจะยังมองไม่ออกว่ามีมูลค่าเท่าไหร่เพราะเป็นเพียงกระดาษใบเดียว แล้วให้นั่งนับเหรียญบาทเพื่อจะได้รู้ว่าของจริงเป็นเท่าไหร่ การสัมผัสจะทำให้รู้ถึงมูลค่าเงินมากกว่าว่าอะไรเรียกว่า "ถูกหรือแพง"

 

การสอนเรื่องนี้เป็นการปูแนวความคิดให้เด็กในเรื่องการใช้บัตรเครดิตที่เราจะเห็นแต่ตัวเลขในวงเงิน บางครั้งใช้ไปจนลืมว่าซื้อหรือต้องผ่อนจ่ายอะไรบ้าง ก็จะทำให้เกิดหนี้สินเกินกว่าที่จะจ่ายได้ แล้วอนาคตรูปแบบการเงินจะเปลี่ยนไปมากขึ้น รุ่นหลานของเราอาจจะไม่ได้รับหรือจ่ายด้วยเงินสด แต่จะเป็นตัวเลขยอดเงินในบัญชีธนาคารออนไลน์เพียงอย่างเดียวก็ได้ ดังนั้น การปูทางเรื่องการใช้เงินจึงเป็นสิ่งสำคัญมากๆนะจ๊ะ

 

สรุปว่า...

 

การสอนเรื่องการเงินนั้นเป็นการสอนวิธีการใช้ชีวิตด้วย เพราะชีวิตคนเรามีชีวิตช่วงขาขึ้นและขาลง จึงต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ เวลามีมากก็ไม่ควรใช้อย่างสุขสบายเกินไปจนถึงขั้นฟุ่มเฟือยไม่รู้จักคุณค่าของเงิน พอเกิดช่วงวิฤตขâ