เงินออม

 

เราจะมาเพิ่มพลัง “เงินออม” ให้ฟิตปั๋งกับวิธีออมเงินง๊ายง่ายกันนะคะ เพื่อจะทำให้เรามีเงินเก็บไว้ใช้จ่ายยามฉุกเฉิน มีเงินทุนไปต่อยอดกับธุรกิจในฝัน มีเงินเก็บไว้รักษาพยาบาล มีเงินเก็บไว้ใช้หลังเกษียณ ฯลฯ ถ้าอ่านจบแล้วลงมือทำตาม เงินออมของเราฟิตปั๋งแน่นอนจ้า

 

2 ขั้นตอนเพิ่มพลัง “เงินออม” ให้ชนะทุกเป้าหมายที่ต้องการ

 

ขั้นตอนที่ 1 เริ่มต้นที่การสร้างเป้าหมาย

 

ออมเงิน

 

ถ้าเราตัดสินใจลดความอ้วน เราก็รู้ว่าจะต้องทำอย่างไรเพื่อให้ตนเองผอมลง เช่น ควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย เรื่องการออมก็เหมือนกันนะจ๊ะ ถ้าเรามีเป้าหมายไว้ในใจว่าต้องการ “อะไร” อย่างชัดเจนแล้ว ก็จะรู้ว่าต้อง “ทำอย่างไร” ถึงจะสำเร็จตามเป้าหมายนั้น เป็นวิธีสร้างแรงจูงใจให้เราอยากออมเงินและในวันหนึ่งที่เราเดินหลงทาง ก็จะได้รู้ว่าควรก้าวไปทิศทางไหนต่อไป

 

ตัวอย่าง การสร้างเป้าหมาย

  • ภาพฝันที่เป็นจริง เป็นการสร้างเป้าหมายโดยการแปะรูปภาพความฝันของเราไว้บนกระปุกออมสิน เช่น  ภาพรอยยิ้มของคนในครอบครัว ภาพบ้าน ภาพรถ ภาพแหล่งท่องเที่ยวที่อยากไป เป็นต้น ทุกครั้งที่เราเห็นภาพนี้ก็จะมีแรงกระตุ้น ทำให้อยากหยอดกระปุกออมสินมากขึ้น รู้ว่าจะต้องออมเงินไปเพื่อใครและเพื่ออะไร
  • ทำเป้าหมายให้ชัดเจน ด้วยคำว่า “อะไร เท่าไหร่ เมื่อไหร่” จากนั้นเราก็จะมาเลือกช่องทางการเก็บรักษาเงินที่เหมาะสมกับระยะเวลาของเป้าหมายและความเสี่ยงของตัวเอง เพื่อจะได้สำเร็จตามไปเป้าหมายที่เราวางแผนไว้ เช่น

 

เงินออม

 

หลังจากที่เราเลือกแล้วว่าจะใช้ช่องทางไหนในการเก็บรักษาเงินของเรา ถ้าเรากลัวลืมและต้องการสร้างกำลังใจในการออมเงินให้ตัวเอง อาจจะเขียนข้อความหรือแปะภาพไว้บนสมุดบัญชีก็ได้ เช่น

  • สมุดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ดอกเบี้ยสูง : เงินฉุกเฉิน
  • สมุดบัญชีฝากประจำ : เงินดาวน์บ้าน
  • ประกันชีวิตแบบบำนาญ , RMF  : เงินเกษียณ

 

ขั้นตอนที่ 2 เริ่มออมเงินทันที

 

ออมเงิน2

 

เมื่อเราสร้างเป้าหมายเรียบร้อยแล้ว ต่อไปก็จะต้องลงมือทำทันที “เคล็ดลับของการออม คือ การทำบ่อยๆจนกลายเป็นนิสัย  โดยเริ่มทำจากออมเงินก้อนเล็กๆหลักสิบ หลักร้อย เมื่อเราเห็นเงินมากขึ้นก็จะรู้สึกภูมิใจว่าตนเองก็ทำได้ จากนั้นเราก็อยากจะออมเงินมากขึ้นๆ และอยากเห็นเงินเติบโตไปเรื่อยๆ

 

ตัวอย่าง 6 วิธีออมเงินง๊ายง่าย

 

1.เพิ่มเงินออมในที่ทำงาน

สวัสดิการส่งเสริมเรื่องการออมเงินในที่ทำงานเพื่อเก็บเงินไว้ใช้หลังเกษียณของแต่ละที่ก็จะแตกต่างกัน หากใครทำงานข้าราชการก็จะมี กบข. ส่วนคนที่ทำงานเอกชนก็จะมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและประกันสังคม ซึ่งเราสามารถเพิ่มเงินออมต่อเดือนได้สูงสุดถึง 15% ของรายได้ แล้วยังสามารถเลือกนโยบายการลงทุนได้อีกด้วยว่าต้องการผลตอบแทนต่ำ ปานกลางหรือว่าสูง ถ้าต้องการรู้รายละเอียดว่าจะต้องทำอย่างไรบ้าง สอบถามได้ที่แผนกทรัพยากรบุคคลในที่ทำงานของเรานะจ๊ะ

 

2.ตั้งกลุ่มออมเงิน

เป็นการสร้างบรรยากาศ สร้างกำลังใจและแรงกระตุ้นให้แต่ละคนอยากออมเงิน เริ่มด้วยการชวนคนในครอบครัวหรือชวนเพื่อนที่ทำงานมาออมเงินไปด้วยกัน อาจจะเพิ่มความสนุกให้มากขึ้น ด้วยการสร้างธีมในการออม เช่น ทำตารางออมเงินรายสัปดาห์ , หยอดเงิน 50% ของราคากาแฟหรือค่าขนม , การเก็บแบงค์ 50 , เก็บเศษเหรียญ , ออมเงินวันละ 20 บาท เป็นต้น

 

ตัวอย่าง แก๊งออมเงินในที่ทำงานผลงานของแก๊งอื่นดูได้ที่ลิงค์ใต้ภาพนะจ๊ะ

แก๊งออมเงิน

ดูผลงานของแก๊งอื่นได้ที่ https://goo.gl/hjLTho

 

3.เปลี่ยนหวยเป็นเงินออม

เหมาะกับคนที่ชอบลุ้นเลข แล้วเงินต้นอยู่ครบ และถ้าไม่ถูกรางวัล ครบ 3 ปีก็ยังได้รับดอกเบี้ย ปัจจุบันมี 2 ทางเลือก คือ

  • สลากออมทรัพย์ ธกส. ราคาหน่วยละ 100 บาท  ระยะเวลา 3 ปี เปิดขายเป็นช่วงๆ
  • สลากออมสิน ราคาหน่วยละ 50 บาท ระยะเวลา 3 ปี เปิดขายตลอดเวลา

 

4.การฝากประจำปลอดภาษี

เป็นการสร้างวินัยการออมเงินด้วยวิธีฝากอัตโนมัติ “ออมก่อนใช้จ่าย”  เมื่อเงินเดือนเข้าบัญชีปุ๊บ เราก็จะแบ่งเงินออกมาเก็บไว้ที่บัญชีฝากประจำทันที ด้วยจำนวนเงินเท่าๆกันทุกเดือน เมื่อฝากจนครบกำหนด  เราก็จะได้รับเงินก้อน ที่สำคัญยังได้รับดอกเบี้ยสูงกว่าการฝากทั่วไปอีกด้วย

 

ตัวอย่าง การฝากประจำทำทุกเดือน

เงินออม

ตัวอย่างการออมเงินทั้งหมดได้ที่ https://goo.gl/WiyG3C

 

5.เงินออมน้อยก็เริ่มลงทุนได้

ถ้าเราต้องการหาช่องทางเก็บเงินให้เติบโตด้วยการลงทุน เริ่มต้นง่ายๆที่ “กองทุนรวม” เพราะเงินน้อยหลักร้อยก็เริ่มลงทุนได้ โดยมีผู้จัดการกองทุนรวมที่มีความเชี่ยวชาญมาช่วยดูแลเรื่องการลงทุน แต่ก่อนจะเริ่มลงทุน นอกจากหาความรู้แล้วยังต้องทำแบบทดสอบความเสี่ยง เพื่อจะได้เลือกกองทุนรวมให้เหมาะสมกับความเสี่ยงที่เรายอมรับได้

 

6.มีหนี้ก็มีเงินออมได้

คนที่มีหนี้สินก็ออมเงินได้นะจ๊ะ แต่ก็ต้องดูว่าหนี้ของเราอยู่ในระดับไหน เริ่มจากแบ่งเงินรายได้ออกเป็น 3 ส่วน คือ เงินออม หนี้สิน และรายจ่ายส่วนตัว ว่าแต่ละส่วนนั้นมีเท่าไหร่ เพื่อจะได้รู้ว่าปัจจุบันตนเองมีสถานะการเงินเป็นบวกหรือว่าติดลบ พร้อมทั้งหา