เคยถามตัวเองไหมว่า “เราจะจัดการเงินเดือนอย่างไรดีน๊าาาาาา”


ตอนเริ่มทำงานใหม่ๆเราก็จัดการเงินตัวเองไม่ถูกเหมือนกัน อืมมมมนะ ก็มหาลัยสอนแต่วิธีหาเงินนี่หน่า เราทำงานที่แรกในบริษัทญี่ปุ่น การเดินทางก็แสนสบายเพราะมีรถบัสแอร์เย็นฉ่ำมารับส่งตลอดเช้าและเย็น มีชุดพนักงานทำให้ประหยัดไม่ต้องซื้อเสื้อผ้าแต่งตัว


ส่วนรายจ่ายก็มีแค่ค่ากินในแต่ละมื้อเท่านั้น อาหารราคาพนักงานขายถูกเวอร์ๆ แล้วก็มีเงินบางส่วนส่งให้แม่บ้าง เรามีรายจ่ายทั่วไปน้อยมาก เงินที่เหลือในแต่ละเดือนไม่รู้ว่าจะทำยังไงก็เก็บไว้ในบัญชีเงินเดือนนั่นแหละ ช่วงเวลานั้นก็คิดแต่เรื่องงานอย่างเดียว คิดว่าทำงานไปสักพักเดี๋ยวก็คงรู้เองว่าต้องจัดการเงินอย่างไร


หลายปีผ่านไปทุกอย่างยังคงเหมือนเดิม ^^!!


ถ้าปล่อยไว้เรื่อยๆแบบนี้มันคงไม่ดีแน่ๆ เราก็เริ่มถาม Google ว่าควรจะทำยังไงกับรายได้ของเรา จนมารู้จักหลักสูตรนักวางแผนการเงิน (http://tfpa.or.th/2014/index.php) จึงทำให้รู้ว่าการดูแลเงินให้รอบด้านนั้นต้องควรงมีทั้งส่วนการวางแผนภาษี การลงทุน ประกันชีวิต เกษียณและมรดก ถ้าใครสนใจก็ลองเข้าไปอ่านในลิงค์ของสมาคมได้นะจ๊ะ


จากความรู้ที่เรียนมาผสมกับประสบการณ์ตั้งระบบการออมให้ตนเอง เรามองว่าน่าจะพอเป็นประโยชน์ให้ผู้อ่านนำมาปรับใช้ได้

ไอเดียหลัก คือ การออมก่อนใช้ โดยตั้งระบบอัตโนมัติให้เงินไปเก็บตามเป้าหมายทันทีตั้งแต่วันที่เงินเดือนออก สุดท้ายเราก็จะเห็นเพียงยอดเงินที่สามารถใช้ได้ ในแต่ละเดือนเท่านั้น


วิธีจัดการเงินเดือนในยุคออนไลน์

ช่วงเริ่มต้นอาจจะยุ่งยากนิดนึงเพราะต้องจัดการเซ็นเอกสาร หลังจากนั้นก็จะสบายละเพราะเราจะทำทุกอย่างแบบอัตโนมัติและในระบบออนไลน์ การเริ่มต้นแบ่งออกเป็น 3 ส่วนนะจ๊ะ


ส่วนที่ 1 ปักหมุดเป้าหมาย

เริ่มจากรู้จักพฤติกรรมการใช้จ่ายของตัวเองในปัจจุบันจากการจดบัญชีรายรับรายจ่ายเพื่อจะได้เห็นภาพการใช้เงินของตนเองชัดเจนมากขึ้นและเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการวางแผนในอนาคตด้วยว่าควรเพิ่มหรือลดเงินในรายการไหน ปัจจุบันมี App ต่างๆช่วยให้เราจดบัญชีรายรับ รายจ่ายง่ายขึ้นมาก โหลดติดไว้ที่มือถือจ่ายปุ๊บจดทันทีไม่ลืมแน่นอน ถ้าบางคนไม่ถนัดอาจจะโหลดเป็น Excel ไว้ที่คอมฯก็ได้จ้า


อ่านถึงตรงนี้ก็อาจจะมีคนขี้เกียจจดทุกวัน เรื่องแบบนี้ยืดหยุ่นกันได้ เราขอให้อดทนจดสัก 2-3 เดือนเพื่อจะได้เห็นภาพรวมที่มาและที่ไปของเงินว่าเป็น "รายได้ เงินออมและรายจ่าย" เท่าไหร่ เพื่อจะได้นำมา "ตั้งงบประมาณ" ให้ตนเองได้ แต่ถ้าจดจนชินแล้วก็ควรจดไปเรื่อยๆจะดีมากเลยนะจ๊ะ


จากนั้นจึงวางแผนอนาคตด้วยการตั้งเป้าหมายว่า “อะไร เท่าไหร่ เมื่อไหร่” เพื่อจะได้รู้ว่าเงินก้อน นี้จะใช้ในช่วงเวลาไหน ในระยะสั้น กลางหรือยาว เช่น อีก 2 ปีจะไปเรียนต่อปริญญาโท 200,000 บาท ถ้าเราวางเป้าหมายไว้ชัดเจนก็จะได้เลือกวิธีการเก็บเงินที่เหมาะสมกับเป้าหมายได้


ส่วนที่ 2 เลือกวิธีเก็บเงิน

โยงแต่ละเป้าหมายของเราว่าจะเก็บไว้ในรูปแบบใด เช่น เงินฝาก ตราสารหนี้ ตราสารทุน กองทุนรวม ฯลฯ เพราะรูปแบบการเก็บเงินและเวลาที่ต้องการใช้เงินจะต้องตรงกัน เช่น

  • เราต้องการเก็บเงินฉุกเฉิน เป็นเงินระยะสั้นที่ต้องถอนออกมาใช้เวลาเร่งด่วน ก็ต้องฝากไว้ในออมทรัพย์หรือกองทุนตลาดเงิน ไม่ควรเก็บเงินฉุกเฉินไว้ในฝากประจำ เพราะถอนเงินออกก่อนครบกำหนดไม่ได้ หรือกองทุนรวมที่มีความผันผวนเพราะถ้าโชคร้ายมูลค่าหน่วยลงทุนลดลงในช่วงที่ต้องรีบใช้เงิน เราก็จะได้เงินคืนมาลดลง  
  • เราต้องการวางแผนเกษียณ เป็นการเก็บเงินระยะยาวไว้ใน RMF หรือว่าประกันชีวิตแบบบำนาญ ไม่ควรเก็บเงินเกษียณไว้ที่ฝากออมทรัพย์เพราะได้ผลตอบแทนต่ำ เราอาจจะเผลอถอนออกมาใช้จนไม่มีเงินเกษียณเลยก็ได้


ส่วนที่ 3 เปิดบริการออนไลน์

ใช้บริการธนาคารออนไลน์ หรือที่เราเรียกสั้นๆว่า E-Banking ซึ่งแต่ละธนาคารก็มีให้บริการอยู่แล้ว เพียงโหลด App มาไว้ในสมาร์ทโฟน เราจะได้เห็นความเคลื่อนไหวของบัญชีอย่างใกล้ชิด รวมถึงทำธุรกรรมต่างๆได้เองทุกที่ ทุกเวลา เช่น โอน ฝาก ถอน ซื้อกองทุนรวม ฯลฯ (ไม่ต้องไปเสี่ยงภัยกับการขายประกันชีวิตที่ธนาคารอีกต่อไป อิอิ)


เปิดบัญชีกองทุนรวมแบบออนไลน์ ตอนนี้มีหลายบริษัทให้บริการขายกองทุนรวม เช่น

  • ธนาคารพาณิชย์
  • บริษัทหลักทรัพย์(ที่เราชอบเรียกว่าโบรกเกอร์)
  • บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.)


ส่วนที่ 1 + ส่วนที่ 2 + ส่วนที่ 3


ตอนนี้เราเริ่มเข้าใจแต่ละส่วนของการตั้งระบบการออมเงินกันไปแล้วว่ามีอะไรบ้าง ต่อไปจะเป็นการนำแต่ละส่วนมาผสมกันเป็นระบบออมอัตโนมัติของเรานะจ๊ะ


เริ่มต้นที่พระเอกของเรา คือ สมการเงินออม

รายได้ - เงินออม = รายจ่าย

แบ่งเงินตัวเองออกเป็น 3 บัญชีหลักๆ คือ บัญชีเงินเดือน บัญชีเงินออมและบัญชีรายจ่าย แยกกันให้ชัดเจน ไม่ควรนำมาผสมกันเพราะเราจะสับสนและใช้จ่ายมั่วกันไปหมด


วิธีจัดการเงินเดือนในยุคออนไลน์



ถ้าเราจะแบ่งให้ละเอียดยิ่งขึ้น...

รายได้ - เงินออม - รายจ่ายห้ามเบี้ยว = รายจ่ายลั้นลา


วิธีจัดการเงินเดือนในยุคออนไลน์


เราจะแยกรายจ่ายให้ชัดเจนว่ารายการไหนเป็นรายจ่ายห้ามเบี้ยว และรายจ่ายลั้นลา เมื่อรายได้เข้ามาปุ๊บ ก็ตัดออกไปออมก่อน แล้วหักรายจ่ายห้ามเบี้ยว สุดท้ายก็จะเป็นรายจ่ายลั้นลาให้เราใช้ในชีวิตประจำวัน

  • รายจ่ายห้ามเบี้ยว คือ รายจ่ายประจำที่ต้องจ่ายคงที่ ถ้าไม่จ่ายก็จะทำให้ครอบครัวเดือดร้อนได้ นั่นคือ ส่วนของหนี้สิ้นที่เราผ่อนจ่ายนั่นเอง เช่น ค่าผ่อนบ้าน ค่าผ่อนรถ ค่าผ่อนบัตรเครดิต
  • รายจ่ายลั้นลา คือ รายจ่ายไม่คงที่ เลือกได้ว่าจะจ่ายมากหรือน้อย เป็นรายจ่ายจิปาถะทั่วไป &#x