สวัสดีค่ะผู้อ่านที่น่ารักทุกท่าน

มีข้อความหนึ่งส่งถึงเราในแฟจเพจอภินิหารเงินออมว่าเขาเริ่มทำงานเป็นตัวแทนประกันชีวิต ซึ่งรุ่นพี่หลายๆคนแนะนำให้หาลูกค้าอย่างเดียว โดยไม่รู้เป้าหมายที่แท้จริงของการทำประกันชีวิต เมื่อได้อ่านบทความในบล็อกก็ทำให้รู้ว่า แนวคิดหลักของประกันชีวิต คือ “การป้องกันความเสี่ยง” ซึ่งมีความสำคัญในการวางแผนการเงิน ทำให้เขาเข้าใจอาชีพตนเองและใช้ความรู้ช่วยเหลือ ผู้อื่นให้มีการวางแผนการเงินรอบด้านมากขึ้น

บทความนี้ก็จะเป็นความรู้ของประกันชีวิตในอีกแง่มุมหนึ่งที่ใช้ “ป้องกันความเสี่ยงให้สุขภาพ” ผ่านประสบการณ์ชีวิตจริงของผู้เขียนที่เปิดเผยในบทความนี้เป็นครั้งแรกที่นึกถึงทีไรน้ำตา ไหลทุกที เราต้องการให้ผู้อ่านที่ยังมีโอกาสและมีเวลา ได้เตรียมความพร้อมรับกับความ ไม่แน่นอนของชีวิตไว้ล่วงหน้า

เรารู้อะไรเกี่ยวกับโรคร้ายแรงบ้าง?

  • รู้ว่า...ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสูงมากจนทำให้เกิดหนี้สินได้
  • รู้ว่า...สภาพจิตใจย่ำแย่ หดหู่ทั้งผู้ป่วยและญาติผู้ป่วย
  • รู้ว่า...ต้องทำใจเพราะผลของการรักษามีทั้งรักษาได้และรักษาไม่ได้
  • รู้ว่า...5 อันดับแรกของโรคร้ายแรง คือ
  1. โรคมะเร็ง
  2. โรคหลอดเลือดสมองแตก
  3. ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอย่างรุนแรง
  4. โรคปอดระยะสุดท้าย
  5. ไตวายเรื้อรัง

ที่มา : หนึ่งในสาเหตุการตายสูงสุด 5 อันดับแรกของคนไทย (พ.ศ. 2549 - 2556)

สำนักงานสถิติแห่งชาติ http://service.nso.go.th/nso/web/statseries/statseries09.html

เราจัดการกับโรคร้ายแรงอย่างไร?

ผู้ป่วยที่รู้ว่าตนเองเป็นโรคร้ายแรงการตัดสินใจ 2 แบบ คือ

  • กรณีที่ 1 เข้ารับการรักษาโดยจะต่อสู้กับมันจนสุดชีวิต
  • กรณีที่ 2 ไม่เข้ารับการรักษาเพราะรู้ตัวว่าจะต้องเสียชีวิตแน่ๆ

ถ้ามีเงินอย่างไม่จำกัดที่ใช้รักษาโรคร้ายแรง เชื่อว่าหลายๆคนก็อยากจะเข้ารับการรักษาให้หายป่วย หรือยื้อเวลาออกไปเพื่อจะได้มีเวลาอยู่กับคนที่เรารักให้นานขึ้น แต่ในความจริงทุกคนมีข้อจำกัด ซึ่งมีมากน้อยแตกต่างกันไป การเจ็บป่วยก็มาพร้อมกับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล จากข้อมูล ประมาณค่ารักษาพยาบาลที่เผยแพร่หน้าเว็บไซด์ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ให้ข้อมูล ดังนี้

รู้อะไรก็ไม่เท่ารู้งี้…… หากวันนึงเราต้องเป็นโรคร้ายแรง

ค่าใช้จ่ายข้างต้นเป็นเพียงบางส่วนของค่าใช้จ่ายทั้งหมด เพราะจะต้องมีรายจ่ายอื่นๆอีก เช่น ค่าเดินทางที่ผู้ป่วยจะต้องมาเข้ารับการรักษา ญาติผู้ป่วยที่เดินทางมาดูแล แล้วถ้าเป็นการรักษา อย่างต่อเนื่องก็ทำให้เสียค่าใช้จ่ายสูงขึ้น

ในขณะที่ป่วยนั้นก็จะไม่ได้ทำงาน ทำให้ขาดรายได้ทั้งตัวผู้ป่วยและญาติที่เข้ามาดูแล เมื่อมีรายจ่าย เข้ามาตลอด แล้วไม่มีรายได้เกิดขึ้น ทางออกของหลายๆเลือกที่จะขายทรัพย์สินที่ตั้งใจสร้างมา ทั้งชีวิตเพื่อมารักษาตนเอง ถ้าขายของเก่าหมดแล้วยังไม่เพียงพอกับค่ารักษา ทางเลือกสุดท้าย ก็จะเป็นการกู้ยืมเงินเพื่อใช้จ่ายจนกลายเป็นหนี้สินกองโต

ประสบการณ์จริงเกี่ยวกับโรคร้ายแรง?

รู้จักโรคร้ายแรงกันไปบ้างแล้วว่าจะเกิดผลกระทบอะไรบ้าง ไม่มีใครอยากให้เรื่องราวโชคร้าย เหล่านี้เกิดขึ้นกับเรา แต่ชีวิตจริงเราเลือกไม่ได้และถ้าเกิดขึ้นแล้วจะต้องทำอย่างไรบ้าง ขอให้คำตอบผ่านประสบการณ์ชีวิตของผู้เขียนนะจ๊ะ #ปาดน้ำตาแป๊บ

เรื่องก็มีอยู่ว่า…

เมื่อ 7 ปีที่แล้ว ในช่วงเดือนตุลาคม 2551 พ่อของเราเป็นคนสุขภาพร่างกายแข็งแรงมาก ออกกำลัง กายเป็นประจำ มีวันหนึ่งพ่อเกิดอาการปวดท้องจนทนไม่ไหวจึงได้ไปหาหมอที่โรงพยาบาล จาก คำวินิจฉัยเบื้องต้นก็พบก้อนเนื้อขนาดใหญ่บริเวณช่องท้อง หมอ (โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัด ลพบุรี) บอกว่าต้องเข้าเครื่องตรวจละเอียดอีกครั้งถึงจะบอกได้ว่าเป็นอะไร

ฟังพ่อพูดจบเราก็รู้สึกมึนๆ ใจลอยๆ ท้องไส้ปั่นป่วนไปหมด ความคิดที่วนเวียนอยู่ในหัวซ้ำไปซ้ำ มามีแต่คำว่า “อีกไม่กี่เดือนเราจะไม่มีพ่อจริงๆหรอ แล้วเราจะต้องทำอะไรต่อไป” แม้ว่าผลการตรวจ อย่างละเอียดยังไม่ออกมา แต่เราก็คิดล่วงหน้าไปไกลมาก

บรรยากาศภายในบ้านเงียบกว่าทุกวัน….

ตอนนั้นเรากำลังเรียน MBA ที่จุฬาฯปี 1 แล้วกำลังสอบปลายภาคก็จะมีทั้งเรียน ทำรายงาน แล้วก็อ่านหนังสือสอบ ขณะที่เรากำลังนั่งเรียนอยู่แม่ก็โทรเข้ามา ปกติเราจะคุยกันตอนเย็นๆ ถ้าโทรมาตอนกลางวันแบบนี้ต้องมีอะไรผิดปกติแน่ๆ แล้วก็เป็นไปตามคาด แม่บอกว่าก้อนเนื้อนั้น คือ มะเร็งขนาด 10 เซนติเมตร มันอยู่บริเวณตับแล้วก็กำลังลามไปที่ปอด #มาทั้งทีจัดหนักกันเลย

พ่อของเราตรวจเจอมะเร็งตับระยะที่ 3!!

เรายืนตัวแข็งคุยโทรศัพท์กับแม่ เสียงสะอื้นจากปลายสายมันเบามากจนแทบไม่ได้ยิน เรารู้สึก จุกท้อง สมองเบลอๆ วิ้งๆเหมือนถูกหมัดน๊อกของเขาทราย คิดว่าแม่น่าจะเจ็บปวดหนักมากกว่าเรา นี่คือบางส่วนของ สภาพจิตใจของญาติผู้ป่วย แล้วพ่อเราที่เป็นคนป่วยหละเป็นอย่างไร

พ่อของเรากำลังคิดจะยิงตัวตาย!!

เพื่อนสนิทของพ่อเล่าให้ฟังว่าทันทีที่พ่อรู้ว่าตนเองเป็นมะเร็งที่คิดว่ายังไงก็ต้องตาย ทำให้คิดจะ ฆ่าตัวตายเพราะไม่อยากเป็นภาระให้คนในครอบครัวต้องมาลำบากดูแลเขา ซึ่งมีสภาพจิตใจ ที่หดหู่ขั้นรุนแรงของผู้ป่วยที่ไม่ต้องการสร้างภาระให้ใคร โชคดีที่พ่อแค่คิดแต่ไม่ลงมือทำจริง

เรากับพ่อเข้าไปฟังสรุปผลการตรวจและวิธีการรักษากับคุณหมอพร้อมกัน วันนี้พ่อผอมลงและ อิดโรยมากจนแทบจำไม่ได้ว่าอดีตเคยเป็นนายทหารที่แข็งแกร่งในสนามรบมาก่อน เสียงดังที่ชอบ ออกคำสั่งกลายมาเป็นเสียงแผ่วเบาจนแทบจะกลายเป็นเสียงกระซิบ พ่อถามหมอว่า “แล้วผมจะ ต้องทำยังไงต่อไปครับ”

สิ่งที่เราทำได้ดีที่สุดในตอนนั้น คือ ยิ้มใ&