พระมหากษัตริย์นักออม เดอะซีรีย์ ตอนที่ 3 การสร้างรายได้และการให้

 

จากบทความแรกในปี 2558 คือ พระมหากษัตริย์นักออมเงิน เราค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมและอยากรวบรวมไว้ให้คนรุ่นหลังได้อ่านและแสดงความรักต่อ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ด้วยการลงมือทำตามแนวทางที่พระองค์ท่านสอน ตอนการสร้างรายได้และการให้ เป็นบทความที่ 3 แล้วนะจ๊ะ 

 

พระมหากษัตริย์นักออมเงิน เดอะซีรีย์จะแบ่งออกเป็น 5 ตอน คือ

  1. สมเด็จย่าทรงสอนวิธีจัดการเงินคลิกที่นี่
  2. เก็บออมเงินเพื่อซื้อของใช้ส่วนพระองค์คลิกที่นี่
  3. การสร้างรายได้และการให้ (บทความนี้)
  4. การประหยัดคลิกที่นี่
  5. เงินฉุกเฉินของรัชกาลที่ 3 เงินถุงแดงไถ่บ้านเมืองคลิกที่นี่

 

เราจะแบ่งเขียนออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกจะเป็นเรื่องราวของพระองค์ท่านจากข้อมูลที่ไปค้นคว้ามา จะเขียนไว้ในกรอบพื้นสีเหลือง ส่วนที่สองเป็นวิธีการนำไปใช้ว่าทำอย่างไรบ้าง เพื่อให้พวกเราลองนำมาประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตจริงนะจ๊ะ

 

ตอนที่ 4 การสร้างรายได้และการให้

 

พระมหากษัตริย์นักออม เดอะซีรีย์ ตอนที่ 3 การสร้างรายได้และการให้

ภาพจากหนังสือเจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์

 

จากข้อมูลที่ได้รวบรวมจากในอินเตอร์เน็ต คลิปภาพยนตร์สารคดีแผ่นดินวัยเยาว์และหนังสือเจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์ แบ่งออกได้เป็น 2 เรื่อง ดังนี้

  • รื่องที่ 1 การสร้างรายได้จากการทำงาน
  • เรื่องที่ 2 การเติบโตแบบค่อยเป็นค่อยไป

 

เรื่องที่ 1 การสร้างรายได้จากการทำงาน

 

เมื่อครั้งที่พระองค์ (ในหลวงรัชกาลที่ 9) ยังอาศัยอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ณ ตำหนักวิลล่าวัฒนา ด้านหลังตำหนักจะมีพื้นที่ว่างไว้ทำสวนครัว สวนผลไม้ ในหลวงทรงปลูกพืชสวนครัวในสวนแห่งนี้ พระองค์ (ในหลวงรัชกาลที่ 9) ทรงลงมือปลูกด้วยตนเอง เริ่มจากขุดดิน ปลูกพืช รดน้ำและพรวนดิน

 

 
แม้จะได้เงินค่าขนมทุกอาทิตย์ แต่ยังทรงรับจ้างเก็บผักผลไม้ไปขาย เมื่อได้เงินมาก็นำไปซื้อเมล็ดผักมาปลูกเพิ่ม ซึ่งวิธีการนี้ทำให้พระองค์ทรงได้เรียนรู้วิธีการต่อยอดผลผลิตทางการเกษตร

 

 

แนวคิดที่สามารถมาประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตประจำวัน

 

แนวคิดการสอนเด็ก

ควรสอนเด็กให้ใช้เวลาว่างและใช้เงินให้เกิดประโยชน์ ทำให้เด็กรู้ว่าถ้าอยากได้หรืออยากซื้ออะไรก็ต้องลงมือทำด้วยเอง “ใช้แรงแลกเงิน” เมื่อได้เงินมาแล้วใช้ให้คุ้มค่าที่สุด ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ขออนุญาตเล่าเหตุการณ์หนึ่งที่จะทำให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้น เรื่องนี้เกิดขึ้นที่ต่างจังหวัด เด็กหญิงคนหนึ่งปิดเทอมก็อยู่บ้าน ในขณะที่แม่ต้องออกไปทำงานรับจ้างเสริฟอาหารโต๊ะจีน เพื่อจะสะสมเงินมาจ่ายค่าเทอม

 

วันหนึ่งเด็กเสริฟไม่พอ แม่ก็พาเด็กคนนี้มาช่วยทำงานด้วย จากการทำงานครั้งนี้ทำให้เด็กรู้ว่ากว่าแม่จะได้เงินมาแต่ละบาทนั้นมันเหนื่อยแค่ไหน เพราะมันต้องยกของ ทำงานท่ามกลางแดดร้อนเปรี้ยง ตั้งแต่บ่ายแก่ๆ จนกระทั่งงานเลิกก็ต้องช่วยกันเก็บของ กว่าจะกลับถึงบ้านได้นอนพักผ่อนก็เกือบตี 1

 

1 สัปดาห์หลังจากวันที่ได้ทำงาน เด็กมีพฤติกรรมการซื้อของกินก็เปลี่ยนไป จากแต่ก่อนตอนที่เดินซื้อของกินในตลาดเห็นขนมอะไรน่ากินก็ซื้อหมด ซื้อเยอะแต่กินไม่หมด มีของเหลือทิ้งสิ้นเปลืองเงินทอง พอลองได้ไปทำงานหาเองแล้วก็รู้ว่าเงินมันหายาก เวลาจะซื้ออะไรก็คิดก่อนจ่ายเงินมากขึ้น ซื้ออะไรมาก็กินหมดไม่เหลือทิ้ง  

 

หลายครั้งที่พ่อแม่ไม่ต้องการให้ลูกลำบาก จึงให้เรียนอย่างเดียว ให้เงินไปใช้โดยที่ไม่เคยบอกลูกให้รู้เลยว่าเงินมาจากไหน ส่วนลูกขอเงินกับพ่อแม่ก็ได้เงินมาทุกครั้ง ได้มาง่ายๆจึงใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย สุดท้ายก็ต้องมานั่งบ่นว่าลูกใช้เงินเปลือง

 

แนวทางที่ดีเราควรสอนเขาตั้งแต่แรกว่าเงินมาจากไหน ถ้าอยากให้เขารู้ถึงคุณค่าของเงินและใช้จ่ายอย่างประหยัดควรสอนโดยการให้ประสบการณ์ให้ลองไปทำงานจริงๆ สุดท้ายเด็กจะเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้เงินได้  

 

แนวคิดให้คนวัยทำงาน

การหารายได้ของคนวัยทำงานแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ

  • รูปแบบที่ 1การใช้เรี่ยวแรงแลกเงิน เกิดจากเราใช้แรงทำงานเพื่อให้เกิดรายได้ จะต้องมีการหาความรู้เพิ่มความสามารถให้ตนเองตลอดเวลาเพื่อจะได้มีโอกาสหารายได้ให้มากขึ้น
  • รูปแบบที่ 2 การใช้เงินต่อเงิน โดยการแบ่งเงินบางส่วนไปทำให้เติบโต ให้เงินออกไปทำงานสร้างดอกผลกลับมาให้เราในรูปแบบต่างๆ เช่น ดอกเบี้ย เงินปันผลและค่าเช่า

 

อ่านเพิ่มเติมเรื่องการนำเงินออมไปต่อยอดด้วยการลงทุนได้ที่ 2 บทความนี้

  1. บทความ 100 บาทก็ซื้อกองทุนรวมได้ คลิกที่นี่
  2. เคล็ดลับเลือกกองทุนรวมภายใน 5 นาที คลิกที่นี่

 

 

เรื่องที่ 2 การเติบโตแบบค่อยเป็นค่อยไป

 

พระมหากษัตริย์นักออม เดอะซีรีย์ ตอนที่ 3 การสร้างรายได้และการให้ที่มา https://www.facebook.com/Signnagas/photos/?tab=album&album_id=1081407218642839

 

จากการที่ในหลวง รัชกาลที่ 9 ทรงเสร็จเยี่ยมประชาชนในแต่ละจังหวัด ทำให้เห็นถึงความเดือดร้อนต่างๆของประชาชน จึงคิดวิธีช่วยเหลือเพื่อให้พวกเขาพึ่งพาตัวเองได้อย่างยั่งยืนพร้อมทั้งอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไปด้วย

 

จึงเกิดเป็น “โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา” ตั้งแต่ปี 2504 บนพื้นที่ด้านหลังวังเพื่อทดลอง ปลูกข้าวว่าในอดีตมีการปลูกอย่างไร จะต้องทำอย่างไรเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวได้ แล้วพันธ์ข้าวที่ได้ก็นำไปใช้ ในพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัญแรกนาขวัญ

 

ปี 2505 มีผู้มาถวายโคนมจำนวน 6 ตัว จึงเริ่มทดลองเลี้ยงโคนม โดยพระองค์ทรงพระราชทานพระราชทรัพย์และโปรดให้นำกำไรจำนวน 32,866.73บาท จากการจัดพิมพ์และจำหน่ายหนังสือหลักวิชาการดนตรี ดุริยางคศาสตร์สากล ที่พระเจนดุริยางค์ได้น้อมเกล้าฯถวายลิ

อภิหารเงินออม

อภิหารเงินออม

GURU aomMONEY ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการออมเงิน การจัดการการเงิน