พระมหากษัตริย์นักออมเงิน

 เราแตกประเด็นในบทความ พระมหากษัตริย์นักออมเงิน ที่เขียนมาตั้งแต่ปี 2558 ออกเป็น 5 ตอน ซึ่ง "เก็บออมเงินเพื่อซื้อของใช้ส่วนพระองค์นี้" เป็นบทความที่ 2 นะจ๊ะ เราต้องการรวบรวมข้อมูลไว้ให้คนรุ่นหลังได้อ่านและแสดงความรักต่อ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ด้วยการลงมือทำตามแนวทางที่พระองค์ท่านสอน

 

พระมหากษัตริย์นักออมเงิน เดอะซีรีย์จะแบ่งออกเป็น 5 ตอน คือ

  1. สมเด็จย่าทรงสอนวิธีจัดการเงิน คลิกที่นี่
  2. เก็บออมเงินเพื่อซื้อของใช้ส่วนพระองค์ (บทความนี้)
  3. การสร้างรายได้และการให้คลิกที่นี่
  4. การประหยัดคลิกที่นี่
  5. เงินฉุกเฉินของรัชกาลที่ 3 เงินถุงแดงไถ่บ้านเมืองคลิกที่นี่

 

เราจะแบ่งเขียนออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกจะเป็นเรื่องราวของพระองค์ท่านจากข้อมูลที่ไปค้นคว้ามา จะเขียนไว้ในกรอบพื้นสีเหลือง ส่วนที่สองเป็นวิธีการนำไปใช้ว่าทำอย่างไรบ้าง เพื่อให้พวกเราลองนำมาประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตจริงนะจ๊ะ

 

 ตอนที่ 2 เก็บออมเงินเพื่อซื้อของใช้ส่วนพระองค์

 

จากการรวบรวมข้อมูลในอินเตอร์เน็ตและอ่านหนังสือ เจ้านายเล็กๆยุวกษัตริย์ ในพระนิพนธ์ของ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ได้ข้อมูลว่า…

 

พระมหากษัตริย์นักออมเงิน

ภาพนี้ถ่ายจากกำแพงมหาวิทยาลัยศิลปากร (ข้างสนามหลวง)

 

 
  • ตอนที่พระองค์ท่านทรงพระเยาว์ กำลังเรียนหนังสืออยู่ที่ Swiss ในหลวงก็เดิน เข้ามาบอกสมเด็จย่าว่าอยากได้จักรยาน เพื่อนๆเขามีจักรยานกัน สมเด็จย่าบอกว่า “ลูกอยากได้จักรยาน ลูกก็เก็บสตางค์ที่แม่ให้ไปกินที่โรงเรียนไว้ซิ” เก็บมาหยอดกระปุกวันละเหรียญ สองเหรียญ เมื่อได้มากพอก็เอาไปซื้อจักรยาน”
 
  • พอถึงวันปีใหม่ สมเด็จย่าก็บอกว่า “ปีใหม่แล้ว เราไปซื้อจักรยานกัน” ให้แคะกระปุกดูซิว่ามีเงินเท่าไหร่? เสร็จแล้วสมเด็จย่าก็แถมให้ ซึ่งส่วนที่แถมนั้นมีมากกว่าเงินในกระปุก
 

 

 

พระมหากษัตริย์นักออมเงิน

ภาพจาก https://www.pinterest.com/pin/259449628506313513/: Coronet Midget  เป็นกล้องที่เล็กที่สุดในโลก ความสูงประมาณ 5 เซนติเมตร และน้ำหนัก 71 กรัมซึ่งเล็กมากจนดูเหมือนเป็นของเล่น แต่เป็นกล้องที่สามารถใช้งานได้จริง (ข้อมูลจาก http://news.sanook.com/2083694/)

 

 
  • กล้องถ่ายรูปกล้องแรกของในหลวง คือ Coronet Midget ทรงซื้อด้วยเงินสะสมส่วนพระองค์ เมื่อพระชนม์เพียง 8 พรรษา ทรงซื้อมาในราคา 2.50 ฟรังก์ ฟิล์มม้วนละ 0.25 ฟรังก์ ม้วนหนึ่งมี 6 รูป การถ่ายม้วนแรกนั้นเสียไป 5 รูปและรูปที่ 6 ที่ดีนั้น ผู้อื่นเป็นคนถ่าย

 

จากคลิปวีดีโอเรื่อง “แผ่นดินวัยเยาว์” ชื่อตอนว่า งานศิลปะประดิษฐ์สู่การทรงงาน ซึ่งในหลวงเคยเล่าให้ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ฟังว่า…

 

สมเด็จย่าทรงมีการอบรมที่เข้มงวด ไม่ให้ใช้เงินอย่างสิ้นเปลือง สมัยก่อนจะไปซื้อของเล่นไม่มีเงิน ก็ไปยืมคนนั้น คนนี้ไปเรื่อย พอสมเด็จย่ารู้ก็รับสั่งให้เอาเงินไปคืนหมดเลย แล้วรับสั่งว่า “ถ้าไม่มีก็ไม่ต้องเล่น” ถ้ามีเงินก็จะอนุญาตให้ไปซื้อ ในหลวงทรงหาทางออกโดยการผลิตของเล่นเอง วิทยุ ตุ๊กตา งานไม้ ก็เลยเป็นช่างไปโดยอัตโนมัติ จนกระทั่งมาเป็นพระเจ้าแผ่นดินก็มีแนวโน้มที่จะทำอะไรด้วยตนเอง

 

 
  • พระอัจฉริยภาพของในหลวง มีพื้นฐานมาจาก “การเล่น” สมัยทรงพระเยาว์ ทรงเคยหุ้นค่าขนมกับสมเด็จพระเชษฐา เพื่อซื้อชิ้นส่วนวิทยุทีละชิ้นๆ แล้วทรงนำมาประกอบเองเป็นวิทยุ แล้วแบ่งกันฟัง โดยได้รับความรู้ต่างๆจากการอ่านหนังสือและสอบถามวิธีทำจากผู้รู้รอบข้าง ซึ่งในหลวงทรงมีพุทธภาษิตประจำพระองค์ว่า “กตฺเต รมเต ผู้ทำเอง ย่อมรื่นรมย์”

 

 

พระมหากษัตริย์นักออมเงิน

ที่มาของภาพ : http://www.photoontour.com/SpecialPhotos_HTML/data_king_family/King_photo_06.htm

 

 
  • ในหลวงสนพระทัยในด้านดนตรีมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ พระองค์เริ่มจากเครื่องเป่าและต่อมา จึงทรงเรียนเปียโน ทรงซื้อเครื่องดนตรีชิ้นแรก คือ คลาริเน็ต เมื่อพระชนมายุ 10 พรรษา ด้วยเงินที่ทรงเก็บออมไว้ ตอนแรกโปรดดนตรีคลาสสิกและต่อมาโปรดดนตรีแจ๊ซ
 
  • ทรงสนพระทัยดนตรีอย่างจริงจังราวพระชนม์ 14-15 พรรษา ทรงซื้อแซกโซโฟนมือสองราคา 300 ฟรังก์มาทรงหัดเล่น โดยใช้เงินสะสมส่วนพระองค์ครึ่งหนึ่ง และอีกครึ่งหนึ่งสมเด็จย่าออกให้

 

 

แนวคิดที่สามารถมาประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตประจำวัน

 

เราจะเห็นแล้วว่าของใช้ส่วนพระองค์หลายชิ้น เช่น จักรยาน กล้องถ่ายรูป เครื่องดนตรี ของเล่น  ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงซื้อด้วยพระองค์เองจากการสะสมเงินออมหรือหุ้นกับสมเด็จพระเชษฐาเพื่อซื้อของ หากได้รับเงินในโอกาสพิเศษจากสมเด็จพระพันวัสสาฯ พระองค์ก็ทรงเก็บสะสมไว้ ซึ่งสิ่งของบางชิ้นสมเด็จย่าก็ทรงช่วยโดยการสมทบเงินออมเพิ่มเพื่อเป็นกำลังใจจะได้ซื้อของที่อยากได้เร็วขึ้น

 

2 แนวคิดให้คนวัยทำงาน

 

แนวคิดที่ 1 สะสมเงินเพื่อซื้อของที่ตัวเองอยากได้

 

การเก็บสะสมเงินนั้นเป็นกลยุทธ์ที่ยิงปืนนัดเดียวได้นกหลายตัว คือ

  • มีเวลานั่งคิดว่าของสิ่งนี้จำเป็นที่จะต้องซื้อแล้วหรือยัง (การเรียงลำดับความสำคัญ)
  • ไม่ต้องมานั่งเสียดอกเบี้ยจากการกู้ยืม (กรณีผ่อนบัตรเครดิตแล้วไม่มีเงินไปชำระหนี้ หรือกดเงินจากบัตรกดเงินสดมาซื้อของ)
  • ช่วงเวลาสะสมเงินมีเวลาตัดสินใจว่า เราต้องการของสิ่งนั้นจริงๆหรือไม่ ไม่ใช่การซื้อเพราะอารมณ์หรือถูกดึงดูดจากโปรโมชั่น
  • สิ่งของบางชิ้นที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีออกมาเรื่อยๆ เช่น สมาร์ทโฟน การรอคอยทำให้เราได้ของชิ้นใหม่ที่ดีและราคาถูกกว่าเดิม เพราะแต่ละบริษัทก็ต้องผลิตแข่งกัน ช่วงเวลาที่เราสะสมเงินก็จะมีเวลาหาข้อมูลเปรียบเทียบตัวเลือกที่ดีที่สุดก่อนตัดสินใจซ&#
อภิหารเงินออม

อภิหารเงินออม

GURU aomMONEY ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการออมเงิน การจัดการการเงิน