เกิดมาต้องลั้นลาให้เต็มที่!!

 

คนเราอายุไม่ได้ยืนค้ำฟ้า แม้ว่าเรามีวันนี้ แต่ก็ยังไม่รู้ว่าจะมีวันพรุ่งนี้หรือเปล่า มันก็ต้องใช้ชีวิตให้สุดๆ ไปในแต่ละวันซิ ทำงานหาเงินมาเหนื่อยแล้วก็ต้องใช้ให้สะใจ จะเก็บออมไว้ให้เงินบูดไปทำไมกัน อนาคตจะเกิดอะไรก็เกิด แค่ตอนนี้เรามีความสุขก็เพียงพอแล้ว

แต่แล้วชีวิตก็ถูกกลั่นแกล้งจากเรื่องไม่คาดคิด เช่น

  • เกิดอุบัตเหตุรถชนแขนหัก ทำงานไม่ได้หลายเดือน
  • ลูกป่วยกะทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุ ต้องรีบส่งโรงพยาบาล
  • แม่ที่ชราเดินตกบันได ต้องเข้าเฝือกเพราะกระดูกที่ขาแตก เราต้องลางานไปดูแลท่าน
  • บริษัทที่ทำอยู่กำลังคัดพนักงานออกเพื่อประหยัดต้นทุน
  • บ้านมีรอยร้าวเพราะเกิดแผ่นดินไหว ต้องรีบซ่อมด่วนไม่งั้นบ้านถล่ม ไม่มีบ้านอยู่แน่ๆ
  • ลูกค้าแจ้งเลื่อนการชำระเงินไปเดือนหน้า ทำให้ฟรีแลนซ์อย่างเราต้องกินมาม่าไปอีก 1 เดือน

 

ปาดน้ำตา กำมือสองข้างแล้วตะโกนขึ้นฟ้าว่า “ทำไมเรื่องโชคร้ายมันต้องเกิดขึ้นกับเราด้วย” #นึกว่าเป็นนางเอกมิวสิก แล้วก็พร่ำบ่นน้อยใจในโชคชะตาที่เกิดมาว่ามีไม่เท่าคนอื่น ชีวิตยากลำบากแสนเข็ญ แล้วแต่ละปัญหาก็ต้องใช้เงินทั้งนั้นเลย เงินเก็บก็ไม่มีแล้วจะมีที่ไหนมาจ่ายกันล่ะ โฮ้ววว ชีวิตทำไมมันดราม่าอย่างนี้นะ

 

แต่เดี๋ยวก่อน!!

 

ความโชคร้ายที่เข้ามานั้น มันมาจากการที่เราถูกโชคชะตากลั่นแกล้งหรือว่าไม่ได้เตรียมความพร้อมกันแน่ หยุดคร่ำครวญถึงเรื่องที่ผ่านไป แล้วมาเริ่มต้นใหม่ด้วยการวางแผนเตรียมรับความไม่แน่นอนในอนาคตน่าจะดีกว่า โดยกันเงินไว้บางส่วนเพื่อจะได้มีเงินมาหมุนในระยะสั้น เงินส่วนที่ว่านี้ คือ เงินฉุกเฉิน

 

เราควรมีเงินฉุกเฉินเท่าไหร่?

 

ตามทฤษฎีที่ได้มีการจารึกนั้นกล่าวไว้ว่าควรมี “เงินฉุกเฉิน 3-6 เดือนของค่าใช้จ่าย” เช่น เรามีรายจ่ายเดือนละ 10,000 บาท ก็ควรมีเงินฉุกเฉินสำรองไว้ 30,000 - 60,000 บาท ซึ่งเงินฉุกเฉินมีไว้เผื่อเวลาเกิดเหตุที่ต้องใช้เงินเร่งด่วนจะได้ถอนเงินส่วนนี้ออกมาใช้จ่าย โดยไม่ต้องกู้ยืมเงินที่ต้องเสียดอกเบี้ยสูงปรี๊ดจากบัตรกดเงินสดหรือไปพึ่งแหล่งเงินกู้นอกระบบดอกเบี้ยมหาโหด

 

แต่ทฤษฎีก็เป็นเพียงแนวทางเท่านั้น การนำมาใช้จริงจะต้องปรับเปลี่ยนให้เข้ากับความจำเป็นของแต่ละคน เช่น มนุษย์เงินเดือนอาจจะตกงานกะทันหัน ก็เตรียมเงินฉุกเฉินไว้ที่ 3-6 เดือนเพื่อรอเวลาหางานใหม่ คนทำงานฟรีแลนซ์ที่มีรายได้ไม่แน่นอนควรกันเงินฉุกเฉินไว้ในช่วงเหตุการณ์ที่โชคร้ายที่สุดในชีวิต เช่น ไม่มีใครจ้างทำงาน 1 ปี เราจะได้นำเงินที่สำรองไว้มาใช้จ่ายได้

 

แหล่งเงินฉุกเฉิน

 

เงินออมส่วนตัว

 

แนวทางนี้ยึดหลัก “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” กินบุญเก่าที่เคยเก็บสะสมไว้ สบายใจแล้วไม่ต้องง้อใครให้รู้สึกไม่สบายใจ ซึ่งเงินฉุกเฉินนั้นจะต้องแยกบัญชีออกมาให้ชัดเจนไม่ปะปนกับบัญชีเงินใช้ส่วนตัวเพราะเราจะเกิดความสับสน แล้วอาจจะไปเผลอถอนออกมาใช้ เงินฉุกเฉินเป็นเงินเก็บระยะสั้น สภาพคล่องสูง ที่สำคัญแหล่งเก็บเงินจะต้องรักษาเงินต้นอีกด้วย

ตัวอย่างแหล่งเก็บเงินฉุกเฉิน

  • บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ แม้ว่าดอกเบี้ยต่ำก็จริง แต่ถ้าต้องการใช้เร่งด่วนก็ถอนมาใช้ได้ทันที
  • กองทุนรวมตลาดเงิน โดยทำเป็นบัญชีออนไลน์ ผูกติดไว้กับบัญชีเงินเดือน เมื่อต้องการใช้เงินก็ขายกองทุนออกมา ในวันรุ่งขึ้นเงินก็จะกลับเข้าสู่บัญชีเงินเดือน เราก็ถอนเงินมาใช้จ่ายได้ ระหว่างที่เงินอยู่ในกองทุนก็จะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนควบคู่ไปด้วย

 

ยืมเงินคนใกล้ชิด

 

เงินฉุกเฉินที่ได้มาจากการหยิบยืมเงินจากคนใกล้ตัวนี้จะมีต้นทุนต่ำมากเพราะไม่ต้องเสียดอกเบี้ยหรือถ้าคิดดอกเบี้ยก็จะไม่สูงมาก แต่ก่อนจะยืมเงินก็อาจจะต้องอาศัยความกล้ามากๆเพราะอาจจะเจอคำปฏิเสธหรือคำพูดที่อาจจะทำให้เราไม่สบายใจ จนมีคำพูดขึ้นมาว่า “หากรักกันจริงจะอย่ายืมเงินกัน” เพราะส่วนใหญ่มักไม่ได้เงินคืน ขั้นเลวร้ายที่สุดเลิกคบกันก็มีให้เห็นอยู่บ่อยๆ

 

ดังนั้น หากใครเลือกใช้เงินฉุกเฉินด้วยการยืมเงินคนใกล้ชิดตั้งแต่พ่อแม่ ญาติพี่น้อง เพื่อนสนิท รุ่นพี่ รุ่นน้อง ฯลฯ ก็อาจจะต้องยืมแล้วรักษาเครดิตให้ตัวเองจากการ “ยืมแล้วคืน” เพราะมันไม่คุ้มค่าที่จะนำความสัมพันธ์ ที่ดีมาแลกด้วยเงินไม่กี่บาทนะจ๊ะ

 

โรงรับจำนำ

 

เราอาจจะเคยได้ยินข่าวเกี่ยวกับโรงรับจำนำบ่อยๆในช่วยใกล้เปิดเทอม เพราะผู้ปกครองจะนำของมีค่ามาจำนำเพื่อเปลี่ยนเป็นเงินสดใช้จ่ายเป็นค่าอุปกรณ์การศึกษาให้ลูก เมื่อผ่านพ้นช่วงเร่งรีบใช้เงินด่วนไปแล้ว ก็ถึงช่วงเวลาเก็บสะสมเงินเพื่อนำไปไถ่ของคืนจากโรงรับจำนำ ซึ่งมีทั้งโรงรับจำนำของรัฐบาลและเอกชน โดยจะมีเงื่อนไขแตกต่างกันเล็กน้อย

 

สิ่งหนึ่งที่เราเรียนรู้ได้จากโรงรับจำนำ คือ การคิดก่อนซื้อ หากช่วงที่มีรายได้เราซื้อของที่มีค่าเก็บไว้ เมื่อถึงช่วงเวลาฉุกเฉิน สิ่งของที่เราสะสมไว้ก็สามารถนำมาเปลี่ยนเป็นเงินสดมาหมุนใช้ได้ชั่วคราว

โรงรับจำนำแห่งหนึ่งมีวิธีคิดดอกเบี้ย ดังนี้

  • สำหรับเงินต้นไม่เกิน 5,000 บาท : 0.25 % ต่อเดือน
  • สำหรับเงินต้น 5,001 - 15,000 บาท : 1.00 % ต่อเดือน
  • สำหรับเงินต้นเกิน 15,000 บาท : เงินต้น 2,000 บาทแรก 2 %  ส่วนที่เกิน 2,000 บาท 1.25 % ต่อเดือน

 

ตัวอย่าง : เงินต้นและดอกเบี้ยของโรงรับจำนำแห่งหนึ่ง


โรงรับจำนำดอกเบี้ย

ที่มา : http://pawnshop.bangkok.go.th/internet.html

 

บัตรกดเงินสดกับบัตรเครดิตมากดเงินสด

 

เงินสดที่มาจากสารพัดบัตรต่างๆนั้น ท่องไว้คำเดียวเลยว่า “ดอกเบี้ยโหด” ท่านคิดดอกเบี้ยเราตั้งแต่วันแรกที่กดจนกระทั่งวันที่ชำระคืนเงิน ซึ่งบัตรแต่ละแบบนั้นจะมีวิธีการคิดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมแตกต่างกัน เราควรอ่านให้เข้าใจเงื่อนไขก่อนกดเงินสดออกมาใช้ว่าจะมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง โดยทั่วไปมีเงื่อนไข ดังนี้

  1. บัตรกดเงินสด คิดดอกเบี้ยแบบรายวัน 28% ต่อปี
  2. บัตรเครดิตมากดเงินสด มีค่าใช้จ่าย ดังนี้