เราชอบอะไรมากกว่ากันระหว่าง “ความแน่นอนกับความไม่แน่นอน”

เชื่อว่าคนส่วนใหญ่ตอบว่าชอบความแน่นอน เพราะเรารู้ว่าต่อไปจะเกิดอะไรขึ้นและมีการเตรียมความ พร้อมรองรับไว้เรียบร้อยแล้ว แต่ความจริงเรื่องที่มาพร้อมกับความแน่นอน มันคือความไม่แน่นอน ที่เราคาดไม่ถึง ซึ่งอาจจะมีทั้งเรื่องดีและเรื่องร้าย แล้วเจ้าตัวความไม่แน่นอนนี่แหละที่ชอบสร้างปัญหา ให้กับใครหลายๆ คน โดยเฉพาะคนที่ไม่เคยเตรียมความพร้อม

ความแน่นอน คือความไม่แน่นอน จริงหรือไม่?
ความเสี่ยงที่แก้ไขได้

เมื่อเกิดความไม่แน่นอนที่เราไม่สามารถคาดการณ์ได้ ถ้ามันเป็นเรื่องดีก็จะทำให้เรามีความสุข แต่ถ้าเป็นเรื่องเลวร้าย มันก็จะกลายเป็นความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดความเสียหายในรูปแบบที่เราคาดไม่ถึง ซึ่งความเสี่ยงบางอย่างเราสามารถซ่อมแซมหรือแก้ไขได้  เช่น

  • มือถือตกน้ำเราก็เลือกได้ว่าจะซ่อมหรือซื้อเครื่องใหม่ ถ้าบังเอิญค่าซ่อมราคาใกล้เคียงกับ ราคาเครื่องใหม่ หลายคนก็เลือกที่จะทิ้งเครื่องเก่ามาซื้อของใหม่
  • หากบังเอิญรถยนต์ถูกเฉี่ยวทำให้ประตูฝั่งคนขับเสียหาย เรียกประกันมาตรวจสอบความเสียหาย แล้วก็นำรถไปเข้าอู่ซ่อมให้กลับมาเหมือนเดิมได้
  • เหตุการณ์น้ำท่วม หากบ้านของเราอยู่ในพื้นที่เสี่ยงก็ถูกน้ำท่วมไปด้วย พอน้ำแห้งก็ซ่อมแซมบ้าน ให้กลับมามีสภาพใกล้เคียงของเดิมได้

เราจะเห็นว่าความเสี่ยงส่วนใหญ่ล้วนเกิดจากสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้ มันกลายเป็นความเสี่ยงที่สร้าง ความเสียหายให้แก่ทรัพย์สินของเรา บางครั้งเราเลือกที่จะซ่อมแซมเพื่อให้กลับมามีสภาพใกล้ เคียงของเดิม ในขณะที่บางครั้งค่าใช้จ่ายในการซ่อมกับการซื้อของชิ้นใหม่มีราคาใกล้เคียงกัน เราก็เลือกที่จะซื้อของชิ้นใหม่แทน

ความเสี่ยงที่แก้ไขไม่ได้

แต่ถ้าความเสียหายนั้นเกิดขึ้นกับอวัยวะของเรา เช่น ปอด ตับ ไต หัวใจ ฯลฯ เราจะมีวิธีการดูแลอย่างไร "ซ่อมแซมหรือเปลี่ยนใหม่?" ถ้าเป็นสิ่งของก็สามารถซ่อมแซมหรือซื้อใหม่ได้ แต่ การซ่อมแซมอวัยวะในร่างกายของเรา ให้สามารถกลับมาใช้งานได้ปกติดังเดิมนั้นทำได้ยาก หากแต่เพียงเพียงทำให้ใกล้เคียงของเดิม โดยมีร่องร่อยหรือความบกพร่องหลงเหลืออยู่บ้าง หรือถ้าจะเปลี่ยนโดยนำอวัยวะของคนอื่นมาใช้กับร่างกายเรานั้นก็หายากมาก ไม่แน่ว่าถ้าหากเปลี่ยนอวัยวะได้ ร่างกายของเราอาจจะไม่เข้ากับอวัยวะชิ้นใหม่ก็ได้ การใช้ชีวิตก็ต้องเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

เรารักอะไรมากกว่ากัน

ตอนนี้มีคำถามหนึ่งที่อยากจะให้เราลองถามตนเองว่า “เรารักสิ่งของหรือรักชีวิตมากกว่ากัน” แน่นอนว่า คนส่วนใหญ่ต้องรักชีวิตตนเองมากกว่า แล้วคำถามต่อมา คือ  “เราเลือกปกป้องสิ่งของหรือปกป้องชีวิตของเรามากกว่ากัน” หลายคนเลือกปกป้องสิ่งของก่อนปกป้องชีวิตตนเอง ลองสังเกตุง่าย ๆ ว่าคนส่วนใหญ่ มักเลือกทำประกันภัยให้รถยนต์ แต่ไม่ค่อยทำประกันให้ชีวิตตนเอง...จริงไหม?

ความเสี่ยงที่เราไม่ควรเสี่ยง

หลายคนทำประกันรถยนต์เพราะต้องขับรถไปทำงานทุกวัน กลัวความเสี่ยงว่าจะเกิดอุบัติเหตุ เพราะค่าเสียหายค่อนข้างสูง จึงเลือกที่จะไม่รับความเสี่ยงไว้เอง แต่ใช้วิธีโอนความเสี่ยงให้บริษัทประกันรับผิดชอบ

เมื่อเกิดอุบัติเหตุรถชนอย่างกระทันหัน ตอนนั้นเราอาจจะนั่งมึน ๆ กับเหตุการณ์สักพัก พอสติกลับมาก็โทรเรียกประกันมาเคลียให้ว่าใครผิดและต้องรับผิดชอบความเสียหายอย่างไร โดยที่เราไม่ต้องมานั่งโต้เถียงกับคู่กรณีด้วยตนเอง

ในขณะที่หลายคนเลือกที่จะไม่ทำประกันชีวิต เพราะมองว่าจะต้องส่งหลายปี กลัวบางปีสะดุดขาดสภาพคล่องแล้วจะส่งเบี้ยประกันต่อไม่ได้ บางคนมองว่าเงินจมอยู่กับประกันนาน ๆ ผลตอบแทนต่ำ มันเสียโอกาสในการลงทุน บวกกับตอนนี้สุขภาพแข็งแรงจึงเลือกที่จะดูแลตนเอง และรับความเสี่ยงต่าง ๆ ไว้เอง

เมื่อเกิดอุบัติเหตุต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลกระทันหัน นอกจากความกังวลเกี่ยวกับอาการเจ็บป่วยของตนเองแล้ว ยังต้องมาแบกรับภาระค่ารักษาพยาบาลเองทั้งหมดอีกด้วย ถ้าโชคร้ายว่าการรักษาไม่ได้จบภายในวันเดียว บางคนต้องนอนรอดูอาการและพักฟื้นที่บ้านเกือบเดือนถึงจะสามารถกลับไปทำงานได้ตามปกติ

หากเป็นคนที่ทำงานประจำ ก็อาจจะใช้สิทธิ์วันลาป่วยที่ขอลาหยุดแล้วยังได้รับเงินเดือนเหมือนเดิม (แต่อาจไม่รวมถึงกรณีที่เป็นโรคร้ายเรื้อรัง ก็อาจต้องลาออกจากงานเพื่อไปรักษาตัว) แต่สำหรับคนที่เป็นฟรีแลนซ์ก็จะขาดรายได้ไปเต็ม ๆ เพราะป่วยทำงานไม่ได้ พอไม่ทำงานก็ไม่มีเงิน บางครั้งต้องไปดึงเงินเก็บมาใช้เป็นค่ารักษาตนเอง เพื่อจะได้เห็นภาพที่ชัดขึ้นก็ลองดูตัวอย่างนี้

ตัวอย่าง หนุ่มเป็นพนักงานบริษัทเอกชน อายุ 30 ปี ป่วยเป็นไข้เลือดออก ต้องเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล เป็นเวลาต่อเนื่องกัน 7 วัน รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดเป็นตัวเลขกลม ๆ 70,000 บาท (ตัวอย่างจริงของคนใกล้ตัว)

กรณีที่ 1: ไม่ได้ทำประกันชีวิต ก็จะเสียเงินเองทั้งหมด 70,000 บาท

กรณีที่ 2: ทำประกันชีวิต iProtect 5 (กรุงไทย แอกซ่า) + สัญญาเพิ่มเติม จ่ายค่าเบี้ยประกันปีละประมาณ 38,500 บาท (หรือตกวันละ 105 บาท) ต่อเนื่องเป็นเวลาประมาณ 5 ปี สามารถเบิกเงินค่ารักษาพยาบาล (ผู้ป่วยใน) ได้สูงสุด 400,000 บาท/การเข้าพักรักษาตัว 1 ครั้ง และได้ค่าชดเชยรายวัน 1,000 บาท/ วัน

แต่หากโชคดีไม่ได้เจ็บป่วยรุนแรงถึงขั้นต้องเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล เงินที่จ่ายไปทุกปีให้กับค่าเบี้ยประกันก็ไม่ได้สูญเปล่า แต่จะได้คืนเมื่อครบกำหนดอายุสัญญา  ในอัตรา 299.5% (เฉพาะตัวสัญญาหลัก) ของค่าเบี้ยประกันที่ชำระ เท่ากับว่าเราได้นำเงินมาลงทุนในการดูแลสุขภาพชีวิตของตัวเอง นั่นเอง

สรุปว่า…

ชีวิตของเรานั้นมีความเสี่ยงอยู่ในทุกวัน ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่เราไม่ควรจะต้องเสี่ยง และสามารถโอนความเสี่ยงให้แก่ประกันชีวิต เป็นผู้ช่วยดูแลชีว