พระมหากษัตริย์นักออม

บทความ "พระมหากษัตริย์นักออม" เขียนขึ้นครั้งแรกในเดือนตุลาคม 2558 เป็นบทความที่รวบรวมแนวคิดเกี่ยวกับเรื่องการออมเงิน ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ตั้งแต่ทรงพระเยาว์จนถึงปัจจุบัน มีเป้าหมายเพื่อให้พวกเราแสดงความรักต่อพระองค์ท่านด้วยการลงมือทำ

ตลอดช่วงที่ผ่านมาเราได้ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่งแต่ละอย่างนั้นน่าสนใจและคิดว่าควรรวบรวมไว้ให้คนรุ่นหลังนำมาใช้เป็นแนวทางปฏิบัติต่อไป แต่ถ้าไปเพิ่มในบทความเดิมจะทำให้เนื้อหายืดยาวเกินไป จึงเปลี่ยนมาเขียนแยกทีละเรื่อง เพื่อให้พวกเราได้อ่านง่ายขึ้นโดยแบ่งเป็น 5 เรื่อง คือ

  1. สมเด็จย่าทรงสอนวิธีจัดการเงิน (บทความนี้)
  2. เก็บออมเงินเพื่อซื้อของใช้ส่วนพระองค์ คลิกที่นี่
  3. การสร้างรายได้และการให้ คลิกที่นี่
  4. การประหยัดคลิกที่นี่
  5. เงินฉุกเฉินของรัชกาลที่ 3 เงินถุงแดงไถ่บ้านเมือง คลิกที่นี่

 

เราจะแบ่งเขียนออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกจะเป็นเรื่องราวของพระองค์ท่านจากข้อมูลที่ไปค้นคว้ามา จะเขียนไว้ในกรอบพื้นสีเหลือง ส่วนที่สองเป็นวิธีการนำไปใช้ว่าทำอย่างไรบ้าง เพื่อให้พวกเราลองนำมาประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตจริงนะจ๊ะ พร้อมแล้วเริ่มเลยยยยย

 

ตอนที่ สมเด็จย่าทรงสอนวิธีจัดการเงิน

 

พระมหากษัตริย์นักออม ที่มาของภาพ http://node.king9moment.com/89years?_ga=1.117945353.1412739894.1482211365

 

เมื่อครั้งวัยเยาว์พระองค์ทรงประทับอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สมเด็จย่าเลี้ยงดูพระราชโอรสและพระราชธิดาด้วยแนวทางที่ว่า “ทรงใช้ชีวิตเรียบง่ายอย่างสามัญชน เพื่อให้แต่ละพระองค์เรียนรู้ชีวิตธรรมชาติ ธรรมดา”  จากการสอนแบบนี้ก็เป็นที่มาของการปลูกฝังแนวคิดเรื่องการเงินและเผยออกมาทางพระจริยวัตรต่างๆของพระองค์ท่านอีกด้วย ดังที่ได้ปรากฏในหนังสือ 3 เล่ม ดังนี้

 

หนังสือเล่มที่ 1 : ชื่อหนังสือ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีกับการพัฒนาคุณภาพประชากร โดยมีสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ทรงพระกรุณาประทานพระดำรัช (หน้า 53-55)

ข้อความว่า...

 
“ในการประหยัดนั้นก็ได้จัดให้มีเงินค่าขนมหรือพอกเก็ตมันนี่ ท่านเองเคยได้รับสัปดาห์ละครั้งและเดือนละครั้ง ท่านสังเกตแล้วว่าสัปดาห์ละครั้งดีกว่ามาก เพราะว่าเดือนละครั้งขาดทุนได้น้อยกว่าต่อปี (1) (ผู้ฟังหัวเราะ)

ท่านก็เลย (สมเด็จย่า)มาให้ลูกๆท่านสัปดาห์ละครั้งตามอายุและก็ได้ไม่มากนัก  พอที่จะซื้อขนมพวกลูกหวาด หรือช็อคโกแลต แต่อาจจะซื้อหนังสือหรือของเล่นซึ่งของพวกนี้ต้องซื้อเองเพราะของเล่นนั้น ส่วนมากแล้วแม่จะไม่ได้ซื้อให้

เว้นแต่ปีละ 2 ครั้ง คือ ในวันปีใหม่และวันเกิด จะได้ของเล่นที่สำคัญและใหญ่โตเราอยากได้อะไรก็ขอไป บอกว่าอยากได้ของเล่นพวกนี้ท่านก็บอกว่าถึงวันเกิดจะซื้อให้จะไม่ซื้อพร่ำเพรื่อ   แต่ของเล็กๆน้อยๆนั้น เราจะต้องซื้อเองและท่านก็สอนให้เอาเงินไปฝากธนาคารเมื่อมีจำนวนพอแล้ว”
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
(1) สมัยที่แม่ได้รับทุนของสมเด็จพระพันวัสสาฯ ไปเรียนที่สหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2460และพักอยู่กับครอบครัวอดัมเสน (Adamsen) ที่เมืองเบอร์คลี่ (Berkeley) แม่ควรได้รับเงินค่าใช้จ่ายส่วนตัวสัปดาห์ละ 1 เหรียญ แต่มิสซิสอดัมเสน ให้แม่ 4 เหรียญต่อเดือน ปีหนึ่งแม่จึงได้ 48 เหรียญ หากแม่ได้รับสัปดาห์ละเหรียญ แม่จะได้รับปีละ 52 เหรียญ จึงทำให้ขาดทุนไปปีละ 4 เหรียญ

 

 

หนังสือเล่มที่ 2  : ชื่อหนังสือ 100 เรื่องในหลวงของฉัน รวบรวมโดย วิทย์ บัณฑิตกุล (หน้า 34)

 ข้อความว่า...

 
“...สมเด็จพระบรมราชชนนีท่านได้อบรม ท่านได้สั่งสอนด้วยวิธีการต่างๆ ที่ยังจำได้ เมื่ออายุประมาณ 7 ขวบ ไปอยู่เมืองนอกแล้ว ไปในเมือง ไปที่ร้านของเล่น แล้วอยากซื้อของเล่น อยากได้ จริงแล้วก็ไม่มีเงิน ไม่ได้เอาเงินไป เลยขอยืมผู้ใหญ่เป็นญาติซื้อของเล่น

กลับมาท่านเห็นว่าซื้อของมา ท่านถามว่าเอาเงินอะไรไปใช้ บอกว่ายืมเขามา ท่านดุใหญ่ ท่านบอกว่าถ้าไม่มีเงินอย่าไปซื้อของ เป็นหนี้ใครไม่สมควร ท่านก็ถือว่าเป็นระเบียบสำคัญ ไปเป็นหนี้เป็นสินนั้นไม่ดี แม้จะเล็กน้อยมันก็พอกเข้าไป นี่ก็รับการสั่งสอนจากแม่ว่าไม่ให้เป็นหนี้...”

 

พระบรมราโชวาท ณ ศาลาดุสิตดาลัย สวนจิตรลดา

วันพฤหัสบดีที่ 9 พ.ย.2538

 

หนังสือเล่มที่ 3  : หนังสือเรื่อง ความสุขของพ่อ รวบรวมโดย โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ (หน้า 43-44)

 ข้อความว่า...

 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงพระราชทานหลักสำหรับการเลี้ยงดูลูกเอาไว้อีกด้วย        ดังที่ได้พระราชทานหลักในการอภิบาลพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ ให้แก่    พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองเจ้าศรีรัศมิ์ว่า

“อย่าประคบประหงมลูกมาก ปล่อยให้เล่นเหมือนเด็กธรรมดา ให้มีภูมิคุ้มกัน เพราะต่อไปลูกจะต้องอยู่ด้วยตัวเอง ต้องดูแลตัวเองได้”

หลักการเช่นนี้ ก็เป็นเช่นเดียวกับหลักการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวใช้ในการช่วยราษฎรของพระองค์ คือ มิได้ช่วยโดยการแจกการให้อยู่ร่ำไป อันจะทำให้ผู้รับกลายเป็นคนทอดอาลัย เฝ้าแต่จะรอคอยความช่วยเหลือจากผู้อื่น

แต่พระองค์ช่วยราษฎรโดยการช่วยเหลือให้ราษฎรสามารถตั้งหลัก ตั้งตัวได้ สามารถดูแลตัวเองและครอบครัวได้ต่อไป วิธีการเช่นนี้เองที่ได้ช่วยให้ราษฎรซึ่งเปรียบดั่งลูกของพระองค์มีความสุขได้อย่างยั่งยืน

 

ภาพบัญชีฝากออมทรัพย์ในสมัยทรงพระเยาว์

 

พระมหากษัตริย์นักออม

พระมหากษัตริย์นักออม

พระมหากษัตริย์นักออม

 

 

แนวคิดที่สามารถมาประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตประจำวัน

 

จากเรื่องเล่าเหล่านี้ทำให้เรารู้ว่า “แนวคิดการเงินข้อแรกที่สำคัญมากที่สุด คือ วิธีการอบรมสั่งสอน” ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้ลูกหลานของเรารู้ว่าอะไรควรทำและอะไรไม่ควร&#

อภิหารเงินออม

อภิหารเงินออม

GURU aomMONEY ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการออมเงิน การจัดการการเงิน