พระมหากษัตริย์นักออม เดอะซีรีย์ ตอนที่ 5 เงินถุงแดงไถ่บ้านเมือง

 

มาถึงบทความสุดท้ายของ "พระมหากษัตริย์นักออม เดอะซีรีย์" กันแล้วนะจ๊ะ บทความนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับเงินถุงแดงของรัชกาลที่ 3 จำนวน 3 หมื่นชั่ง ที่ถูกเก็บรักษาไว้นานกว่า 42 ปี ก่อนที่จะนำมาต่อลมหายใจของประเทศไทยในช่วงวิกฤต ร.ศ. 112  นับว่าเงินถุงแดงนั้นเป็น "เงินฉุกเฉิน" ที่เก็บสำรองไว้เพื่อให้ประเทศของเราผ่านช่วงวิกฤตออกมาได้

 

เราคิดว่าเงินถุงแดงเป็นตัวอย่างของการเก็บเงินฉุกเฉินที่ดีมากๆจึงรวบรวมไว้ในซีรีย์นี้ด้วย ซึ่งเรื่องราวของเงินถุงแดงเป็นอย่างไร ช่วยเหลือจนทำให้คนไทยผ่านพ้นช่วงเวลาอันแสนขมขื่นใจออกมาได้อย่างไรและเรานำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไรบ้าง อ่านได้ที่บทความนี้เลยนะจ๊ะ

 

พระมหากษัตริย์นักออมเงิน เดอะซีรีย์จะแบ่งออกเป็น 5 ตอน คือ

  1. สมเด็จย่าทรงสอนวิธีจัดการเงิน คลิกที่นี่
  2. เก็บออมเงินเพื่อซื้อของใช้ส่วนพระองค์ คลิกที่นี่
  3. การสร้างรายได้และการให้ คลิกที่นี่
  4. การประหยัด คลิกที่นี่
  5. เงินฉุกเฉินของรัชกาลที่ 3 เงินถุงแดงไถ่บ้านเมือง (บทความนี้)

 

ตอนที่ 5 เงินฉุกเฉินของรัชกาลที่ 3 

เงินถุงแดงไถ่บ้านเมือง

 

พระมหากษัตริย์นักออม เดอะซีรีย์ ตอนที่ 5 เงินถุงแดงไถ่บ้านเมือง

ที่มาของภาพ : http://emuseum.treasury.go.th/article/376-thungdaeng.html

 

จุดเริ่มต้นเงินถุงแดงในรัชกาลที่ 3

 

ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 2 ขณะที่รัชกาลที่ 3 ทรงเป็นพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ทรงทำการค้าเก่งมากๆ ด้วยการสร้างเรือสำเภาหลวงและเรือสำเภาส่วนพระองค์ส่งของไปค้าขายกับเมืองจีน ร่ำรวยจนถึงขั้นที่พระราชบิดาทรงเรียกว่า “เจ้าสัว”

 

กำไรที่ได้จากการค้าขาย รัชกาลที่ 3ทรงไม่ได้ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยหรือยกให้ลูกหลานตามใจชอบ ทั้งที่พระองค์ทรงมีสิทธิ์จะทำได้ แต่ทรงนำผลกำไรที่ได้มาใส่ ถุงแดง แยกไว้เป็นถุงๆละ 10 ชั่ง ตีตราปิดปากถุงเก็บไว้ในหีบกำปั่นข้างห้องพระบรรทม ซึ่งมีจำนวนมากถึงสามหมื่นชั่ง (2,5๐๐,๐๐๐ ฟรังก์) เป็นเหรียญทองรูปนกของเม็กซิกัน (เป็นเงินตราต่างประเทศที่เป็นตัวกลางซื้อขายสินค้าในเมืองไทย)

 

พระมหากษัตริย์นักออม เดอะซีรีย์ ตอนที่ 5 เงินถุงแดงไถ่บ้านเมือง

ที่มาของภาพ : http://emuseum.treasury.go.th/article/376-thungdaeng.html

 

มีผู้ไปกราบทูลถามรัชกาลที่ 3 ว่าทรงเก็บเงินถุงแดงไว้ทำไม  พระองค์ทรงรับสั่งว่า...

 

 

“ส่วนหนึ่งให้เก็บไว้เพื่อเป็นทุนสำหรับสร้าง

และทำนุบำรุงวัดวาอารามต่างๆทั้งในและนอกพระนคร

อีกส่วนหนึ่งยกให้แผ่นดินเก็บรักษาไว้ใช้ในยามจำเป็น”

 

เมื่อรัชกาลที่ 3 ประชวรหนักใกล้สวรรคตก็ยังเป็นห่วงเรื่องความสงบสุขของบ้านเมือง ถึงกับพระราชทานพระบรมราโชวาทแก่ขุนนางข้าราชบริพารที่เข้าเฝ้าเป็นครั้งสุดท้ายว่า...

 

 

“...การศึกสงครามข้างญวน ข้างพม่าก็เห็นจะไม่มีแล้ว

จะมีอยู่ก็แต่ข้างพวกฝรั่ง ให้ระวังให้ดี

อย่าให้เสียทีแก่เขาได้ การงานสิ่งใดของเขาที่คิด

ควรจะเรียนร่ำเอาไว้ก็เอาอย่างเขา แต่อย่าให้นับถือเลื่อมใสไปทีเดียว...”

 

เราจะเห็นได้ว่ารัชกาลที่ 3 ทรงมองการณ์ไกลว่าในอนาคตภัยจากประเทศเพื่อนบ้านไม่มีแล้ว เหลือแต่ภัยอันตรายจากคนต่างชาติที่อยู่ห่างไกล อาจจะทำให้ประเทศไทยเสียหาย ซึ่งสิ่งที่เขาจะนำเข้ามานั้นจะมีทั้งสิ่งที่ดีและไม่ดี เราควรเรียนรู้และเลือกรับแต่สิ่งที่ดีกับสิ่งที่มีประโยชน์เข้ามาเท่านั้น

 

ยุคการล่าอาณานิคมในรัชกาลที่ 5

 

ในยุคที่มีการล่าอาณานิคม ก็จะมีนักเดินเรือสำรวจไปส่วนต่างๆของโลกเพื่อหาดินแดนใหม่ ถ้าดินแดนนั้นมีผู้ครอบครองอยู่แล้วก็จะยุยงทำให้แตกแยกหรือใช้กำลังสู้รบมาเพื่อเข้าครอบครอง แล้วนำทรัพยากรต่างๆของประเทศที่ถูกล่าอาณานิคมมาใช้ประโยชน์ เช่น

  • คนท้องถิ่น จะถูกนำมาซื้อขายเป็นทาสไปใช้แรงงานต่างๆ บางครั้งให้เป็นทหารในกองทัพเพื่อสู้รบ
  • ขนทรัพยากรกลับประเทศตนเอง เช่น อังกฤษเข้าครอบครองอินเดีย แล้วขนทรัพยากรป่าไม้ ชา ฝ้ายและสินแร่จากอินเดียกลับไปประเทศอังกฤษ

 

การคุกคามของการล่าอาณานิคมเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างขึ้นในสังคมไทย ถ้าใครต่อต้านก็ทำให้สูญเสียเอกราชของชาติได้ ซึ่งในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ฝรั่งเศสและอังกฤษเป็นประเทศมหาอำนาจกำลังออกล่าอาณานิคม โดยอังกฤษได้พม่า มลายู อินเดียไปเรียบร้อยแล้ว

 

ส่วนญวณ(เวียดนาม) และเขมรก็ตกเป็นของฝรั่งเศสและมีเป้าหมายต่อไปต้องการยึดจีนทางตอนใต้ซึ่งเป็นตลาดการค้าที่สำคัญ โดยใช้เส้นทางผ่านแม่น้ำโขงจากประเทศลาวขึ้นไปทางยูนานของจีน ตอนนั้นประเทศไทยมีอำนาจอยู่บริเวณนั้น มีประเทศลาว เขมรเป็นประเทศราช เมื่อฝรั่งเศสเข้าครอบครองเวียดนามและเขมรได้แล้ว ก็พยายามทุกวิถีทางเพื่อบีบให้ไทยคืนดินแดนของลาว เพราะอ้างว่าลาวเคยเป็นของเวียดนามมาก่อน

 

หลายปีก่อน พ.ศ. 2436 ไทยพยายามเจรจาเรื่องการปักปันเขตแดนบริเวณฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงกับฝรั่งเศส แต่ก็ยังไม่สำเร็จ จนกระทั่งเป็นที่มาของวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 มีการสู้รบกันที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งไทยไม่สามารถต้านทานได้ ทำให้เรือรบของฝรั่งเศสเข้าแม่น้ำเจ้าพระยาและมาจอดอยู่ที่สถานทูตฝรั่งเศส รวมถึงยื่นข้อเรียกร้องค่าเสียหายต่างๆ

 

ข้อเรียกร้องของฝรั่งเศส (บางส่วน)

 

  • ไทยถอนทหารจากฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง (ลาว เขมร) ภายใน 1 เดือน
  • จำนวนเงินค่าปรับไหม 2 ล้านแฟรงค์ ประมาณ 15,000 ชั่งสำหรับจะได้ใช้ทำขวัญให้แก่คนฝรั่งเศสที่เสียชีวิตที่หลวงพระบาง
  • จ่ายเงิน 3,000,000 ฟรังก์ เพื่อจะเป็นประกันในการที่จะใช้ค่าทำขวัญและปรับไหมนี้ ถ้าไม่ได้เงินก็จำนำภาษีอากรในหัวเมืองพระตะบองและเสียมราฐแทน

ที่มา : หนังสือวิกฤตการณ์ สยาม ร.ศ.112

 

อภิหารเงินออม

อภิหารเงินออม

GURU aomMONEY ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการออมเงิน การจัดการการเงิน