"เริ่มต้นใหม่ยังไม่สาย!!! ด้วย 3 สามเสาหลักความรู้ที่จะทำให้คุณเป็นมั่งคั่ง"

 เรื่องของการเงินไม่ใช่แค่การนำเงินที่มีไปลงทุนแล้วเงินจะผลิดอกออกผลมาให้เรามีกินมีใช้ได้ทั้งชาตินะคะคุณผู้อ่านทั้งหลาย~~~ นั่นเพราะเรื่องของการใช้เงินที่แท้จริงแล้วหมายถึงวิธีของ ‘การใช้ชีวิต’ นั่นเเหละ

ลองคิดดูสิจ๊ะว่า ถึงเราจะมีเป้าหมายเหมือนกันว่าอยากมีเงินล้านเป็นเงินเก็บกับเขาบ้าง แต่คุณๆหลายคนก็ยังไม่เริ่มจะออม คิดแต่ว่า ‘เดี๋ยว’ ค่อยออมก็ได้ ผลัดไปเรื่อยๆ จากวันเป็นเดือน จากเดือนเป็นปี แล้วแบบนี้เมื่อไหร่เป้าหมายเงินล้านของคุณจะประสบความสำเร็จล่ะคะ???

แน่นอนว่าเรื่องการเงินนั้นจริงๆแล้วมีทฤษฎีการเงินมากมายที่สามารถหาอ่านได้ตาม Internet ทั่วไป แต่สิ่งสำคัญหรือ ‘หัวใจ’ ที่คุณควรรู้นั้นมีเพียงแค่ 3 อย่างเท่านั้นก็คือ

  1. รู้เรื่องพื้นฐานการเงิน
    พื้นฐานทางการเงินที่คุณผู้อ่านทั้งหลายควรรรู้ไม่ใช่เรื่องของการตลาดว่าจะเปลี่ยนไปในทิศทางไหน จะดีขึ้นรึแย่ลง แต่สิ่งสำคัญที่สุดของการลงทุนคือ
    1. ‘ยิ่งเริ่มต้นเร็วเท่าไหร่ยิ่งดี’ หากเราเริ่มต้นออมเงินตั้งแต่อายุ 25 ไปจนถึง 60 ปีจะได้เงินมากกว่าเริ่มต้นออมเงินตอนอายุ 50 ไปจนถึง 60 ปีแม้ว่าจะออมเงินจำนวนมากกว่าเพราะดอกเบี้ยทบต้นเมื่อเริ่มออมตั้งแต่เนิ่นๆนั้นได้มากกว่า
    2. ‘ยิ่งออมบ่อยเท่าไหร่ยิ่งดี’ การออมนั้นไม่ใช่แค่การทำเพื่อเป้าหมาย แต่เป็นการทำให้เป็นนิสัย เริ่มจากออมเงินรายวัน, รายสัปดาห์ หรือออมแบบรายเดือนแบบไหนก็ดีทั้งนั้นค่ะคุณ~
    3. ‘เปลี่ยนเงินออมให้เป็นเงินลงทุน นั่นเพราะอะไรรู้รึเปล่าจ๊ะ??? นั่นก็เพราะหากเราออมเงินเฉยๆดอกเบี้ยที่ได้ยังน้อยกว่าเงินที่คุณๆซื้อเสื้อผ้าหรือเครื่องสำอางค์ครั้งเดียวซะอีกนะจ๊ะ
    4. ‘เรียนรู้เรื่อง DCA’ การลงทุนทุกแบบมีความเสี่ยงนะคะคุณผู้อ่าน ฉะนั้นอย่าลืมว่าสำหรับคนที่เริ่มต้นลงทุนให้ลงทุนแบบ DCA หรือ Dollar Cost Averaging ดีกว่า วิธีนี้คือการลงทุนแบบถัวเฉลี่ยทุกเดือนด้วยเงินจำนวนเท่าๆกัน เช่น เราอาจกำหนดว่าทุกวันที่ 1 หรือ 16 (จำง่ายๆว่าวันหวยออกนะจ๊ะ) เราต้องนำเงินไปลงทุนด้วยเงินจำนวน x,xxx บาท ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถลดความเสี่ยงจากความผันผวนในการลงทุนได้

  2. รู้ในสิ่งที่เราจะลงทุน
    เสาแห่งความรู้นี้พูดง่ายแต่ทำ ‘ยาก’ นั่นเพราะความชอบของแต่ละคนไม่เหมือนกัน อธิบายง่ายๆก็คือ ทุกคนลงทุนในสิ่งที่ไม่เหมือนกัน บางคนออมหุ้น บางคนซื้อกองทุน บางคนซื้อหวย (เอ่อ อันนี้นับมั้ยเอ่ย?) เพราะฉะนั้นความรู้ที่ใช้ในการลงทุนก็ย่อมแตกต่างกันออกไปด้วย!!! เช่น
    1. หากต้องการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล อย่าลืมว่านี่คือสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำสุด แต่ก็ให้ผลตอบแทนที่น้อยที่สุดเช่นกัน
    2. แต่หากใครเลือกลงทุนในหุ้น ก็จะได้ผลตอบแทนมากกว่าพันธบัตรอยู่แล้ว แต่ความเสี่ยงก็เพิ่มขึ้นตามลักษณะของธุรกิจที่เราถือหุ้นอยู่ด้วย นอกจากนี้ยังมีเรื่องการปันผลเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยซึ่งขึ้นอยู่กับผลประกอบการของแต่ละกิจการ แต่หุ้นนั้นมีข้อจำกัดคือต้องใช้ความเชี่ยวชาญและต้องใช้เงินในการลงทุนมากพอสมควร
    3. แต่ถ้าคุณผู้อ่านทั้งหลายอยากลงทุนในหุ้นแต่ไม่เชี่ยวชาญมากพอหรือเงินทุนยังไม่ถึง อีกทางเลือกสำหรับคุณก็คือ ‘กองทุนรวม’ ซึ่งช่วยให้คุณสามารถกระจายความเสี่ยงและลงทุนได้หลายๆตัวในเวลาเดียวกัน ข้อสำคัญคือ ไม่จำเป็นต้องลงทุนมากมาย!!! บางกองทุนใช้แค่ 1 บาทก็ซื้อขายได้แล้ว~~~

  3. รู้จักสร้างเส้นทางรายได้ให้หลากหลาย
    คนจำนวนไม่น้อยเชื่อว่า ‘คนยุคเจน Y มักขี้เกียจและไม่มีความอดทน’ แต่ความจริงแล้วคนยุคใหม่ให้ความใส่ใจกับงานที่ชอบมากกว่ารายได้และความก้าวหน้า แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเราจะมีอาชีพประจำไม่ได้!!! แต่เราปรับให้เข้ากับชีวิตของเราได้
    1. เปิดธุรกิจของตัวเองซะเลย!!! หากคุณเป็นคนนึที่ทำงานประจำ คุณสามารถเพิ่มรายได้ของตัวเองจากการการทำอาชีพเสริม และนำเงินที่ได้จากการทำอาชีพเสริมนนั้นมาลงทุนทุกๆเดือน เช่น หากมีงานประจำเป็นนักเขียน ก็อาจจะทำอาชีพรับรีวิวผลงานหรือสินค้าต่างๆลงบน Internet ก็เป็นอีกวิธี และเมื่อคุณมีเงินเก็บจากการลงทุนมากพอจำนวนนึงก็ลองเปิดธุรกิจเล็กๆที่คุณสนใจเลย เรียกว่าได้ทั้งทำสิ่งที่ชอบ และเป็นเจ้าของกิจการเองด้วย
    2. เปลี่ยนงานอดิเรกเป็นธุรกิจ แน่นอนว่าทุกคนย่อมมีงานอดิเรกที่ตัวเองชอบกันอยู่แล้ว ลองเปลี่ยนงานอดิเรกให้กลายเป็นสิ่งที่สร้างรายได้ให้กับเราดู เช่น หากคุณมีงานอดิเรกคือวาดรูปและเชี่ยวชาญมากพอ อาจจะรับวาดภาพประกอบให้กับหนังสือหรืองานต่างๆย่อมได้ อย่าลืมว่ากิจการที่จะประสบความสำเร็จเกิดจากการแก้ไขปัญหาให้กับลูกค้า หากคุณไม่รู้ว่าปัญหาคืออะไร ก็เริ่มต้นจากการลองถามคนรอบข้างดูก่อนก็เป็นวิธีที่ดีเหมือนกัน

    อย่าลืมว่าบทความด้านบนเองก็เป็นทฤษฎีด้านการเงินเท่านั้น สิ่งสำคัญที่สุดของการเงินไม่ใช่ ‘ความรู้’ แต่เป็น ‘การลงมือทำ’

นั่นเพราะแค่เราเริ่มต้นที่จะเปลี่ยนแปลงจากจุดเล็กๆก็สร้างความเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ได้

เช่น เพื่อนคุณอาจจะออมเงินได้เดือนละ 5,000 บาท แต่หากคุณเพิ่งเริ่มต้น คุณเองก็ไม่จำเป็นต้องเอาตัวเองไปเปรียบกับใคร แม้จะเริ่มต้นออมเดือนละ 1,000 บาท แต่หากออมทุกเดือนอย่างสม่ำเสมอก็ทำให้เราสามารถสร้างความมั่งคั่งในแบบของคุณผู้อ่านได้เช่นกัน