ปั้นเงินง่ายๆ  สไตล์ลูกจ้าง(ไม่ประจำ)

 

     นอนกลางวันช่วงสาย แล้วค่อยตื่นมาทำงานช่วงบ่าย หรือไปเที่ยวพักผ่อนไกลๆเพื่อตามหาแรงบันดาลใจหรือประสบการณ์ในแบบที่ไม่เหมือนใคร นี่เป็นแค่เพียงส่วนหนึ่งของชีวิตลูกจ้าง(ไม่ประจำ)เท่านั้น แต่หากคุณถามพวกเขาใหม่ พวกเขาก็จะบอกได้แค่ว่า วงการนี้มันโหดมาก หลายคนตื่นนอนตอนสายเพราะทำงานโต้รุ่ง หรืออดหลับอดนอนติดกันหลายวันเลยก็มี

     นั่นก็เพราะในความเป็นจริงแล้วการเป็นฟรีแลนซ์ นั่นคือการทำให้ทุกอย่างในชีวิตหมุนรอบสิ่งที่เรียกว่า ‘เงิน ในแบบที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลย ความกดดันข้อใหญ่ที่สุดของชาวฟรีแลนซ์ก์คือ การไม่มีรายได้ประจำ, ไม่มีบริษัทที่ช่วยคำนวณหรือหักภาษีเงินได้, ไม่มีเงินกองทุนสำหรับการเกษียณ หรือปัญหาข้อใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุดคือ รายได้ที่มีไม่พอกับค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน

     เหล่าฟรีแลนซ์หลายคนให้ความสนใจเฉพาะการหารายได้ แต่ไม่ให้ความสำคัญกับการตั้งงบการเงินให้กับตัวเอง ไม่ได้ตั้งเป้าหมายการใช้จ่าย และไม่คิดถึงเรื่องการเกษียณให้กับตัวเอง แต่ในชีวิตจริงการวางแผนการเงินมีความสำคัญเท่ากับการส่งงานให้ทันเดดไลน์ เพราะหากไม่ลำดับความสำคัญในการวางแผนการเงินแล้ว คุณก็ไม่สามารถหารายได้เพียงพอกับรายจ่าย นี่คือเหตุผลที่ทำให้เหล่าฟรีแลนซ์ต้องแบ่งความคิดมาให้กับเรื่องการเงินพอๆกับการใช้ความคิดในการทำงาน

     หากคุณเป็นฟรีแลนซ์ที่ต้องการสร้างความมั่นคงและมั่งคั่งให้กับตัวเอง ลองเริ่มต้นหนทางการสร้างเงินในแบบของคุณเองโดยอาศัยข้อแนะนำเหล่านี้ไปปรับใช้ให้เข้ากับชีวิตลูกจ้าง(ไม่ประจำ) ในแบบของคุณ

 

  1.       รู้ว่าตัวเองใช้จ่ายกับอะไรบ้าง

     สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับทุกคนไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างประจำหรือไม่ก็ตาม คือการใช้จ่ายให้น้อยกว่ารายได้ที่หามา ดังนั้นหัวใจของเคล็ดลับนี้คือ รู้ว่าตัวคุณเองใช้เงินซื้ออะไรบ้าง หากคุณไม่เคยทำมาก่อน ก็ลองเริ่มตั้งแต่ตอนนี้เลย!!! เริ่มต้นจากจดบันทึกรายรับ-จ่ายลงในอะไรก็ได้ที่คุณสามารถตรวจสอบได้ ไม่ว่าจะเป็นบันทึกรายรับ-จ่ายแบบสมุด หรือใช้ Application ก็ตาม จากนั้นช่วงสิ้นเดือนก็มาตรวจดูว่าเงินของคุณของไหลออกไปทางไหน โดยแบ่งออกเป็นหมวดหมู่รายจ่ายทั้งหมดเพื่อให้ง่ายต่อการตรวจเช็ค เช่น ค่าใช้จ่ายภายในบ้าน, ค่าเดินทาง, ค่าซื้อของเล็กๆน้อยๆ, ชำระหนี้, เงินออม, เงินสำหรับการเกษียณ และภาษี โดยใช้บันทึกควบคุมการใช้จ่ายเงินทั้งหมด จากนั้นก็ตรวจสอบรายได้ว่าครอบคลุมทั้งหมดหรือไม่ โดยแบ่งงบการเงินออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งเพื่อใช้จ่ายกับสิ่งที่คุณต้องจ่ายอยู่แล้ว และอีกส่วนเพื่อลงทุนให้กับตัวเอง

 

  1.       สร้างงบการเงินเพื่อการใช้จ่าย

     เมื่อเราจดบันทึกรายรับ-จ่ายแล้ว สิ่งที่ต้องทำต่อมาคือการตรวจสอบว่าเราใช้จ่ายไปกับอะไรบ้างย้อนหลังไปอย่างน้อย 3 เดือนและสร้างงบการเงินให้ชัดเจน เช่น หากเรามีรายได้ 30,000 บาท อาจกำหนดให้รายจ่ายจำเป็นทุกเดือนนั้นคือ 50% ของรายได้ทั้งหมดนั่นคือ 15,000 บาทเท่านั้น (แต่อย่าลืมคิดรายจ่ายพิเศษนั่นก็คือ ภาษี) และหากคำนวณรายได้ทั้งหมดแล้ว ไม่ครอบคลุมกับรายจ่ายส่วนอื่นๆ ก็มีวิธีแก้ไข 2 ทางคือหารายได้เพิ่มหรือลดรายจ่ายบางอย่างลง

 

  1.       สร้างงบการเงินที่เราคาดหวัง

     สิ่งหนึ่งที่ทำให้คุณสามารถอดทนกับการประหยัดค่าใช้จ่ายได้คือ การตั้งงบการเงินเพื่อทำตามฝัน แต่หากคุณเป็นฟรีแลนซ์ที่มีรายได้ไม่มาก, เป็นฟรีแลนซ์มือใหม่ หรือเพิ่งเสียลูกค้าไป ให้ทบทวนแผนการเงินของตัวเองว่ารายได้เพียงพอกับรายจ่ายเพียงพอรึเปล่า? มีเงินเหลือเก็บสำหรับออมและสำหรับการเกษียณรึยัง? หากยังไม่มี ลองเริ่มจากหักเงิน 20% ก่อน หรือหากต้องการวางแผนเที่ยวก็ต้องวางแผนการเงินส่วนอีกประมาณ 20% และอย่างสุดท้ายคือต้องแบ่งรายได้ส่วนหนึ่งสำหรับการเสียภาษี (ขึ้นอยู่กับรายได้ของแต่ละบุคคล) นั่นคือจะมีเงินเหลือสำหรับใช้จ่ายประมาณ 50% ของรายได้ทั้งหมด

 

  1.       ลองใช้กฎ 50-20-30 ดู

     สำหรับฟรีแลนซ์มือใหม่ให้ลองตั้งงบการเงินด้วยกฎ 50-20-30 โดยเริ่มจากการการนำรายได้ทั้งหมดมาหักจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีก่อน แล้วจึงแบ่งรายได้ออกเป็น 3 ส่วน ส่วนที่หนึ่งจำนวน 50% เป็นส่วนที่ต้องใช้จ่ายเพื่อการดำรงชีวิต เช่นค่าใช้จ่ายจำเป็นภายในบ้านเช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอินเทอร์เน็ต หรือค่าโทรศัพท์, ค่าเดินทาง, ค่าของใช้จำเป็น และสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งหมด รายได้ส่วนที่ 2 สำหรับเพื่อการออมระยะยาวจำนวน 20% โดยการนำเงินไปออมหรือลงทุนในกองทุนเพื่อการเกษียณ บางคนอาจนำเงินส่วนนี้ไปชำระหนี้ แต่ขอให้เน้นที่การออมเงินมากว่าการนำเงินไปชำระหนี้ทั้งหมด และส่วนสุดท้ายจำนวน 30% นั้นนำไปใช้จ่ายตามใจเช่น ไปเที่ยวเล่น, ช้อปปิ้ง, ท่องเที่ยว, ดูหนัง, เข้าฟิตเนส ซึ่งกฎนี้สามารถใช้ได้กับทุกคน

     คนที่มีรายจ่ายในชีวิตประจำวันไม่สูงมาก เช่น มีบ้านอยู่ใกล้ที่ทำงาน ทำให้ประหยัดเงินค่าเดินทางลงได้อีก จึงมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่า 50% ก็สามารปรับสัดส่วนเงินเป็น 40-25-35 หรือ 45-25-30 ตามความเหมาะสมก็ได้

     สำหรับคนที่อาศัยอยู่ในเมือง อาจมีภาระค่าใช้จ่ายพิเศษ เช่น ค่าเช่าบ้าน หรือพ่อแม่ที่ต้องจ่ายเงินสำหรับลูกๆ ก็สามารถปรับสัดส่วนเงินเป็น 60-20-20 และเมื่อลูกโตมากพอก็ค่อยปรับสัดส่วนมาเป็น 40-30-30 ก็ได้เช่นกัน

     ทุกกฎไม่ตายตัว เพียงแค่ลองหาสัดส่วนที่เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายและการดำเนินชีวิตของคุณเองก็ทำให้คุณอยู่ได้แบบสบายๆ และไม่มีหนี้สิน

 

  1.       กำหนดงบการเงินประจำสัปดาห์

     เมื่อคุณกำหนดรายจ่ายจำเป็นที่คุณต้องจ่ายในแต่ละเดือนแล้ว คุณสามารถนำเง&#x