สวัสดีครับทุกท่าน กลับมาพบกันอีกครั้งนะครับจากเมื่อครั้งก่อนผมได้พูดถึงการลงทุนทางประเทศตลาดเกิดใหม่หรือ Emerging Market (EM) เช่น อินเดีย จีน กันไปแล้ว ในคราวนี้เราจะมาดูการลงทุนในกลุ่มตลาดพัฒนาแล้ว Developed Market (DM) กันบ้างนะครับ ว่ามีอะไรที่น่าสนใจ ? แนวโน้มการลงทุนเป็นอย่างไร ? และจำเป็นหรือไม่ที่เราต้องลงทุนกับประเทศเหล่านี้กันครับ

ถึงแม้ว่าการลงทุนในกลุ่มตลาด  EM จะมีแนวโน้มที่ดีเพราะว่ายังมีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงมากเมื่อเทียบกับกลุ่มตลาด DM แต่นั่นเป็นเพราะว่าประเทศในกลุ่มตลาด DM นั้นมีการพัฒนาไปมากแล้ว ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศหรือด้านการลงทุนในรูปแบบต่างๆ จึงทำให้ตัวเลขการเจริญเติบโตด้านเศรษฐกิจอาจดูไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับกลุ่มตลาด EM แต่ท่านทราบมั้ยครับว่า กลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วนั้นมีประชากรที่มีกำลังซื้อสูงค่อนข้างมาก และประชากรเหล่านั้นยังมีความต้องการบริโภคสินค้าหรือบริการต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญในการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจของประเทศ

นอกจากนี้ สินทรัพย์ทางการเงินในกลุ่มตลาด DM ก็มีให้เลือกลงทุนหลากหลาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นตราสารที่ออกโดยบริษัทที่มีชื่อเสียงระดับโลกหรือเป็นบริษัทที่มีปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่ง สำหรับทางด้านนักลงทุนในตลาด DM ส่วนใหญ่เป็นผู้มีความรู้หรือมีประสบการณ์สูง หรืออาจจะเป็นนักลงทุนสถาบัน เช่น บริษัทประกัน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม จึงทำให้การตัดสินใจในเวลาที่ต้องการจะซื้อขายหุ้นนั้นมักจะคิดเยอะ (อย่างน้อยก็เยอะกว่าเม่าอย่างเราแหละครับ ฮาๆ) ทำให้ตลาดพวกนี้ไม่ขึ้นลงรุนแรง ไม่เหวี่ยงไปเหวี่ยงมาเหมือนนรถไฟเหาะอย่างตลาดบ้านเรา และผมเชื่อว่าด้วยความเสี่ยงที่ไม่มากเท่ากับกลุ่มประเทศเกิดใหม่ น่าจะทำให้ใครหลาย ๆ คนเริ่มจะอยากลงทุนในตลาดหุ้นของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วใช่ไหมครับ

แต่ก่อนที่เราจะไปเจาะลึกกัน เวลาที่เราจะเลือกลงทุนกับตลาดหุ้นในต่างประเทศนั้น ผมมักจะใช้หลักคิดง่าย ๆ 4 ข้อในการตัดสินใจลงทุนในแต่ละประเทศดังนี้ครับ

  1. มีพื้นฐานเศรษฐกิจที่ดี
  2. มูลค่าของตลาดหุ้นมีราคาถูกเมื่อเทียบกับแนวโน้มการเติบโตในอนาคต
  3. มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
  4. มีกระแสเงินไหลเข้า

 

เมื่อได้หลักการ 4 ข้อนี้แล้ว ผมจะขออาสาทำหน้าที่พาพวกเราไปเจาะลึกกันไปเลยเรามาดูกันซิว่า สหรัฐฯ และยุโรปนั้น น่าลงทุนจริง ๆ หรือไม่ ถ้าพร้อมแล้ว ว๊าปปปปปตามผมมาเลยคร๊าบบบบ

  1. สหรัฐฯ “ประเทศยักษ์ใหญ่ ผู้นำด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจของประเทศพื้นตัวเต็มที่”

สหรัฐฯ เป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ และมีขนาดการค้าการลงทุน รวมถึงขนาดเศรษฐกิจเองก็ใหญ่เป็นอันดับ 1 ของโลก โดยส่วนใหญ่เศรษฐกิจของสหรัฐฯ จะขึ้นอยู่กับการบริโภค และภาคบริการมากกว่าภาคการผลิตครับ และในปี 2559 ก็ดูเหมือนจะเป็นปีที่สดใสของเศรษฐกิจสหรัฐฯ เนื่องจากว่าตัวเลขเศรษฐกิจต่าง ๆ ที่ออกมานั้น ดูแล้วมีแนวโน้มที่ดี โดยประธานธนาคารกลางของสหรัฐฯ (Fed) หรือนาง เจเน็ต เยลเลน เองก็ได้แสดงความมั่นใจต่อเศรษฐกิจของสหรัฐฯ มากขึ้น โดยสหรัฐฯ เริ่มทำการปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น เพื่อลดประมาณ QE ลงครับ (QE : Quantitative Easing คือ มาตรการการผ่อนคลายการเงิน หรือที่เราเรียกว่าการพิมพ์แบงค์ออกมาเพื่อส่งเสริมสภาพคล่อง และกระตุ้นเศรษฐกิจ)

การปรับลด QE มีผลอย่างไรต่อเศรษฐกิจในช่วงถัดไป? แน่นอนว่าการที่สหรัฐฯ เริ่มที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นและลดปริมาณ QE ลงนั้นย่อมแน่ใจแล้วว่าเศรษฐกิจของประเทศตนนั้นได้ฟื้นคืนและไม่จำเป็นต้องพึงพามาตรการ QE อีกต่อไปซึ่งการดำเนินการดังกล่าวนี้คาดการณ์ว่าจะมีเงินทุนไหลกลับเข้าสู่สหรัฐฯ ทั้งในส่วนของตลาดตราสารหนี้ รวมถึงตลาดหุ้นด้วย และอาจส่งผลให้ในระยะแรกตลาดหุ้นในกลุ่มประเทศอื่นๆ ทั้งในตลาดพัฒนาแล้ว หรือตลาดเกิดใหม่เกิดการผันผวนตามไปด้วยบ้าง ซึ่งการผันผวนนี้อาจจะใช้เวลาสักพักกว่าจะกลับเข้าสู่ความสมดุลของตลาดแบบที่ควรจะเป็น ดังนั้น ก็อาจเป็นประโยชน์ต่อผู้ลงทุนอีกทางในการจับจังหวะเพื่อเข้าลงทุนกันนะครับ

อีกประเด็นที่น่าสนใจก็คือ พวกบริษัทที่มีชื่อเสียงระดับโลก และมีผลประกอบการที่แข็งแกร่งหลายๆ บริษัทนั้น ส่วนใหญ่ก็เป็นบริษัทที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐ​ฯ ด้วยกันทั้งนั้น เช่น Google, Facebook, Amazon, Pfizer ดังนั้นการลงทุนในระยะยาวๆแล้ว ตลาดสหรัฐฯ ก็ยังน่าสนใจครับ แต่อาจต้องเลือกหุ้นให้ถูกกลุ่ม ถูกตัวด้วยนะครับ

มาถึงตรงนี้ถ้าหากพิจารณาจากหลัก 4 ข้อที่ผมได้ให้ไว้แล้วล่ะก็ ตลาดสหรัฐฯ นั้น ถือว่ามีเกือบครบครับ คือเศรษฐกิจเริ่มกลับมาดี ทำให้มูลค่าหุ้นในตลาดเริ่มแพงแต่ถึงเป็นแบบนั้นก็ยังมีแนวโน้มการเติบโตได้อีกในระยะยาว ส่วนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มจะเริ่มลดลง (ลดQEลง) ซึ่งส่งผลให้เริ่มจะมีกระแสเงินไหลกลับเข้าบ้างแล้ว ดังนั้นผม มองว่ายังน่าลงทุนครับ แต่ยังต้องอาศัยระยะเวลาการลงทุนเพิ่มขึ้นอีกสักหน่อย ก็ต้องรอลุ้นกันสักนิดนะครับ

คราวนี้เรามาดูในฝั่งของยุโรปกันบ้างครับ

  1. ยุโรป “เศรษฐกิจฟื้นตัวดี มี QE ช่วยส่งเสริม หุ้นราคาไม่แพง”

ในช่วงหลังๆ มานี้ ผมมองว่ายุโรปยังคงเป็นกลุ่มประเทศที่น่าสนใจครับ เนื่องจากวิกฤตทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นได้ผ่านพ้นไปแล้ว และขณะนี้ประเทศต่างๆ ในกลุ่มยูโรโซนก็อยู่ระหว่างการปรับตัวขึ้นอย่างช้าๆ โดยตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมานั้นได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการปรับตัวขึ้นของการใช้จ่ายภาคครัวเรือนและภาคการผลิต นอกจากนี้ตัวเลขอัตราการว่างงานที่เคยสูงถึง 12.10% ในช่วงปี 2013 ก็ยังมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ อีกด้วยครับ 
(source : www.tradingeconomics.com)

สำหรับเศรษฐกิจยุโรปในระยะยาวผมมองว่าอาจจะค่อยเป็นค่อยไปเนื่องจากปัจจัยหลายๆด้านที่ยังส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยุโรป ทั้งปัญหาด้านเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว หรือปัญหาด้านการเมืองซึ่งอาจส่งผลให้ตลาดเกิดความผันผวนอยู่บ้าง ทั้งนี้ในส่วนธนาคารกลางยุโรปเองก็พร้อมที่จะออกมาตรการต่างๆ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น การออกนโยบายการคงอัตราดอกเบี้ย หรือการคงมาตร