สวัสดีครับทุกคน ผมกัปตันแมนูไลฟ์ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการลงทุนต่างประเทศครับ... เป็นอย่างไรกันบ้างกับการลงทุนในกองทุนรวมช่วงนี้ ผมเชื่อว่า ถ้าใครติดตามข่าวสารการลงทุนอยู่บ่อย ๆ ละก็คงจะทราบดีว่า ช่วงนี้การลงทุนในบ้านเรานั้น ดูงง ๆ มึน ๆ อยู่ไม่น้อย ตลาดหุ้นเดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย ทำร้ายจิตใจกันแทบทุกวัน

เนื่องจากหลายสาเหตุที่ทำให้ตลาดหุ้นไทยผันผวนแบบนี้ แต่หลัก ๆ ก็คงเป็นภาพรวมเศรษฐกิจไทยที่ยังคลุมเครือว่าจะไปทางไหน

ดังนั้น ระหว่างที่เรารอความชัดเจนจากเศรษฐกิจที่ยังฝุ่นตลบแบบนี้ ผมแนะนำว่าให้เราลองมองไปยังต่างประเทศบ้างก็น่าสนใจนะครับ เพื่อหาโอกาสการลงทุนในการเพิ่มผลตอบแทน หรือจะลองกระจายความเสี่ยงเพื่อให้พอร์ตการลงทุนของเราไม่ได้ผันผวนมากไปตามเศรษฐกิจไทยที่เป็นอยู่ในขณะนี้

โดยในช่วงที่ผ่านมา การลงทุนในกองทุนต่างประเทศ หรือ FIF( Foreign Investment Fund) เองก็เป็นที่นิยมมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด การเติบโตของสินทรัพย์กองทุนแบบ FIF นั้น มีการเติบโตขึ้นทุก ๆ ปี แสดงว่าคนไทยเองก็เริ่มที่จะลงทุนกับ FIF กันมากขึ้นนั่นเอง และตอนนี้ก็มีสัดส่วนสินทรัพย์ของ FIF ประมาณ 22%* ของกองทุนทั้งหมดในประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นสัดส่วนที่ใหญ่พอสมควร

(*ที่มา: สมาคมบริษัทจัดการลงทุน หรือ AIMC )

แต่ก่อนจะไปลงทุนยังต่างประเทศ เรามาดูภาพรวมเศรษฐกิจโดยรวมของโลกใบนี้กันก่อนดีกว่าว่าที่ไหนน่าลงทุนกันบ้าง ดีหรือไม่ดีอย่างไร จะได้ทราบว่าจะรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นไหวหรือไม่ และไม่ต้องหนีเสือปะจระเข้ คือแทนที่จะได้กำไรจากการลงทุน กลายเป็นว่าขาดทุนหนักกว่าเดิมก็ไม่ไหว ใช่ไหมครับ

ก่อนอื่นเรามารู้จักความแตกต่างของตลาดหุ้นต่างประเทศในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว (Developed Market : DM) กับ กลุ่มประเทศระบบเศรษฐกิจของตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market : EM) กันครับ ว่าแต่ละกลุ่มนั้นมีข้อดี ข้อเสียอย่างไร และแบบไหนที่น่าลงทุนในช่วงนี้ครับ

Edit manulife2 (1)

Emerging markets (EM) คือกลุ่มประเทศที่มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีอัตราการขยายตัวอย่างรวดเร็ว แน่นอนครับว่ามีเป้าหมายที่จะพัฒนาเศรษฐกิจให้ใหญ่ขึ้น เพิ่มรายได้ต่อหัว เพื่อให้มีความเจริญก้าวหน้า ให้ทัดเทียมกับตลาดในกลุ่มที่พัฒนาแล้ว

โดยทั่วไปมีการแบ่งกลุ่มตลาดเกิดใหม่ออกเป็น 4 กลุ่มตามภูมิภาค คือ

  1. ตลาดเกิดใหม่ในเอเชีย เช่น จีน อินเดีย ไทย เกาหลีใต้ ไต้หวัน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เป็นต้น
  2. ตลาดเกิดใหม่ในยุโรปตะวันออก เช่น สาธารณรัฐเชก ฮังการี โปแลนด์ รัสเซีย ตุรกี
  3. ตลาดเกิดใหม่ในละตินอเมริกา เช่น บราซิล ชิลี อาร์เจนตินา เม็กซิโก โคลัมเบีย เปรู เวเนซูเอลา
  4. ตลาดเกิดใหม่ในตะวันออกกลาง/แอฟริกา เช่น อิสราเอล จอร์แดน โมร็อคโค อียิปต์ ไนจีเรีย ลิเบีย แอฟริกาใต้

ทั้งนี้ ในกลุ่มประเทศ EM เองก็มีการรวมตัวกันเพื่อประโยชน์ทางการค้าและสร้างอำนาจการต่อรองได้มากขึ้น ได้แก่ กลุ่ม BRICS เป็นอักษรย่อใช้เรียกชื่อกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วอันประกอบด้วย บราซิล (Brazil) รัสเซีย (Russia) อินเดีย (India) จีน (China) และแอฟริกาใต้ (South Africa) โดยสี่ประเทศแรกมีพื้นที่รวมกันก็มากกว่าหนึ่งในสี่ของโลกแล้วครับ เท่ากับว่ามีจำนวนประชากรรวมกันมากกว่า 40% ของประชากรโลก (ร้องว้าวกันเลยทีเดียวมั้ยละครับ)

ซึ่งจุดที่น่าสนใจ รวมถึงข้อดีของการลงทุนในตลาด EM คือ

1. ตลาดมีศักยภาพในการเติบโตสูง ถ้านึกภาพไม่ออก มองภาพไม่ชัดลองดูที่ เกาหลีใต้ก็ได้ครับ ลองคิดถึงเมื่อ 10-20 ปีที่แล้วสิครับ ที่คนเกาหลียังต้องเดินทางมาดูงานในประเทศไทย แล้วลองเทียบกับในปัจจุบันดู จะเห็นว่ามีการพัฒนาไปมากกว่าแต่ก่อนเยอะ เช่นมีการเปลี่ยนแปลงประเทศให้ผลิตสินค้าส่งออก เช่น แผงวงจรต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งผลิตและขาย smart phone ตีตลาดสู้กับ Iphone ได้อย่างไม่น้อยหน้าเลยทีเดียว ส่วนตลาดหุ้นในภูมิภาคนี้ก็น่าสนใจสำหรับนักลงทุนด้วย เช่น ตลาดหุ้นไทยเองก็ทำผลตอบแทนได้ดีเป็นอันดับต้น ๆ ของโลกเลยนะครับ

2. โครงสร้างประชากรยังเป็นคนหนุ่มสาวมากกว่าตลาดในกลุ่ม DM ทำให้เป็นฐานการผลิตสินค้าต่าง ๆ และมีแรงงานค่อนข้างถูก ส่งผลให้เกิดการลงทุนทางตรงมากกว่าตลาด DM ที่มีค่าแรงสูงรวมทั้งมีแนวโน้มการบริโภคที่สูง เช่น จีน และอินเดีย เป็นต้น

3. ประเทศในกลุ่มเอเชียหลายๆ ประเทศ เช่น จีน อินเดีย เกาหลี ฯลฯ หรือแม้กระทั่งไทยเองก็มีโครงการที่จะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานที่ว่านั้นมีความสำคัญต่อการรองรับการเติบโตของเศรษฐกิจในอนาคตมาก ๆ เลยครับ

พูดถึงข้อดีแล้ว ข้อเสียก็มีเช่นกันครับ ได้แก่

1. ความผันผวนของตลาดหุ้น และการลงทุนมีค่อนข้างสูงครับ เพราะว่าพึ่งพาการลงทุนจากต่างประเทศ ถ้าหากมีการบริหารเงินในประเทศไม่ดี เวลามี Fund Flow เข้าหรือออกมาก ๆ อาจจะทำให้เกิดปัญหาได้เยอะเลยครับ

2. นอกจากนี้ ความมั่นคงของภาคการเงิน และนโยบายตลาดทุนเองก็สำคัญ ซึ่ง EM จะมีความผันผวนมากกว่า เพราะตลาดยังมีการพัฒนาสินค้าทางการเงินที่ไม่หลากหลายเมื่อเทียบกับ DM ทำให้มีเครื่องมือเพื่อใช้ในการป้องกันความเสี่ยงได้จำกัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของค่าเงิน

แต่ถ้าพูดถึงการลงทุนในช่วงนี้ กลุ่มที่มีการเติบโตสูงสุดก็ยังคงเป็น EM โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียครับ นักธุรกิจและนักลงทุนบางคนถึงกับบอกว่า อนาคตของโลกนี้คือ “เอเชีย”

จากข้อมูลที่ผมเล่ามาในตอนต้น ๆ ดูเหมือนตลาด EM นั้นจะน่าสนใจไม่ใช่น้อย แต่ตลาดในกลุ่ม DM ก็เป็นอีกตลาดหนึ่งที่ไม่น่ามองข้ามไปเช่นกัน คราวนี้ เรามาลองดูตลาด DM กันครับว่ามีความแตกต่างจากตลาด EM อย่างไรกันบ้าง

ตลาดในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือ Developed Market (DM)  เรียกว่า เป็นตลาดคนละขั้วกับ EM เลยก็ว่าได้ครับ เนื่องจาก