หนึ่งในคำถามที่เราไม่เคยย้อนคิดหรือถามตัวเองเลย นั่นคือ “ถ้าแก่ตัวไป เราควรจะมีเงินใช้ในยามเกษียณเท่าไหร่” เพราะหลายคนมองว่าเรื่องเกษียณเป็นเรื่องที่ไกลตัว บ้างก็คิดว่า การวางแผนเพื่อเกษียณนั้นไม่ใช่เรื่องจำเป็น แค่มีเงินใช้ในแต่ละเดือนก็พอแล้ว แต่ถ้าลองเปลี่ยนคำถามใหม่ว่า “ถ้าคุณอายุ 60 แล้วไม่มีเงินสำหรับใช้ในวัยเกษียณเลย…ชีวิตคุณตอนนั้นจะเป็นอย่างไร”ตั้งคำถามแบบนี้ เริ่มน่าสนใจแล้วใช่ไหมครับ

ผมเคยลองมานั่งนึกๆ ดูนะครับว่า ถ้าคิดง่ายๆ แบบเร็วๆ เลยนะ ว่าถ้าผมอายุ 60 และอยากมีชีวิตอยู่ให้ถึงสัก 90 ปี หมายความว่า เราจะมีชีวิตอยู่อีก 30 ปี คิดง่ายๆ คือ 360 เดือน ถ้าเราต้องการมีเงินใช้เดือนละ 30,000 บาท นั่นหมายความว่าเราจะต้องมีเงินเก็บประมาณ 10.8 ล้านบาท เพื่อให้ดำรงชีวิตอยู่อย่างไม่เดือดร้อนลูกหลาน ฟังแล้วรู้เลยว่า “การไม่วางแผนเกษียณ” เป็นเรื่องน่าสยองขึ้นในทีเดียว แต่มีสิ่งที่สยองกว่านั้นอีกครับ นั่นคือ เหตุการณ์ฉุกเฉินสารพัดที่สามารถเกิดขึ้นกับเราได้อย่างไม่ทันรับมือ เช่น อุบัติเหตุ เจ็บป่วยเป็นโรคร้าย หรือต้องใช้เงินฉุกเฉิน ค่ารักษาพยาบาลและการดูแลสุขภาพต่างๆ ที่พอเห็นราคาแล้วตกใจมาก 

แต่ถ้าเราไม่อยากมีชีวิตแบบนั้น แสดงว่าเราควรให้ความสำคัญใน 2 เรื่องเพื่อให้เกษียณอย่างมีความสุข นั่นคือ

  1. จะทำอย่างไรให้มีเงินใช้ในยามเกษียณอย่างไม่ลำบากจากการวางแผนการเงินที่ดี
  2. จะทำอย่างไรให้มีสุขภาพที่ดีจะได้ไม่ต้องใช้เงินเก็บในบั้นปลายชีวิต ไปกับการรักษาพยาบาลจนหมดตัว

ถ้าเป็นคุณ คุณจะเลือกข้อไหนครับ?

แน่นอนว่า ข้อที่ 2 จะทำอย่างไรให้มีสุขภาพที่ดีนั้น ไม่มีใครรับประกัน “ความเสี่ยง” ที่เกิดขึ้นในชีวิตเราได้ เพราะแม้เราจะดูแลรักษาสุขภาพอย่างดีเยี่ยมเช่นไร ก็ไม่สามารถรับประกันว่าจะไม่เกิดอุบัติเหตุหรือเหตุฉุกเฉินในชีวิตได้

แล้วถ้าเป็นข้อ 1 “จะทำอย่างไรให้มีเงินใช้ในยามเกษียณอย่างไม่ลำบากจากการวางแผนการเงินที่ดี” ลองมาดูกันนะครับ

ลงทุนในวัยเกษียณทำได้อย่างไร?

การสร้างพอร์ตการลงทุนในวัยเกษียณนั้นก็สามารถทำได้  แต่เพราะความเสี่ยงของคนในวัยนี้สูงกว่าวัยอื่นๆ และอาจจะไม่ได้หารายได้เป็นถุงเป็นถังเหมือนคนหนุ่มสาวเท่าไหร่  ผมจึงมักแนะนำให้จัดพอร์ตการลงทุนให้ความเสี่ยงต่ำที่สุด โดยแค่มีเงินบำนาญก็สามารถนำเงินมาลงทุนได้เหมือนตอนที่ยังมีเงินเดือนอยู่ หรือหากถ้ามีเงินก้อนก็อาจจะจัดสรรให้ทยอยลงทุนเป็นรายเดือนตามจำนวนที่มีก็ได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น

การแบ่งเงิน 3 ส่วน เพื่อความสุขในวัยเกษียณ

  • เงินส่วนแรก : ค่าใช้จ่ายส่วนตัว 50%  เงินส่วนนี้ใช้ในการดำรงชีวิต จับจ่ายซื้ออาหารการกินเพื่อสุขภาพที่ดี ไปจนถึงการสร้างความสุขให้กับชีวิตเช่น การไปพักผ่อนในที่ๆ อยากไปไม่ว่าในหรือต่างประเทศ รวมถึงมอบความรู้สึกดีๆให้กับลูกหลานและสังคมแห่งการให้
  • เงินส่วนที่ 2 : นำไปลงทุนในหุ้นหรือกองทุนรวม 10% - 20% การลงทุนไม่ได้จำกัดเฉพาะในวัยหนุ่มสาวเท่านั้น คนอายุมากก็ลงทุนได้ แต่โดยส่วนตัวผมจะแนะนำให้จัดพอร์ตการลงทุนในทรัพย์สินที่มีความเสี่ยงไม่สูงนะครับ เลือกหุ้นพื้นฐานดีซึ่งจะทำให้ความเสี่ยงต่ำกว่าหุ้นทั่วไปในตลาดหรือกองทุนรวมดีๆ ภายใต้งบประมาณที่กำหนดไว้ก็ทำให้คนในวัยเกษียณมีความมั่งคั่งเพิ่มอีกได้
  • เงินส่วนที่ 3 : เงินสำรองไว้เผื่อฉุกเฉินและเผื่อค่ารักษาพยาบาล 30% - 40% เราไม่รู้หรอกว่าชีวิตของเราจะพบกับความเสี่ยงอย่างไรบ้าง บางครั้งอาจจะเกิดอุบัติเหตุโดยไม่คาดฝัน ซึ่งเราจะต้องใช้เงินในการรักษาพยาบาล แต่หลายๆ คนก็อาจจะนำเงินส่วนนี้ไปป้องกันความเสี่ยงด้วยการทำประกันชีวิตแทน เพราะประกันชีวิตเองก็ถือเป็นการออมที่คุ้มครองในเรื่องสุขภาพและอุบัติเหตุไปในตัวด้วย ผมเรียกวิธีการนี้ว่า “เปลี่ยนค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพเป็นเงินออม” ซึ่งก็เป็นทางเลือกที่ประกัน “ความเสี่ยง” ได้เช่นเดียวกัน

เลือกทำประกันชีวิตสูงวัยมีแต่ได้ไม่มีเสีย

ในปัจจุบันผู้สูงอายุก็สามารถทำประกันชีวิตและประกันอุบัติเหตุได้นะครับ ผมจะขอยกตัวอย่างของกรุงไทย แอกซ่า ที่ให้คุณเริ่มวางแผนเกษียณตั้งแต่เนิ่นๆ  โดยเริ่มวางแผนในขณะที่ยังมีรายได้อยู่ในช่วงอายุ 50-60 ปี ซึ่งทางบริษัทเขาให้ชำระเบี้ยประกันได้ที่ 5 ปี และ 10 ปี เป็นการจ่ายเบี้ยระยะสั้นกับโครงการ iBegin 90/5 และ 90/10 ซึ่งจะไปเน้นในเรื่องของความคุ้มครองกรณีเสียชีวิต และผลประโยชน์เงินก้อนและค่าชดเชยรายได้เนื่องจากอุบัติเหตุและโรคมะเร็ง  เหมาะสำหรับผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงในเรื่องของโรคมะเร็งเป็นอย่างยิ่ง และสุดท้ายก็จะคืนเป็นเงินออมให้ถึง 150% ของทุนหรือเบี้ยรวมทั้งหมดที่ชำระมา โดยไม่คำนึงว่าผู้เอาประกันเคลมไปเท่าไหร่ด้วยนะครับ

สนใจติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ ที่นี่

เห็นไหมครับว่าเรื่องการเงินของคนสูงวัยเป็นเรื่องที่ไม่ยากเลย ถ้าผมจะสรุปง่ายๆ เป็นโมเดลทางการเงิน ไม่ว่าเราจะมีเงินก้อนหรือเงินบำนาญก็ตาม หากเราแบ่งใช้เป็นรายเดือนได้ โดยปกติแล้วคนสูงอายุจะมีหลายจ่ายหลักๆ คือรายจ่ายส่วนตัวและรายจ่ายสุขภาพ ซึ่งรายจ่ายด้านสุขภาพเราอาจจะเปลี่ยนมาเป็นเรื่องการออมเงินผ่านประกันชีวิตและประกันอุบัติเหตุแทน ซึ่งพอท้ายสุดนอกจากความคุ้มครองที่จะได้รับแล้วยังสามารถนำมาเป็นเงินออมหลังจากจบสัญญาประกันด้วยนะครับ เงินอีกส่วนหนึ่งก็นำมาจัดพอร์ตการลงทุนความเสี่ยงต่ำเพื่อเพิ่มความมั่งคั่งอีกส่วนหนึ่งไว้ส่งต่อให้ลูกหลานและสังคมได้ครับ

บทความนี้เป็นบทความ Advertorial