สภาพสังคมสมัยก่อนเป็นยังไง?

เดี๋ยวนี้จะสังเกตว่าหลายๆครอบครัวมักจะมีลูกกันแค่ 1หรือ 2 คน ก็เต็มที่ละ ซึ่งมาจากสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป ครอบครัวเป็นครอบครัวเดี่ยว ซึ่งสมัยก่อนสังคมไทยมักจะมีลูกหลานเยอะ เพราะ ส่วนใหญ่ทำอาชีพเกษตรกรรมอยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่ มีหลายรุ่นอยู่ในครอบครัวเดียวกัน ตั้งแต่ปู่ย่าตายายพี่น้องลูกหลาน พอมีลูกน้อยๆ ก็ช่วยกันเลี้ยง ค่ากินอยู่ก็ไม่เยอะ เพราะหาง่าย ทำกินเอง แล้วเวลาเรียนก็เรียนโรงเรียนแถวบ้าน ไม่ต้องเดินทางไกล ค่าเทอมก็ไม่แพง ดังนั้น ค่านิยมการมีลูกเยอะในสมัยก่อนจึง ไม่มีปัญหาทั้งด้านการเงิน และการมีคนช่วยเลี้ยงดู

แต่วันนี้สังคมเปลี่ยนไป ทั้งด้านการศึกษา เพราะ หลายๆครอบครัว ก็มักจะส่งเสียลูกให้มาเรียนในกรุงเทพฯบ้าง หรือเมืองใหญ่ๆบ้าง เพื่อหวังจะมีโอกาสหางานดีๆทำในอนาคต ซึ่งก็ทำให้ค่าเทอมก็สูงขึ้น ค่ากินอยู่ก็สูงขึ้น สังคมก็จะเป็นสังคมที่แข่งกันหาโอกาสมากขึ้น ใครมีการศึกษาดี ก็จะหางานง่าย แน่นอนว่าต้นทุนของแต่ละคนก็สูงไปด้วย

และความเท่าเทียมในการทำงานของทั้งชายและหญิง เริ่มไม่แตกต่างแล้ว เห็นได้จากผู้นำในหลายๆองค์กรชั้นนำของประเทศ เป็นผู้หญิงก็มีอยู่มากมายครับ

เอาละครับ แบบนี้ทำไมปัจจุบันคนถึงมีลูกกันน้อยล่ะ?
ก็เพราะคนยุคนี้มักจะเรียนกันสูงๆ เพื่อโอกาสดีๆในอนาคต ก็มักจะแต่งงานช้าลง ประกอบกับค่าเล่าเรียนลูกก็เริ่มที่จะสูงขึ้นเรื่อยๆ เดี๋ยวนี้มีทั้ง 2 ภาษา ก็ยิ่งแพงขึ้นไปอีก

และพอสังคมเราตอนนี้เป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น คือพอแต่งงานก็แยกบ้านออกมาอยู่ต่างหาก แยกจากครอบครัวเดิม กลายเป็นอยู่กันเป็นพ่อแม่ลูก ดังนั้นการจะหาคนมาช่วยเลี้ยงก็เลยเป็นปัญหานึงเลยทีเดียว จะมีลูกหลายคน ก็ไม่รู้จะจ้างใครช่วยเลี้ยง

สรุปแล้ว ยิ่งมีลูกเยอะ ก็ยิ่งมีค่าใช้จ่ายเยอะขึ้น เดี๋ยวนี้จะส่งลูกเรียนจบคนนึง หลายล้านเลยครับ

(คลิกเข้าไปอ่านบทความและข้อมูลแบบชัดๆเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ)

ซึ่งจากตารางเห็นว่า แค่จะส่งเสียลูกคนนึงจบปริญญาโท (เดี๋ยวนี้ปริญญาตรี ไม่พอแล้ว) เอาแค่ประหยัด ก็เป็นล้านแล้วครับ เฮ่อ เห็นแล้ว เห็นใจคนเป็นพ่อเป็นแม่สมัยใหม่จริงๆ

แม้ว่าค่าเล่าเรียนลูกนั้นก็ดูเยอะแล้ว แต่อีกเป้าหมายที่สำคัญไม่แพ้กันของตัวคุณพ่อคุณแม่เอง ซึ่งจากตาราง เอาแค่มีใช้เดือนละ 20,000 บาท หลังเกษียณอายุ55 ปี (ตัวอย่างสมมุติตอนนี้อายุ 35ปี ) ต้องมีกองทุนเกษียณ ถึง 13 ล้านบาท เลยครับ

ถ้าจะออมเงินเพื่อเกษียณโดยใช้สินค้าการเงินที่ผลตอบแทนเฉลี่ย 8% ต่อปี  ต้องออมให้ได้เดือนละ 22,000 บาท ติดต่อกัน 20 ปี  ถึงจะได้เงินกองทุนเกษียณ 13 ล้านบาท

แล้วถ้าจะออมเงินเดือนละ 22,000 บาท ต่อเดือน นี่ต้องมีรายได้เท่าไหร่ล่ะ ไหนจะต้องเก็บเงินให้ลูกเรียนอีก

ค่าเล่าเรียนลูกก็สำคัญ แต่เงินเกษียณของตัวเอง(คนเป็นพ่อเป็นแม่) ไม่มีใครช่วยเราได้นะ จะบอกให้

แม้ว่าเรื่องค่าเล่าเรียนลูกเป็นเรื่องที่สำคัญแต่ ค่าเล่าเรียนลูกยังพอมีทางออก เช่น การกู้ยืมจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา(กยศ) ซึ่ง เป็นการให้โอกาสนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ โดย สามารถให้กู้ยืมได้ตั้งแต่ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จนถึงปริญญาตรี  รวมไปถึงเรายังสามารถปลูกฝังให้เด็กๆ ยังรู้ถึงคุณค่าของเงิน รวมไปถึงการหารายได้พิเศษระหว่างการเรียนได้

แต่เรื่องเป้าหมายการเกษียณอายุนั้น ไม่ว่าจะเป็นเท่าไหร่ ใครจะช่วยรับผิดชอบล่ะ ถ้าไม่ใช่ตัวเรา และคงไม่มีกองทุนกู้ยืมเพื่อการเกษียณเหมือนการศึกษา จริงมั้ยครับ และนั่นคือสิ่งที่สำคัญมากๆ ถ้าเราไม่เตรียมการอย่างดีพอ

ดังนั้นสุดท้ายนี้ผมอยากจะบอกว่า

"กองทุนเกษียณของท่านไม่มีขาย ไม่มีใครให้คุณยืมหรอก อยากได้ อยากมีต้องทำเอง ต้องหาเอง เท่านั้นครับ" 

แต่ถ้าท่านยังเตรียมได้ไม่มากพอ ก็อาจจะต้องสวดมนต์ขอให้ลูกเป็นคนกตัญญู เลี้ยงดูพ่อแม่ยามเกษียณด้วยเถอะ

อ่าวแล้วถ้าเราไม่มีลูกล่ะ ท่านก็คงต้องพึ่งตัวเองแล้วล่ะ

*** มุ่งให้คนไทยทุกๆคนมีสุขภาพการเงินที่ดี***

by สุรกิจ พิทักษ์ภากร
นักวางแผนการเงิน CFP
CEO บริษัท เวลท์แพลนเนอร์ จำกัด
#wealthplanner

ติดตามบทความทางการเงินอื่นๆได้ที่ www.surakit.com