วันนี้ก็อยากมาย้ำในหัวข้อนี้อีกทีว่า

"รู้เป้าหมายการเงินก่อนค่อยเลือกสินค้าการเงิน หรือ เลือกสินค้าการเงินก่อนค่อยมารู้เป้าหมายการเงิน"

คำตอบที่ควรเป็น ก็ควรเป็นอย่างแรก คือ รู้เป้าหมายก่อนว่าต้องการเท่าไหร่ ถึงจะหาสินค้าการเงินที่จะไปออมหรือลงทุน

ก็คล้ายๆกับ การเดินทาง เช่น เราต้องรู้เป้าหมายก่อนว่าจะไปที่ไหน อยากถึงเมื่อไหร่ ค่อยหาวิธีการว่าจะไปอย่างไร

เช่น คุณมีเป้าหมายจะไปเที่ยวที่ภูเก็ต ภายใน 2 ชม แน่นอนว่า วิธีการไป ก็คงต้องไปด้วยเครื่องบิน หรือ ถ้ามีเวลา 1 วันในการเดินทางอาจไม่ใช้เครื่องบิน แต่ไปด้วยรถยนต์ รถไฟ หรือ บขส ก็ได้

ดังนั้น สำคัญคือ เราต้องรู้เป้าหมายก่อนเสมอว่าจะไปที่ไหน แล้วค่อยหาวิธีการกันไปอย่างไร ก็คงไม่ต่างจากเรื่องการวางแผนการเงิน โดยเฉพาะเรื่อง Wealth Accumulation หรือ Wealth Creation (การเพิ่มพูนความมั่งคั้ง)

เราต้องรู้ก่อนว่า เราต้องการเกษียณอายุเท่าไหร่ และ ต้องมีเงินเท่าไหร่แน่ๆ จึงจะหาสินค้าการเงินที่เหมาะสม
แต่ส่วนใหญ่ ที่พบบ่อยคือ การเลือกสินค้าการเงินก่อนว่าจะออมอะไร หรือ ลงทุนอะไรดี ทั้งๆที่ไม่เคยรู้เลยว่า จริงๆแล้วตอนเกษียณเราต้องมีเงินเท่าไหร่ เช่น มีคนมาชวนลงทุน เล่นหุ้นก็ลง ทั้งๆที่ก็ไม่รู้ว่าต้องลงกี่ปี จะต้องการผลตอบแทนไปถึงที่เท่าไหร่ ส่วนใหญ่มักจะบอกว่า การเล่นหุ้นมันมีผลตอบแทนสูง มีโอกาสรวยเร็ว ดีกว่าฝากธนาคาร

แน่ครับว่า การลงทุนในหุ้นมีโอกาสกำไรสูงกว่าธนาคาร แต่ก็มีโอกาสขาดทุนมากกว่าการออมกับธนาคารเช่นกัน และที่สำคัญมันค่อนข้างจะการันตีผลตอบแทนได้ยากในวันที่ต้องการเกษียณ

ซึ่ง สมมุติว่า ถ้าต้องการเงินเกษียณตอนอายุ 55 ปี สัก 20 ล้าน ก็คงไม่สามารถ commitment ได้ซึ่งหากเราไม่มีความชำนาญในการลงทุนในหุ้น ก็อาจจะล้มเหลวได้ตอนอายุใกล้ๆเกษียณ

หรือบางคนก็ชอบซื้อแบบประกันสะสมทรัพย์แบบสั้นๆ เช่นออม 5-6 ปี และก็ได้เงินคืนตอนปีที่ 10-15 ปี เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่ซื้อเพราะมันสั้นดี และหักภาษีได้ แค่นั้น ซึ่งหากอายุยังไม่เยอะ เช่น อายุเพิ่ง 30 ปี บางครั้งเงินที่ได้คืนจากกรมธรรม์ก็ยังเป็นช่วงอายุ ที่ยังไม่เกษียณเลย เช่นพออายุ 45 ปี ก็ครบสัญญาได้เงินคืนละ

หรือหลายๆคนก็ใช้บริการกองทุนรวมซึ่งก็มีกองทุนหลายประเภททั้งแบบตราสารหนี้ หรือตราสารทุน ซึ่งต้องพิจารณาความเสี่ยงจากการลงทุนด้วย ซึ่ง เราก็ต้องมีความเสี่ยงจากการเอาไปลงทุนต่อไปเพื่อให้เงินออกมาตอนเกษียณอายุ 55 ปี เป็นต้น

ซึ่งหาก ระหว่างอายุ 45 ปี ถึง 55 ปี เกิดเราไปลงทุนผิดพลาด ก็แสดงว่า เป้าหมายเกษียณที่ต้องการอาจไม่เป็นไปตามที่ต้องการก็ได้

ดังนั้นจากนี้ไป ควรต้องคิดเรื่องเป้าหมายการเงินก่อน แล้วค่อยหาสินค้าการเงินที่เหมาะสม น่าจะทำให้คุณมีโอกาสสำเร็จทางการเงินที่ชัวร์กว่านะครับ

By
สุรกิจ พิทักษ์ภากร
นักวางแผนการเงิน CFP ?
#?wealthplanner?

*** มุ่งให้คนไทยมีสุขภาพการเงินที่ดี ***

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.surakit.com

#อยากเป็นนักวางแผนการเงิน #อยากวางแผนการเงิน