สวัสดีคร้าบบบบ พบกับผม Insuranger คนเดิม ที่จะมาคอยให้ความรู้เรื่องการวางแผนทางการเงิน และการวางแผนประกันชีวิตปกป้องความเสี่ยง แต่ที่เพิ่มเติมก็คือ วันนี้ผมจะพาทุกท่านออกจากประกันชีวิตและสุขภาพ ไปเรียนรู้การคุ้มครองความเสี่ยงด้านอื่นๆ ว่าจริงๆแล้วชีวิตเราเนี่ย มีอะไรเป็นเรื่องที่น่ากังวลอีกบ้าง?

เรื่องแรกเลยที่ผมคิดว่า แม้แต่คนที่ไม่ได้นึกถึงการทำประกันชีวิตหรือประกันสุขภาพมาก่อนเลย ก็ยังต้องนึกถึงแทบทุกคน นั่นก็คือเรื่องของการประกันทรัพย์สิน โดยเฉพาะ “ประกันรถยนต์” ใช่ไหมล่ะครับ

ใครก็ตามที่มีรถ 90% ขึ้นไป ยังไงก็มองเรื่องของการทำประกันรถยนต์ไว้อยู่แล้ว เพราะเราเข้าใจดีกว่า อุบัติเหตุที่เกิดบ่อยที่สุด ก็คือ “อุบัติเหตุตามท้องถนน” เพราะมันเป็นเรื่องที่แค่เราประมาท หรือขาดสติเพียงเสี้ยววินาที ก็สามารถเกิดเหตุได้อย่างง่ายดาย การถูกเฉี่ยวชนบนท้องถนนจึงเป็นเรื่องที่เราเห็นกันจนชินตา ยิ่งในปัจจุบันคนใช้รถใช้ถนนในเมืองมีเป็นจำนวนมาก ก็ยิ่งมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย หรือถึงแม้เราจะมีสติ ขับด้วยความรอบคอบระมัดระวังเป็นอย่างดีแล้ว ก็มีสิทธิ์ที่จะถูกคนอื่นที่ขับรถอย่างประมาทชนได้อีกเหมือนกัน (ซึ่งมารยาทในการขับขี่ของคนบางคนแย่แค่ไหนหลายคนคงรู้ซึ้งดี) ซึ่งเป็นสิ่งที่เราคาดเดาล่วงหน้าไม่ได้เลย เราจึงต้องทำประกันรถยนต์ไว้ก็เพื่อที่ว่า หากเกิดอุบัติเหตุดังกล่าวขึ้น ไม่ว่าจะมีความเสียหายมากแค่ไหน เราก็จะได้รับความเสียหายแค่ไม่เกินเบี้ยประกันที่จ่าย (ขึ้นอยู่กับทุนประกันที่ทำไว้ด้วย) เพราะเราจำกัดความสูญเสียด้านตัวเงิน ด้วยการทำประกันไว้เรียบร้อยแล้ว

นี่แหละมั้ง ที่ทำให้แทบทุกคน ตระหนักถึงความเสี่ยงของความไม่แน่นอนในการใช้รถใช้ถนน ซะยิ่งกว่าความไม่แน่นอนเรื่องชีวิตและสุขภาพ คนส่วนใหญ่ก็เลยทำประกันรถยนต์ด้วยความเข้าใจเรื่องการคุ้มครองความเสี่ยงกันแทบทุกคน แต่กลับไม่ทำ หรือทำประกันชีวิตและประกันสุขภาพด้วยความเข้าใจจริงๆน้อยกว่ามาก

อีกเรื่องหนึ่งที่เรามีโอกาสได้พบเจอบ่อยก็คือเรื่องของ “การเดินทางท่องเทียว” เพราะโดยไลฟ์สไตล์ของคนส่วนใหญ่แล้ว เราก็มักจะออกเดินทางท่องเที่ยวกันไม่ว่าจะในประเทศหรือต่างประเทศ อย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง ซึ่งหากเราไม่ได้เดินทางด้วยตัวเองโดยรถยนต์ (ซึ่งทำประกันรถยนต์คุ้มครองอยู่แล้ว) ก็ต้องเดินทางด้วยรถโดยสารหรือเครื่องบิน สำหรับการเดินทางไกล ทำให้การเดินทางท่องเที่ยวที่ยิ่งมีกระบวนการและระยะเวลาท่องเที่ยวนาน ก็ยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้น

ถ้าใครเดินทางท่องเที่ยวบ่อยๆจะรู้ดีว่า การท่องเที่ยวกับความไม่แน่นอน มักเป็นของคู่กันเสมอ ตั้งแต่เริ่มเดินทางจนกระทั่งอยู่ระหว่างช่วงท่องเที่ยว เราอยากจะไปเที่ยวด้วยความสนุกสนานไร้กังวล แต่ก็ไม่วายที่บางครั้งจู่ๆ เราก็อาจจะต้องเลื่อนเที่ยวบินกะทันหันด้วยความจำเป็นบางอย่าง, สายการบินเกิดการดีเลย์ ไม่ก็เกิดการประท้วง (อย่างเช่น เคสล่าสุดของสายการบินของไทยเจ้าหนึ่ง) ขึ้นเครื่องบินไปแล้ว บางทีกระเป๋าเดินทางเราก็อาจถูกกระแทกเสียหาย หรือสูญหายไปเลยก็มี ระหว่างเดินทางท่องเที่ยว ถ้าโชคร้าย เราก็อาจจะมีโอกาสถูกโจรผู้ร้ายจี้ปล้นชิงทรัพย์นักท่องเที่ยว(โดยเฉพาะพวกที่หน้าตาดูแล้วรู้ว่ามาจากเอเชียอย่างเราๆ) แย่ยิ่งกว่านั้นถ้าเราถูกทำร้ายร่างกาย หรือแม้กระทั่งเกิดอุบัติเหตุบาดเจ็บระหว่างการเดินทาง เราก็ต้องเสียค่ารักษาพยาบาล เสียค่าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลอีก

ดังนั้น สำหรับใครที่ชอบเดินทางบ่อยๆจะรู้เลยว่า เวลาจะเดินทางไปท่องเที่ยวที่ไหนไกลๆ โดยเฉพาะต่างประเทศ มักจะมี requirement ให้ต้องทำประกันการเดินทางไว้ด้วยเสมอ

เทคนิค หรือหลักการในการทำประกันรถยนต์ และประกันการเดินทาง ต้องดูอะไรบ้าง?

การเลือกทำประกันทั้ง 2 แบบ จะมีหลักการคล้ายๆกัน นั่นก็คือ “เทียบมูลค่าและขอบเขตของความคุ้มครอง” กับ “เบี้ยประกันที่จ่ายไป” ว่าของที่ไหน “คุ้มค่า” ที่สุด

โดยประกันรถยนต์จะดูความคุ้มครองหลักๆในเรื่องของ

  • ทุนประกัน (มูลค่าความคุ้มครองสูงสุดที่เราทำให้รถของเรา ซึ่งไม่ควรจะต่ำกว่ามูลค่าของรถ)
  • จ่ายส่วนแรกกรณีมีเคลมไหม? = คือส่วนที่เรายอมจ่ายค่าเสียหายด้วยตัวเอง ว่าถูกบังคับให้ต้องจ่ายไหม (ถ้าเรามั่นใจว่าโอกาสเคลมเราน้อย บางครั้งการยอมจ่ายค่าเสียหายด้วยตัวเองส่วนแรก อาจจะคุ้มกว่า เพราะทำให้ค่าเบี้ยประกันต่อปีลดลง)
  • สิทธิ์ในการส่งซ่อมห้าง (ศูนย์) หรือ อู่ (ข้อดีข้อเสียต่างกัน ห้าง (ศูนย์) = ไว้ใจได้ วัสดุอุปกรณ์มาตรฐาน แต่อาจแพงและกินเวลานาน อู่ = อาจจะสะดวกรวดเร็ว หาอะไหล่เปลี่ยนง่าย แต่เสี่ยงต่อมาตรฐานและการให้บริการ)
  • มูลค่าความคุ้มครองชีวิตและทรัพย์สินบุคคลภายนอก (คู่กรณีหรือสาธารณะสมบัติ) ต่อคนและต่อครั้ง  

ส่วนประกันการเดินทาง จะดูมูลค่าความคุ้มครองหลักๆในเรื่องของ

  • ค่ารักษาพยาบาล (กรณีพักรักษาตัวจากอุบัติเหตุ, กรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพ, กรณีกลับมารักษาต่อในประเทศ)
  • สัมภาระและทรัพย์สิน (สูญหาย หรือเสียหาย) การเดินทาง (ล่าช้า, ถูกยกเลิก, พลาดเที่ยวบินต่อ)

หน้าที่ของเราก็คือ เอามูลค่าการคุ้มครองดังกล่าว มาเทียบกับเบี้ยประกันของแต่ละที่ ที่ไหนให้มูลค่าคุ้มครองที่เท่ากัน แต่จ่ายเบี้ยถูกกว่า ก็ถือว่าคุ้มค่ากว่า

แต่ปัญหาก็คือ บริษัทประกันภัยก็มีเป็นสิบๆแห่งๆ แต่ละแห่งก็มีให้เลือกเป็นสิบๆตัว จะให้มานั่งเปรียบเทียบทีละแห่งทีละตัวด้วยตัวเอง คงหมดลมตายไปซะก่อน บางคนก็เลยเลือกที่จะถามเพื่อนฝูง แล้วก็ใช้ตามๆกัน บางคนก็เลือกตามความเคยชิน ทำกับบริษัทที่คุ้นเคยอยู่แล้วมาเรื่อยๆ ซึ่งบางที อาจจะไม่ใช่ตัวที่คุ้มค่าที่สุด หรือได้รับการยอมรับว่าดีที่สุด ก็ได้ จนบางคนร้องขอว่า อยากจะมีที่ไหนซักที่มาช่วยเปรียบเทียบแบบประกันภัยให้เ&