พูดถึงการวางแผนออมเงินเพื่อการเกษียณ ผมเชือว่าทุกวันนี้ หลายคนน่าจะเริ่มหันเข้าหาการลงทุนมากขึ้น จากเดิมที่คุ้นเคยกับการออมแต่ในบัญชีเงินฝากเป็นหลัก เพราะอย่างที่เรารู้ๆกันดีว่า การออมแบบเดิมๆอย่างการฝากแบงค์ ยังไงเงินก็คงไม่โตแน่ เพราะดอกเบี้ยต่ำเตี้ยติดดิน แถมแพ้เงินเฟ้ออีกต่างหาก ก็เลยต้องหันไปหาเครื่องมือการออมตัวอื่น โดยใช้การลงทุนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่พอลงทุน ส่วนใหญ่ก็มักจะลงทุนกันแต่ในหุ้น หรือถ้าซื้อกองทุน ก็ซื้อกองทุนที่ไปลงทุนในหุ้นกันเป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น LTF หรือ RMF ที่เป็นกองหุ้น เพราะเชื่อมั่นว่า มันให้ผลตอบแทนดีสุด ช่วยให้รวยเร็วสุด โดยไม่ต้องใช้เงินลงทุนมาก เงินก็สามารถโตเป็นก้อนใหญ่ได้ เร็ว และมากกว่าไปลงทุนในสินทรัพย์อื่นๆ ซึ่งผมเห็นแล้วก็คิดว่าเป็นสิ่งที่ดีมากๆ ที่คนเริ่มตระหนักถึงการเตรียมเงินเพื่อการเกษียณ และรู้จักเอาเงินเกษียณมาบริหารจัดการ ด้วยการลงทุนกันมากขึ้น

แต่ปัญหาก็คือ เราเข้าใจเรื่องความเสี่ยงได้ดีแค่ไหน?

อย่างที่เพิ่งผ่านไป ทันทีที่สหรัฐได้โดนัลด์ ทรัมป์ เป็นประธานาธิบดีคนใหม่ หรือย้อนไปถึงตอน Brexit ที่สหราชอาณาจักรโหวตขอออกจากสหภาพยุโรป รวมไปถึงเหตุการณ์ความไม่แน่นอน หรือเหตุการณ์สะเทือนขวัญต่างๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ล้วนมีผลทำให้ตลาดหุ้นเกิดความผันผวน พอคนเกิดความตื่นตระหนกที ตลาดหุ้นก็ตกหนักที ยิ่งถ้าเกิดเหตุการณ์วิกฤติมากๆ เช่น วิกฤติการเงิน ตลาดหุ้นก็อาจจะยิ่งตกหนักมาก -50 ถึง -60% ของเงินต้น เป็นระยะเวลาติดต่อกันหลายปี

เราอาจจะคิดว่า ถึงหุ้นจะเสี่ยง ขาดทุน แต่ถ้าถือตัวดีๆไปยาวๆ ทนผ่านช่วงขาดทุนให้ได้ ยังไงก็น่าจะกำไรเยอะน่า คำถามก็คือ จริงรึเปล่า?

ถ้าตอนที่เราเข้าไปซื้อ เราดันไปซื้อตอนที่มันแพงสุดๆล่ะ ถึงแม้หุ้นมันอาจจะกลับมาราคาขึ้นจากตอนราคาตกต่ำสุดได้ แต่เราจะแน่ใจได้ไหม ว่ามันจะกลับมาขึ้นสูงกว่าตอนที่เราซื้อ?

ถึงแม้เราอาจจะซื้อตอนไม่แพง หรือเฉลี่ยซื้อแล้วก็ตาม แต่ถ้าหุ้นมันเกิดตกหนักๆอีกที ตอนที่เราใกล้จะเกษียณ หรือตกหนักตอนอยู่ในวัยเกษียณที่ต้องใช้เงินจากเงินเก็บ จนทำให้เงินเก็บ/เงินลงทุนของเราตกลงจาก 10 ล้าน เหลือแค่ 5 ล้าน เราจะทำยังไง?

สำคัญที่สุดก็คือ ที่บอกว่า “ทนให้ผ่านช่วงขาดทุนไปได้” แน่ใจเหรอว่าจะทนได้จริงๆ?ถ้าเกิดช่วงที่เราลงทุนอยู่หุ้นเกิดตกหนักๆ -40 ถึง -50% ติดต่อกันหลายปี เราจะทนไหวจริงๆเหรอ? (ปกติแต่เห็นตัวแดงๆติดต่อกันอาทิตย์นึงก็เครียดแล้ว นี่แดงติดต่อกันเป็นปีๆเชียวนะ)

ก่อนจะบอกตัวเองว่า เราเข้าใจและรับความเสี่ยงได้แล้วจริงๆน่ะ เราเข้าใจความเป็นจริงในเรื่องต่างๆเหล่านี้แล้วรึยัง?

1. ระยะเวลาการทำงานหาเงิน หรือการลงทุนของเรา มีอยู่อย่างจำกัด แต่โอกาสและจังหวะขาดทุน มีได้ไม่จำกัด

ลองคิดดูว่า ถ้าเราอุตส่าห์ทำงาน เก็บเงินมาหลายสิบปี หรือเก็บมาทั้งชีวิตเพื่อเกษียณ กว่าจะได้เห็นเงินล้าน แต่อยู่ๆ วันดีคืนดี เจอเหตุการณ์ความไม่นอน หรือวิกฤติเข้าไป แล้วเงินทั้งหมดหายวับไปกับตา หรืออาจจะเหลือแค่ครึ่งเดียว เราจะรู้สึกยังไง? แล้วถ้าเจอเหตุการณ์ความไม่แน่นอนต่างๆเหล่านี้หลายๆครั้ง (ซึ่งมันเกิดได้ตลอดเวลา ได้อย่างไม่จำกัด) เงินเราจะเหลือเท่าไหร่? อย่าลืมว่า ระยะเวลาการทำงานของเรามีจำกัด ถ้าเราขาดทุนไปแล้วต้องเริ่มเก็บเงินลงทุนใหม่ เราจะมีกำลังใจกลับมาทำใหม่ได้ไหม? หรือ ระยะเวลาทำงานที่เหลือ จะเพียงพอให้เราสะสมเงินขึ้นมาใหม่ให้พอเกษียณ ได้ทันไหม? ยิ่งถ้าเป็นคนที่เกษียณแล้ว เอาเงินทั้งหมดมาเล่นหุ้น ถ้าเจ๊งที ไม่มีโอกาสแก้ตัวอีกแล้ว แล้วคุณจะหาเงินจากไหนมาใช้ใหม่? ต้องหางานทำตอนแก่อีกเหรอ? มันเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆเลยนะ

2. ความล้มเหลวของการลงทุน หรือการเก็บเงินก็คือ เรามักจะทนเห็นการขาดทุนหนักๆอย่างต่อเนื่องไม่ได้

ถึงแม้ต่อให้เรารู้ว่า หลังผ่านพ้นวิกฤติ หุ้นมักดีดตัวกลับมาได้เสมอ แต่พอถึงเวลานั้นจริงๆ เชื่อเถอะว่า เราจะไม่แน่ใจแบบนี้ เพราะตอนเกิดวิกฤติ ไม่มีใครบอกเราว่า มันจะเกิดต่อไปอีกนานแค่ไหน มันอาจจะเกิดต่อไปอีกหลายปีก็ได้ ซึ่งถ้ามันนานขนาดนั้น เราจะเริ่มไม่แน่ใจ ไม่เชื่อใจ หดหู่ สิ้นหวัง จนทนต่อสภาวะแบบนั้นต่อไปไม่ได้ จนอาจจะต้องยอมขายขาดทุน เพื่อตัดความเจ็บปวดนั้นทิ้งไป นั่นทำให้หลายคน ไม่สามารถประสบความสำเร็จในการลงทุนระยะยาวได้ เพราะถูกอารมณ์ความกลัว ความเจ็บปวด เข้าครอบงำ จนลงทุนต่อไปไม่ไหว

แล้วจะทำยังไง ให้ลงทุนสำเร็จ ให้เรามีโอกาสมีเงินเกษียณเพียงพอ ได้อย่างปลอดภัยมากขึ้นดีล่ะ?

คำแนะนำของผมก็คือ เราต้อง “กระจายความเสี่ยง”

โดยเอาเงินส่วนหนึ่งไปออม หรือไปลงทุนในอะไรที่ “ปลอดภัย” บ้าง (เน้นว่าส่วนหนึ่งนะครับ ไม่ใช่ทั้งหมด เพราะยังไงเราก็ยังควรจะต้องลงทุนอยู่เพื่อโอกาสได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้น) แต่ ต้องเป็นที่ที่ปลอดภัย ที่ผลตอบแทนยังโอเคอยู่ (ไม่ได้ต่ำเตี้ยเหมือนเงินฝาก) เพื่อที่ว่า เวลาหุ้นตกหนัก หรือมีความไม่แน่นอน เงินอีกส่วนของเรายังอยู่รอดปลอดภัย และมีผลตอบแทนที่ยังโอเค (แม้จะไม่สูงมาก แต่ปลอดภัยกว่า) เราจะได้รับผลการขาดทุนได้ (เมื่อดูจากเงินทั้งหมดอาจจะเห็นว่าขาดทุนไม่มาก หรืออาจจะยังมีกำไรก็ได้) และยังลงทุนต่อไปได้

แล้วจะเอาเงินไปออมในอะไรดีล่ะ ที่ปลอดภัย แต่ว่าผลตอบแทนยังดีอยู่?

สินทรัพย์ที่ค่อนข้างปลอดภัย และผลตอบแทนยังน่าสนใจอยู่ สำหรับที่คนทั่วไปอาจจะพอรู้จักบ้างก็คือ “ตราสารหนี้” เช่น พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้เอกชน ซึ่งผลตอบแทนและความเสี่ยงก็แล้วแต่ความน่าเชื่อถือของคนออก หรือถ้าไปซื้อเป็นกองทุนตราสารหนี้ ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีอาจจะ&