สำหรับการเลือกซื้อประกันชีวิตแล้ว สำหรับบางคนอาจดูเหมือนจะเป็นเรื่องยากเย็นแสนเข็ญเหมือนกับการเข็นครกขึ้นภูเขา โดยเฉพาะกับมือใหม่ (ที่อาจจะเริ่มชายตามามองหาประกันชีวิตเพื่อเอาไว้ใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษี) เนื่องจากความรู้เรื่องประกันชีวิตนั้นหาศึกษาในแบบที่เข้าใจง่ายๆ ได้ยาก  ถ้าอยากจะรู้รายละเอียดก็อาจจะต้องถามเอาจากตัวแทน แต่ส่วนใหญ่คนก็กลัวจะถูกเสนอขายทันที แถมเงื่อนไขต่างๆ และภาษาที่ใช้ ก็มักจะใช้ภาษาที่มีลักษณะเป็นทางการที่อาจจะเข้าใจยาก รายละเอียดก็เยอะแยะไปหมด

สุดท้ายบางคนก็ใช้วิธีถามเอาจากเพื่อนๆ หรือหาข้อมูลเพิ่มเติมจากอินเทอร์เน็ตเอา ซึ่งถ้าโชคดีได้เจอคนรู้จริงก็ดีไป แต่ถ้าโชคร้ายเจอคนไม่รู้จริงก็จะยิ่งทำให้เราเข้าใจแบบผิดๆไปกันใหญ่จนอาจทำให้ตัดสินใจเลือกแบบประกันที่ ไม่สอดคล้องกับความจำเป็นของเราจริงๆ มารู้อีกทีก็ตอนทำประกันไปแล้ว

"ดังนั้น วันนี้ผมจะขอแนะนำ 3 ขั้นตอนง่ายๆ สำหรับมือใหม่ ในการวางแผนเลือกซื้อประกันชีวิตให้ตัวเองได้ง่ายๆ แต่มีประสิทธิภาพ เรียกได้ว่า อ่านจบ

สามารถเดินไปซื้อประกันชีวิตแบบที่คุ้มค่าที่สุดให้กับตัวเองได้เลยทีเดียว ดังนี้ครับ!"

1. เลือกประเภทให้สอดคล้องกับความต้องการ/ความจำเป็น

ก่อนอื่น ต้องรู้ก่อนว่า ประกันชีวิตแบบพื้นฐานมีอยู่ 4 ประเภท และแต่ละประเภท ก็เหมาะกับเป้าหมายที่ต่างกัน ดังนี้

แบบตลอดชีพ

เหมาะกับคนที่เน้นความคุ้มครองชีวิตระยะยาว ไม่เน้นผลตอบแทน เพื่อความมั่นคงในชีวิตของคนที่เราดูแล เช่น สำหรับคนที่มีลูกเล็ก หรือคนที่ต้องการวางแผนสร้างหลักประกันให้กับครอบครัว

แบบชั่วระยะเวลา

เหมาะกับคนที่เน้นความคุ้มครองชีวิตระยะสั้น-ปานกลาง ช่วง 10-20 ปี ไม่มีผลตอบแทน จะได้ผลประโยชน์ก็ต่อเมื่อเสียชีวิตเท่านั้น เพื่อความมั่นคงในชีวิตของคนข้างหลังอีกเช่นกัน เช่น คนที่มีภาระหนี้บ้าน หรือต้องการคุ้มครองลูกในวัยเรียน

แบบสะสมทรัพย์

เหมาะกับคนที่ต้องการการันตีเงินออม ต้องการออมเงิน ไม่เน้นความคุ้มครองมากนัก มีทั้งแบบระยะสั้นและระยะยาว

แบบบำนาญ

เหมาะกับคนที่ต้องการวางแผนเกษียณ สร้างรายได้ที่แน่นอนส่วนหนึ่ง และรับเงินบำนาญหลังเกษียณ

ซึ่งหากเราไม่เข้าใจเงื่อนไขและรายละเอียด ของแบบประกันชีวิตแต่ละแบบ ว่าเหมาะสมกับความต้องการหรือความจำเป็นแบบไหนเราก็อาจไปซื้อแบบที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการหรือความจำเป็นของเราได้

เช่น เราเป็นหัวหน้าครอบครัว มีลูก มีภาระหนี้สิน ก็ควรเน้นคุ้มครองชีวิต ปกป้องครอบครัวก่อน แต่ดันไปซื้อแบบสะสมทรัพย์ที่เน้นออมเงิน แทนที่จะไปซื้อแบบตลอดชีพ หรือแบบชั่วระยะเวลา ที่เน้นคุ้มครองชีวิต ถึงจะเหมาะสมกว่า เพราะให้ความคุ้มครองชีวิตที่สูงกว่า ในจำนวนเบี้ยเท่ากัน เป็นต้น ส่วนใครที่ไม่มีภาระ ก็อาจจะเลือกแบบเน้นออมเงิน อาจจะเหมาะสมกว่า

ดังนั้น ก่อนจะเลือกซื้อ ก็ควรสำรวจความจำเป็นจริงๆ ก่อน

ว่าเราควรเลือกซื้อแบบไหน เพราะอะไร

2. สำรวจงบประมาณจ่ายเบี้ยแต่ละปีให้พอเหมาะ

การซื้อประกันชีวิต สำคัญที่สุดคือ “เราควรจะต้องมีความสามารถในการจ่ายเบี้ยประกันจนครบกำหนดระยะเวลาชำระเบี้ยโดยไม่ต้องใช้สิทธิเวนคืนกรมธรรม์ก่อนครบกำหนดสัญญา” จึงจะได้ประโยชน์สูงสุดจากแบบประกัน  โดยทั่วไป คำนวณคร่าวๆ อาจจะไม่ควรเกินประมาณ 10% ของรายได้ทั้งปี (เช่น คนที่มีรายได้เดือนละ 30,000 บาท หรือปีละ 360,000 บาท เบี้ยต่อปีที่เหมาะสมอาจจะอยู่ที่ประมาณปีละ 30,000-40,000 บาท เพราะหากสูงกว่านี้ อาจจะเริ่มรู้สึกเป็นภาระที่หนักเกินไป และจะทำให้ไม่อยากจ่ายเบี้ยปีต่อๆไปได้ จึงเป็นเรื่องที่ควรระวัง)

3. เลือกแบบประกัน ที่มี feature ตรงใจ

แบบประกันบางแบบ จ่ายเบี้ยสั้น แต่เบี้ยประกันสูง บางแบบจ่ายยาวแต่เบี้ยต่อปีไม่แพง บางแบบคุ้มครองยาว  หรือบางแบบไม่มีเงินจ่ายคืนเลย แต่ให้ความคุ้มครองสูง เป็นต้น เราก็เลือกดูว่า แบบไหนที่ตรงใจกว่า ก็ต้องลองเอาแต่ละแบบ ในลักษณะเดียวกัน มาเปรียบเทียบกัน แล้วดูว่าตัวไหนที่ตอบโจทย์เรามากที่สุด ก็จิ้มตัวนั้นได้เลย!

เพียงแค่หลักการเบื้องต้น 3 ข้อนี้ ก็อาจจะเพียงพอให้เราสามารถเลือกแบบประกันชีวิตที่ตรงตามความจำเป็น และตรงใจเราที่สุดได้แล้ว แต่ถ้าใครยังรู้สึกว่ายุ่งยาก ซับซ้อน และยังไม่รู้จะไปหาข้อมูลแบบประกันได้จากไหน จะต้องจ่ายเบี้ยเท่าไหร่ยังไงบ้าง

ตอนนี้บริษัทประกันชีวิตหลายบริษัทก็เริ่มที่จะมีระบบมาช่วยเราวางแผนเลือกซื้อแบบประกันให้เราได้ ซึ่งผมก็อยากจะแนะนำ ตัวช่วยออนไลน์ที่ชื่อว่า “My Smile Plan” 

มาช่วยเราวางแผนเลือกซื้อได้ง่ายๆ แค่ปลายนิ้วสัมผัส เพียงแค่เราเข้าไปที่ www.muangthai.co.th/mysmileplan

จากนั้นทำตามขั้นตอนง่ายๆ

  1. ใส่ข้อมูลเบื้องต้น แล้วกด “เริ่มค้นหา”
  2. จากนั้น “เลือกความต้องการในการทำประกัน”
  3. เริ่ม “ทำแบบทดสอบ” สั้นๆ

เพียงแค่นี้ ระบบก็จะแนะนำประกันที่เหมาะสมกับเรา และตอบโจทย์ความต้องการของเราที่สุดมาให้ ซึ่งหากเราสนใจ ก็สามารถคลิกเลือกที่ประกัน และใส่ข้อมูลเพิ่มเติม พร้อมทั้งเลือกความคุ้มครอง ระบบก็จะคำนวณเบี้ยประกันมาให้ พร้อมทั้งให้รายละเอียดของประกันแต่ละราย และสามารถ log in เพื่อกรอกใบสมัคร Online จ่ายเบี้ยประกันผ่านบัตรเครดิตหรือRabbit LINE Payและทำประกัน ได้อย่างสะดวกสบาย

ยุคสมัยนี้ หลายวงการเริ่มมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย ซึ่งวงการประกันก็เริ่มมีการนำเข้ามาใช้บ้างแล้ว เราในฐานะผู้บริโภค ก็ควรจะตามเทรนด์ให้ทัน เพราะเทคโนโลยีก็มาช่วยให้เราตัดสินใจเลือกทำประกัน