สวัสดีคร้าบ จากที่ผ่านมา ผมได้เคยให้ความรู้เรื่องประกันชีวิตประเภทต่างๆมาแล้ว (ใครยังไม่เคยศึกษา ตามไปอ่านได้ที่ ซื้อประกันอย่างไรให้ถูกต้องและสบายใจ) แต่ยังเหลืออีกประเภทหนึ่งซึ่งผมคิดว่าเป็นที่รู้จักกันน้อยมากๆ ทั้งๆที่เป็นประกันชีวิตที่ประเภทที่มีประโยชน์และมีจุดเด่นอยู่ไม่น้อย นั่นก็คือประกันชีวิตแบบ “ยูนิเวอร์แซล ไลฟ์” (Universal Life : ขอเรียกสั้นๆว่า UL) ซึ่งเป็นประกันชีวิตควบคู่การลงทุน (Investment-Linked) รูปแบบหนึ่ง ที่คล้ายคลึงกับแบบยูนิตลิงค์ แต่จะแตกต่างกันยังไง? มีจุดเด่นจุดด้อยอยู่ตรงไหน? ใครที่เหมาะกับประกันชีวิตประเภทนี้? เรามาศึกษากันดีกว่าครับ!

UL แตกต่างจากประกันชีวิตประเภทอื่นๆยังไง?

ก่อนอื่น อยากให้เข้าใจโครงสร้างของประกันชีวิตก่อนว่า ไม่ว่าจะเป็นแบบประกันประเภทไหน เบี้ยประกันที่เราจ่ายไปจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่เป็น “ค่าใช้จ่ายในการคุ้มครองชีวิต” กับส่วนที่เป็น “เงินออม/เงินลงทุน” (แนะนำให้อ่านเรื่องนี้รวมถึงศึกษาประกันชีวิตแบบยูนิตลิงค์เพิ่มเติมได้ที่ เจาะลึก! ประกันชีวิตแบบควบการลงทุน Unit-Linked)ซึ่งเบี้ยส่วนที่เป็นเงินลงทุนของประกันชีวิตแบบดั้งเดิมทั่วไป (ตลอดชีพ, สะสมทรัพย์, บำนาญ) บริษัทจะเป็นคนบริหารเงินลงทุนเอง ด้วยการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำๆ เช่น เงินฝาก หรือพันธบัตร เป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากต้องมีการการันตีผลตอบแทนเป็นเงินคืนให้ผู้ถือกรมธรรม์ ทำให้ลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงมากไม่ได้ ส่วนแบบยูนิตลิงค์ เบี้ยในส่วนของการลงทุน บริษัทจะให้ผู้ถือกรมธรรม์เป็นคนวางแผนลงทุนและรับความเสี่ยงด้วยตัวเอง ด้วยการให้เลือกลงทุนในกองทุนรวมที่บริษัทคัดเลือกมาแล้ว ทำให้ความเสี่ยงและผลตอบแทนที่ได้จะไม่มีการการันตี ผลตอบแทนได้เท่าไหร่อยู่ที่การวางแผนของเราเอง

ขณะที่แบบ UL ผลประโยชน์หรือผลตอบแทนที่ได้ จะเหมือนเป็นลูกครึ่ง อยู่กึ่งกลางระหว่างแบบธรรมดา กับแบบยูนิตลิงค์ โดยที่บริษัทประกันจะเป็นคนบริหารการลงทุนด้วยตัวเอง แต่จะลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลายขึ้น มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เช่น ในตราสารหนี้ หรือในตราสารทุน (หุ้น) เพื่อเพิ่มโอกาสได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้นกว่าแบบประกันทั่วไป แต่ก็ไม่ได้เสี่ยงเท่าแบบยูนิตลิงค์ (ถ้าวางแผนลงทุนแบบอยากได้ผลตอบแทนสูงๆ) ที่สำคัญคือ “มีการการันตีผลตอบแทนขั้นต่ำ” ที่ผู้ถือกรมธรรม์จะได้ด้วย (เช่น บริษัทรับรองผลตอบแทนขั้นต่ำ 1% ต่อปี แปลว่า ถ้าปีไหนผลตอบแทนจริงออกมาต่ำกว่า 1% บริษัทก็จะจ่ายผลตอบแทนให้เรา 1% แต่ถ้าปีไหนบริษัททำผลตอบแทนได้สูงกว่า 1% ผู้ถือกรมธรรม์ก็จะได้รับผลตอบแทนตามจริงที่บริษัททำได้เท่านั้นเลย)

นอกจากนี้ในส่วนของการชำระเบี้ยประกันและความคุ้มครอง โดยทั่วไป UL จะมีความคล้ายคลึงกับแบบยูนิตลิงค์ คือมีทั้งแบบ “จ่ายเบี้ยรายงวด” (Regular Premium) (คือจ่ายเบี้ยมากกว่า 1 ปี) กับแบบ “จ่ายเบี้ยครั้งเดียว” (Single Premium) โดยแบบจ่ายเบี้ยรายงวด สามารถกำหนดระยะเวลาจ่ายเบี้ย และระยะเวลาคุ้มครองเองได้ (โดยคุ้มครองได้นานสุดถึงอายุ 99 ปี หากต้องการคุ้มครองสั้นกว่านั้น ก็สามารถทำได้ ด้วยการปิดกรมธรรม์โดยการเวนคืนมูลค่าเงินสดกรมธรรม์เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาคุ้มครองที่ต้องการ (แต่ถ้าหากปิดเร็วไป หรือจ่ายเบี้ยสั้นกว่าระยะเวลาคุ้มครองมากๆ มูลค่าเงินสดที่ได้อาจจะน้อยกว่าเบี้ยทั้งหมดที่จ่ายไปก็ได้)) ซึ่งแบบนี้จะสามารถปรับเพิ่ม – ลดความคุ้มครองชีวิตตามความจำเป็นได้ (แต่ต้องไม่ต่ำกว่าความคุ้มครองที่เป็นทุนประกันขั้นต่ำ) ส่วนแบบจ่ายเบี้ยครั้งเดียว ซึ่งเป็นแบบที่จ่ายเบี้ยเพียงครั้งเดียว แล้วสามารถได้ความคุ้มครองไปตลอดระยะเวลาของสัญญาเลย แต่ข้อเสียคือ ไม่สามารถปรับเพิ่ม – ลดทุนประกันได้ และมีความคุ้มครองต่ำ (สูงกว่าเบี้ยที่จ่ายไปไม่มาก)

นั่นทำให้ประกันชีวิตแบบ UL มีความคล้ายคลึงกับแบบยูนิตลิงค์อย่างมาก ต่างกันก็เพียงแค่ UL มีความแน่นอนของผลตอบแทนมากกว่า ความเสี่ยงต่ำกว่า และมีการการันตีผลตอบแทนขั้นต่ำ โดยมีบริษัทประกันเป็นผู้บริหารการลงทุนเอง ขณะที่แบบยูนิตลิงค์ จะมีโอกาสได้ผลตอบแทนที่สูงกว่า แต่ก็มาพร้อมกับความเสี่ยงที่สูงกว่า และเราต้องเป็นคนบริหารการลงทุนเอง รับผิดชอบความเสี่ยงและผลขาดทุนด้วยตัวเอง

เทียบกับประกันชีวิตแบบดั้งเดิม (สะสมทรัพย์) และแบบยูนิตลิงค์ (ควบการลงทุน) กับแบบ UL

1. ด้านความคุ้มครองชีวิต

แบบสะสมทรัพย์ = ทุนประกันที่ได้ไม่สูงมากนัก ไม่เหมาะกับทำเพื่อเน้นคุ้มครอง

แบบยูนิตลิงค์ = ถ้าเป็นแบบจ่ายเบี้ยรายงวด สามารถเลือกทุนประกันให้สูงๆได้ ถ้าเป็นแบบจ่ายเบี้ยครั้งเดียว ทุนประกันจะต่ำที่สุดกว่าแบบอื่นๆ (สูงกว่าเบี้ยนิดเดียว)

แบบ UL = เหมือนกับแบบยูนิตลิงค์

2. ด้านผลตอบแทนและความเสี่ยง

แบบสะสมทรัพย์ = ผลตอบแทนค่อนข้างต่ำ แต่มีการการันตี กำหนดตายตัว (ประมาณ 1% กว่าๆ ถึง 2% กว่าๆต่อปี) ไม่มีความเสี่ยงเลย บริษัทประกันเป็นคนบริหารการลงทุนและรับความเสี่ยงเอง

แบบยูนิตลิงค์ = ผลตอบแทนขึ้นอยู่กับการวางแผนลงทุน ถ้าเลือกแผนการลงทุนแบบเสี่ยงสูง อาจมีโอกาสขาดทุนได้เช่นกัน ผู้ถือกรมธรรม์เป็นคนบริหารการลงทุนและรับความเสี่ยงเอง โดยสามารถเลือกลงทุนในกองทุนรวมที่บริษัทคัดเลือกมาให้

แบบ UL = ผลตอบแทนและความเสี่ยงต่ำกว่าแบบยูนิตลิงค์ แต่มีโอกาสได้ผลตอบแทนสูงกว่าแบบสะสมทรัพย์ โดยมีการการันตีผลตอบแทนขั้นต่ำ ทำให้ไม่มีความเสี่ยงที่จะขาดทุน แต่มีโอกาสได้ผลตอบแทนสูงกว่าแบบสะสมทรัพย์ บริษัทประกันเป็นคนบริหารการลงทุนและรับความเสี่ยงเอง

3. ด้านความยืดหยุ่น

แบบสะสมทรัพย์ = ไม่ยืดหยุ่น ไม่สามารถเลือกอะไรได้เลย บริษัทประกันเป็นคนกำหนดระยะเวลาจ่ายเบี้ย &#