ในช่วงเศรษฐกิจที่มีความไม่แน่นอนสูง ตลาดหุ้นเดี๋ยวขึ้นเดี๋ยวลง เชื่อว่าหลายคนคงกำลังมองหาสินทรัพย์สำหรับลงทุนที่มีความเสี่ยงไม่มาก แต่ยังได้รับผลตอบแทนที่ดีแม้ในสภาวะเศรษฐกิจผันผวน และถ้าใครได้ติดตามผลงานของผมก่อนหน้านี้ จะรู้ว่าผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจลงทุนในกองทุนประเภทกองทุนอสังหาริมทรัพย์ (Property Fund หรือ REITs) และ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund) เนื่องจากเป็นประเภทสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนที่ดี ความเสี่ยงไม่มาก ได้รับกระแสเงินสดสม่ำเสมอ และได้รับผลกระทบน้อยแม้เศรษฐกิจผันผวน

รู้จักธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานกันก่อน

ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจเป็นธุรกิจเกี่ยวกับสินค้าและบริการที่ตอบสนองความจำเป็นทางเศรษฐกิจ และสร้างประโยชน์ต่อสาธารณะในวงกว้าง ซึ่งมักจะมีความเกี่ยวข้องกับ พลังงาน การคมนาคมขนส่ง สาธารณูปโภค และโทรคมนาคม

ตัวอย่างธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เช่น ธุรกิจท่อส่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ธุรกิจสนามบิน ทางด่วนหรือทางพิเศษ ท่าเรือขนส่งสินค้า ธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตและจำหน่าย

ไฟฟ้า, น้ำประปา, พลังงานทดแทนและทางเลือก ธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตและติดตั้งเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์ไร้สาย การให้บริการสื่อสารผ่านดาวเทียม และการติดตั้งเส้นใยแก้วนำแสงสำหรับธุรกิจบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต เป็นต้น

ทำไมธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานถึงน่าสนใจ

เหตุผลที่ผมคิดว่าธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานเป็นธุรกิจที่น่าสนใจลงทุนในระยะยาว เนื่องจากเหตุผลดังต่อไปนี้ครับ

1. มีศักยภาพในการเติบโต

ตัวเลขประมาณการค่าใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐานทั่วโลก (Global Infrastructure Spending) จะมีมูลค่ามากถึง 9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2025 โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 6.5% ต่อปี

*กราฟตัวเลขประมาณการค่าใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐานทั่วโลก (ที่มา : Oxford Economics , PWC 1024)

นอกจากนี้ธุรกิจยังสามารถปรับค่าบริการขึ้นได้ตามอัตราเงินเฟ้อ จึงไม่เสียโอกาสด้านการเติบโตของราคาสินค้าและบริการ

2. มีผลตอบแทนโดดเด่น

ถ้าเราเปรียบเทียบข้อมูลผลตอบแทนของดัชนี 5 ปีย้อนหลัง (วันที่ 23 ก.พ. 2011 – 23 ก.พ. 2016) จะเห็นได้ว่าธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานทั่วโลกมีผลตอบแทนสะสม 46.85% ซึ่งสูงกว่าเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นโลกที่มีผลการดำเนินงานสะสมเพียง 27% ในช่วงระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา

กราฟแสดงผลตอบแทนสะสมเปรียบเทียบผลตอบแทนดัชนีหุ้นโครงสร้างพื้นฐานทั่วโลกกับผลตอบแทนดัชนีหุ้นโลก
( ที่มา: Morningstar ข้อมูล ณ วันที่ 24 ก.พ. 2016)

3. ผลตอบแทนสม่ำเสมอ และมั่นคง

บริษัทที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานจะมีรายได้สม่ำเสมอ มีอัตราการจ่ายเงินปันผลที่ดีและสามารถสร้างกระแสเงินสดได้อย่างต่อเนื่อง สินทรัพย์ที่ครอบครองมักจะมีระยะเวลาใช้งานยาวนาน จากตารางแสดงแสดงอัตราการจ่ายเงินปันผลของหุ้นในกลุ่มต่าง ๆ แสดงให้เห็นว่าดัชนีโครงสร้างพื้นฐานมีการจ่ายเงินปันผลสูงกว่าหุ้นอสังหาริมทรัพย์และหุ้นทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง

ตารางแสดงแสดงอัตราการจ่ายเงินปันผลของหุ้นในกลุ่มต่าง ๆ (ที่มา : Bloomberg ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2015)

หมายเหตุ : อัตราการจ่ายปันผลของดัชนีรายปี คำนวณจาก ผลรวมของเงินปันผลของหุ้นแต่ละตัว เทียบกับ ผลรวมของราคาหุ้นแต่ละตัวในดัชนีชี้วัด ในช่วงเวลา 1 ปี

- ดัชนีโครงสร้างพื้นฐาน คือ S&P Global Infrastructure Index

- ดัชนีหุ้นโลก คือ MSCI World Index

- ดัชนีอสังหาริมทรัพย์ทั่วโลก คือ FTSE EPRA/NAREIT Developed Real Estate (Net)

และเนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ และการพัฒนาประเทศ ทำให้มีความต้องการใช้งานในสินค้าและบริการที่แน่นอน ผลการดำเนินงานของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานจึงค่อนข้างมั่นคงในทุกสภาวะเศรษฐกิจ

4. ช่วยให้พอร์ตลงทุนได้ผลตอบแทนมากขึ้น ความเสี่ยงน้อยลง

การเปรียบเทียบผลตอบแทนและความเสี่ยงของพอร์ตลงทุน พบว่าถ้าเรากระจายการลงทุนไปในหุ้นโครงสร้างพื้นฐานทั่วโลก จะทำให้พอร์ตการลงทุนมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้น ในขณะเดียวกันทำให้ความเสี่ยงของพอร์ตลงทุนลดลงอีกด้วย

กราฟเปรียบเทียบผลตอบแทนกับความเสี่ยงของพอร์ตที่มีสัดส่วนการลงทุนแบบต่าง ๆ
(ที่มา: บทความ Morgan Stanley มกราคม 2016)

หมายเหตุ : ข้อมูลระยะเวลา 10 ปี สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2015 ใช้ผลตอบแทนรายเดือน มาคำนวณ

- Global equity ใช้ S&P Global BMI  เป็นตัวแทนของหุ้นโลก

- Global Fixed Income ใช้ Barclays Global Aggregate เป็นตัวแทนของตราสารหนี้โลก

- Global Infrastructure ใช้ Dow Jones Brookfield Global Infrastructure เป็นตัวแทนของโครงสร้างพื้นฐานโลก

จากตาราง พอร์ตลงทุน A และ C มีการลงทุนในหุ้น 75% เท่ากัน แต่พอร์ตลงทุน A ที่มีการกระจายลงทุนในหุ้นโครงสร้างพื้นฐานได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่า บนความเสี่ยงที่ต่ำกว่า พอร์ตลงทุน C ซึ่งมีการลงทุนในหุ้นทั่วโลกอย่างเดียว

5. มีคู่แข่งน้อย และคู่แข่งรายใหม่เข้ามาสู่ธุรกิจได้ยาก

เนื่องจากธุรกิจโดยส่วนมากที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานมักจะมีผู้แข่งขันน้อยราย หรือเป็นแบบผูกขาด (monopoly) ที่มีการทำสัญญาหรือสัมปทานระยะยาว (เช่น ทำสัญญาขนส่งน้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติกับรัฐวิสาหกิจหรือภาครัฐ) คู่แข่งรายใหม่เข้ามาสู่ธุรกิจได้ยาก เพราะมีอุปสรรคในการเข้าสู่อุตสาหกรรมสูง (high barrier to entry) สินทรัพย์ที่ลงทุนต้องใช้เงินลงทุนสูงและใช้เวลานานในการสร้างมูลค่า

KGIFRMF โอกาสเติบโตอย่างมั่นคง แม้เศรษฐกิจผันผวน แถมประหยัดภาษี

ตอนนี้มีกองทุนที่จะเสนอขายโดย บลจ. กสิกรไทย ในวันที่ 11-17 พฤษภาคมนี้ ซึ่งมีนโยบายไปลงทุนในกองทุน