สวัสดีครับเมื่อไม่นานมานี้ Daddy Trader เพิ่ง Live คุยกับหมอนัทคลินิกกองทุนเกี่ยวกับเรื่อง “กองทุนแบบ Active กับกองทุนแบบ Passive จะเลือกลงทุนในกองทุนแบบไหนดีกว่ากัน” ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดี มีผู้เข้าชมเป็นจำนวนมาก รายละเอียดของการการพูดคุยระหว่างผมกับหมอนัทจะเป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการแบ่งประเภทกองทุนตามกลยุทธ์ที่ผู้จัดการกองทุนใช้ในการบริหารกองทุน

โดยส่วนตัวผมชื่นชอบกองทุนประเภท Passive เป็นพิเศษ และลงทุนในกองทุนประเภทนี้ด้วย ซึ่งกองทุนประเภท Passive นั้นมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “ กองทุนรวมดัชนี ” เราลองมาดูรายละเอียดกันครับว่า กองทุนประเภท Passive หรือกองทุนรวมดัชนีมีความน่าสนใจอย่างไร ทำไมผมจึงคิดว่ามันเป็นของดีจนต้องมาบอกต่อกันเลยทีเดียว

รู้จักกองทุนแบบ Active และ Passive

ถ้าเราจะแบ่งประเภทกองทุนตามกลยุทธ์ในการบริหารกองทุน จะสามารถแบ่งประเภทของกองทุนออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

1) กองทุนที่ใช้กลยุทธ์การลงทุนเชิงรุก หรือกองทุนแบบ Active

เป็นกองทุนที่ผู้จัดการกองทุนมุ่งเน้นการทำกำไรให้ได้มากที่สุด หรือพยายามให้ผลตอบแทนของกองทุนชนะดัชนีที่ใช้อ้างอิง (Benchmark) โดยผู้จัดการกองทุนจะใช้ความสามารถเพื่อคัดเลือกหุ้นรายตัว การปรับสัดส่วนสินทรัพย์แต่ละประเภทให้เหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ ซึ่งเราจะพบว่ากองทุนที่ใช้กลยุทธ์แบบ Active นั้น จะมีกองทุนที่ได้ผลตอบแทนที่สูงกว่าและกองทุนที่ได้ผลตอบแทนต่ำกว่าดัชนีอ้างอิง ดังนั้นคนที่จะซื้อกองทุนประเภท Active จะต้องมีความสามารถในการเลือกกองทุนที่ตรงกับความต้องการลงทุนด้วย

2) กองทุนที่ใช้กลยุทธ์การลงทุนเชิงรับ หรือกลยุทธ์แบบ Passive หรือ กองทุนแบบ Passive หรือกองทุนรวมดัชนี

เป็นกองทุนที่พยายามบริหารให้ผลตอบแทนของกองทุนใกล้เคียงกับดัชนีที่ใช้อ้างอิงให้มากที่สุด ผลตอบแทนของกองทุนประเภทนี้เกือบจะเท่ากับผลตอบแทนของดัชนีอ้างอิง ถ้าดัชนีอ้างอิงปรับตัวเพิ่มขึ้น 10% กองทุน Passive ก็จะมีผลตอบแทนประมาณ 10% แต่ถ้าดัชนีอ้างอิงปรับตัวลดลง 10% กองทุน Passive ก็จะมีผลขาดทุนประมาณ 10% ด้วยเช่นเดียวกัน

คนที่สนใจลงทุนในกองทุนแบบ Active อาจจะวัดความสามารถของผู้จัดการกองทุนโดยดูจากผลตอบแทนว่ากองทุนไหนทำกำไรได้ดีก็จะถือว่าเป็นกองทุนที่ดี แต่สำหรับกองทุนแบบ Passive หรือกองทุนรวมดัชนีนั้นเราจะไม่ได้สนใจว่าผลตอบแทนจะมากหรือน้อย สิ่งที่ผู้ลงทุนในกองทุนประเภท passive สนใจ คือ ผลตอบแทนต้องใกล้เคียงกับผลตอบแทนของดัชนีอ้างอิงให้มากที่สุด ยกตัวอย่างเช่น ดัชนีอ้างอิงให้ผลตอบแทน 10% กองทุนรวมดัชนี A ให้ผลตอบแทน 9.9% กองทุนรวมดัชนี B ให้ผลตอบแทน 10.5% กองทุนรวมดัชนี C ให้ผลตอบแทน 11% เราจะบอกว่ากองทุนรวมดัชนี A น่าสนใจมากที่สุด เพราะได้รับผลตอบแทนใกล้เคียงกับดัชนีอ้างอิงที่สุด ซึ่งตัวเลขที่เราใช้วัดความสามารถในการบริหารกองทุนแบบ Passive นั้น เราจะใช้ค่า Tracking Error ซึ่งเป็นการวัดทางความเบี่ยงเบนของผลตอบแทนจากค่ามาตรฐาน

ทำไมเราจึงควรลงทุนในกองทุนรวมดัชนี ?

ในต่างประเทศกองทุนประเภท Passive หรือกองทุนรวมดัชนี ได้รับความนิยมอย่างมากจากนักลงทุน เนื่องจากข้อดีของกองทุนประเภทนี้ คือ

1. ดูผลตอบแทนง่าย เพราะกองทุนประเภทนี้ผลการดำเนินงานจะสะท้อนภาพรวมของตลาดอย่างแท้จริง

2. ไม่มีความเสี่ยงจากการตัดสินใจของผู้จัดการกองทุน และวัดผลการดำเนินงานของกองทุนได้ง่าย เนื่องจากผลตอบแทนของกองทุน Passive ที่ดีจะต้องใกล้เคียงกับผลตอบแทนของดัชนีอ้างอิง

3. เป็นการลงทุนได้ทั้งดัชนีโดยใช้เงินลงทุนที่น้อย ช่วยกระจายความเสี่ยงของหุ้นรายตัว

4. ค่าธรรมเนียมต่ำเนื่องจากกองทุนประเภท Passive ผู้จัดการกองทุนไม่ต้องใช้ความพยายามในการดูแลมากเหมือนกองทุนประเภท Active

5. มีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดี ยิ่งลงทุนในระยะยาวตามการเติบโตของบริษัทจดทะเบียน ผมเห็นว่ากองทุนลักษณะนี้เหมาะกับนักลงทุนมือใหม่ที่ต้องการเริ่มออมเงินในกองทุนรวมหุ้นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว  

รู้ได้อย่างไรว่ากองไหนเป็นกองทุนรวมดัชนี ?

เวลาที่ผมจะดูว่ากองทุนไหนเป็นกองทุนแบบ Passive หรือกองทุนรวมดัชนี ผมจะไปที่เว็บไซต์ของ บลจ. ที่ดูแลกองทุนนั้น ๆ และเข้าไปดูข้อมูลจากหนังสือชี้ชวนฉบับย่อ หรือ Fund Fact Sheet ในส่วนของนโยบายการลงทุน ซึ่งกองทุนประเภท Passive มักจะใช้คำพูดว่า “กลยุทธ์การบริหารกองทุนเชิงรับ (Passive management strategy) ” และมีข้อมูลของดัชนีให้ไว้ด้วยว่ากองทุนนี้จะอ้างอิงกับผลตอบแทนของอะไร

ความหลากหลายของกองทุนรวมดัชนี

การลงทุนในกองทุนรวมดัชนีเราสามารถเลือกดัชนีอ้างอิงที่เราสนใจได้หลากหลายประเภทขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการผลตอบแทนอ้างอิงกับอะไร เช่น ถ้าเราต้องการผลตอบแทนที่อ้างอิงกับผลตอบแทนของตลาดหุ้นในประเทศไทย (ทั้งตลาด ไม่ใช่หุ้นรายตัว) เราก็อาจจะเลือกกองทุนรวมดัชนีที่อ้างอิงผลตอบแทนกับดัชนี SET50 ซึ่งเป็นหุ้นที่มีขนาดใหญ่ 50 ตัวในตลาดหลักทรัพย์ไทย แต่ถ้าเราต้องการผลตอบแทนที่อ้างอิงกับผลตอบแทนของตลาดหุ้นญี่ปุ่น เราก็จะเลือกกองทุนรวมดัชนีที่อ้างอิงผลตอบแทนกับดัชนี TOPIX ซึ่งเป็นดัชนีที่ประกอบด้วยหุ้นทุกตัวที่ทำการซื้อขายในกระดานที่หนึ่งของตลาดหลักทรัพย์โตเกียว เป็นต้น

ใครที่กำลังมองหาที่ลงทุนกองทุนรวมดัชนี ที่ลงทุนได้ง่ายๆ มีเครื่องมือให้ลงทุนสะดวกสบายหลายอย่าง ผมว่า บลจ.กสิกรไทย ก็น่าสนใจนะครับ กองทุนรวมดัชนีทั้งหมดที่ บลจ.กสิกรไทยมีอยู่หลายกลุ่มที่น่าสนใจ และเพียงพอให้เราเลือกลงทุนกัน ยกตัวอย่างเช่น

กลุ่มที่ลงทุนหุ้นต่างประเทศ

  1.     K-CHX: ลงทุนในดัชนีหุ้นจีน ในตลาดเซี่ยงไฮ้และเซินเจิ้น (A-Share)
  2.     K-EUX:  ลงทุนในดัชนีหุ้นยูโรโซน ที่มีขนาดใหญ่และสภาพคล่องสูงสุด
  3.     K-INDX: ลงทุนในดัชนีหุ้นอินเดีย ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด 50 บริษัทแรก
  4.     K-JPX: ลงทุนในดัชนีหุ้นญี่ปุ่น ที่ครอบคลุมทุกอุตสาหกรรมของญี่ปุ