สวัสดีครับ กลับมาพบกับผม TAXBugnoms กันอีกครั้ง และคอลัมน์ “ภาษีธุรกิจ” กับ Aommoney.com ครับผม สำหรับบทความวันนี้เป็นเรื่องของความเข้าใจผิดอีกหนึ่งสำหรับการทำธุรกิจที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล (บริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วน) ครับ

 

นั่นคือ การที่ธุรกิจบางประเภท เลือกใช้วิธีการประหยัดภาษี โดยการ “ซื้อทรัพย์สินในชื่อของบริษัท” เพื่อให้ประหยัดภาษีจากการที่มีค่าใช้จ่ายจ่ายเพิ่มขึ้นครับ

 

ก่อนอื่นผมขอเล่าให้ฟังสั้นๆถึงหลักการในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลอีกสักทีครับ นั่นคือภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้นจะคำนวณจาก “กำไรสุทธิทางภาษี” ซึ่งถ้าใครยังไม่เข้าใจเรื่องนี้ แนะนำให้อ่านบทความเพิ่มได้ที่ ทำไมธุรกิจขาดทุนถึงยังต้องเสียภาษี นี่คือเหตุผลที่คุณต้องอึ้ง!! ก่อนนะครับ 

 

สรุปสั้นๆ จากบทความนั้น คือ เมื่อธุรกิจของเรายิ่งมีค่าใช้จ่ายมากขึ้นเท่าไร กำไรสุทธิก็ยิ่งจะน้อยลงเท่านั้น และส่งผลให้ธุรกิจต้องเสียภาษีน้อยนิดกระจ้อยร่อยตามไปด้วยนั่นเองครับ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ธุรกิจทั้งหลายย่อมวางแผนที่จะเพิ่มรายจ่ายให้มากที่สุดนั่นเองครับ

 

โดยวิธีการหนึ่งซึ่งได้รับความนิยมค่อนข้างมากในอดีต คือการนำสินทรัพย์เข้ามาเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท เพราะว่าจะได้หักค่าเสื่อมราคาเป็นค่าใช้จ่าย นั่นเองครับ

 

ค่าเสื่อมราคา คืออะไร ?

 

ค่าเสื่อมราคา คือ การแบ่งส่วนของมูลค่าสินทรัพย์ที่มีอายุใช้งานเกิน 1 ปี เพื่อนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในระหว่างงวดที่เกิดรายการตามอายุการใช้งานของทรัพย์สิน ครับ

 

ยกตัวอย่างเช่น กิจการลงทุนสร้างอาคาร 1 หลังเพื่อใช้ในการทำธุรกิจโดยมีมูลค่า 1 ล้านบาท ซี่งคาดว่าจะมีอายุใช้งาน 20 ปี ดังนั้นธุรกิจสามารถคิดค่าเสื่อมราคาด้วยวิธีเส้นตรงเป็นค่าใช้จ่ายได้ปีละ 50,000 บาทครับ

 

โดยหลักเกณฑ์ของค่าเสื่อมราคาที่จะนำมาใช้หักเป็นรายจ่ายในการคำนวณภาษีได้นั้น ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด ซึ่งหากใครสนใจสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ พระราชกฤษฎีกาฉบับที่ 145  และเร็วๆนี้ผมอาจจะมีคลิปอธิบายเรื่องนี้ใน Youtube Channel TAXBugnoms อีกด้วยครับ (กดติดตาม Subscribed ไว้ล่วงหน้าได้เลยครับ)

 

เมื่อเป็นแบบนั้นใครหลายคนก็เห็นช่องทางดีๆ ว่า “เอ๊ะ ถ้าแบบนี้เราก็สามารถเอาทุกอย่างเข้ามาเป็นสินทรัพย์ของกิจการเพื่อตัดค่าเสื่อมราคาได้หมดสิ (ถ้าตัดเป็นค่าใช้จ่ายถูกต้องตามกฎหมาย ก็สามารถหักเป็นค่าใช้จ่ายได้เต็มจำนวนแล้ว)  

 

"แหม่.. มันดีจริงๆนะเพราะเราจะสามารถตัดค่าใช้จ่ายได้แถมยังลดภาษีอีกต่างหาก” นั่นแหละครับท่านผู้ชม ใครหลายคนก็เลยตัดสินใจเอา บ้าน รถ อุปกรณ์ต่างๆมาลงเป็นสินทรัพย์ของกิจการซะเลย แถมยิ้มร่าบอกกับตัวเองว่า กิจการของชั้นจะสบายเพราะเสียภาษีน้อยแล้วจ้าาาาา #เต็มที่กันไปเลยครับผม

 

แต่..เดี่ยวก่อนครับ สิ่งที่ผมอยากจะชี้ให้ดูนั้น มันมีอะไรบางอย่างซ่อนอยู่ โดยผมขอแยกออกเป็น 2 ประเด็นที่อาจจะทำให้คนที่ใช้วิธีนี้กลายเป็นเสียภาษีมากขึ้นได้ครับ นั่นคือ...

 

1. กรณีถ้าสินทรัพย์นั้นเป็นของใช้ส่วนตัว แต่เราเอามามั่วเข้าธุรกิจ หลายครั้งหลายคราวที่เจ้าของธุรกิจนำสินทรัพย์ส่วนตัว เช่น รถยนต์ บ้าน หรือสินทรัพย์ต่างๆมาลงเป็น “สินทรัพย์”ของธุรกิจและตัดค่าใช้จ่าย ประเด็นแรกที่จะมีปัญหาคือ สิ่งเหล่านี้จะทำให้ค่าเสื่อมราคา กลายเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (เพราะถือว่าเป็นรายจ่ายที่ไม่เกี่ยวข้องกับกิจการครับ)

 

อ้างอิง :

มาตรา 65 ตรี (3) รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัว การให้โดยเสน่หา หรือการกุศลเว้นแต่รายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะ หรือเพื่อการสาธารณะประโยชน์ตามที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี ให้หักได้ในส่วนที่ไม่เกินร้อยละ 2 ของกำไรสุทธิ และรายจ่ายเพื่อการศึกษาหรือเพื่อการกีฬาตามที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี ให้หักได้อีกในส่วนที่ไม่เกินร้อยละ 2 ของกำไรสุทธิ

มาตรา 65 ตรี (13) รายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ

 

2. ค่าเสื่อมราคาที่หมดแล้ว คงไม่แคล้วต้องเสียภาษีจากกำไรเมื่อมีการขาย จากตัวอย่างข้างต้น ผมอยากให้ดูกันไปยาวๆอีกสักนิดครับ เช่น ถ้าหากเราซื้ออาคารราคา 1 ล้านบาท มาเป็นสินทรัพย์ของบริษัทฯ และสมมุติว่าสามารถใช้ได้ไม่ผิดเงื่อนไขตามข้อ 1 (แน่ละ ชั้นอยู่บ้าน เปิดธุรกิจที่บ้าน ชั้นก็ย่อมจะมีสิทธิเอาบ้านมาเป็นค่าใช้จ่ายนะสิ)

 

แต่สิ่งที่ตามมาหลังจากนั้นก็คือ ถ้าเวลาผ่านไปหลายๆปี พอเราขายบ้านแล้วจะมีกำไรแค่ไหนกันล่ะเธอ ยกตัวอย่างเช่น บ้านราคา 1 ล้านบาท ตัดค่าเสื่อมราคา 20 ปี ปีละ 50,000 บาทโดยประมาณ และเมื่อเวลาผ่านไป 20 ปี จนมูลค่าบ้านสุทธิเหลือ 1 บาท (ตามข้อกำหนดทางกฎหมาย)

 

และถ้าหากเวลาผ่านไปกลายเป็นว่ามูลค่าบ้านเพิ่มขึ้นนิดๆหน่อยๆ ทำให้บ้านราคา 1 ล้านบาท (ที่ตัดค่าเสื่อมราคาหมดแล้วเหลือ 1 บาท) กลายเป็นบ้านราคา 3 ล้านบาทขึ้นมา

 

ดังนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อมีการขายบ้านออกไปคือ กำไรจากการขายจำนวน 2,999,999 บาทนั่นเองครับ และข่าวดีก็คือกำไรจากสิ่งที่เกิดขึ้นนี้จะต้องเสียภาษีทั้งจำนวน (เพราะถือเป็นกำไรจากการขาย)

 

สมมุติว่าถ้ากิจการเราเสียในอัตรา 20% จำนวนภาษีที่ต้องเสียก็อยู่ที่ประมาณ 600,000 บาทเท่านั้นเอง (โอ้ววว)

 

ตรงนี้ใครหลายคนคงคิดในใจว่า โอ้ยไอ้พรี่หนอมแกจะเซ่อซ่าไปถึงไหน แค่เรากำหนดราคาขายบ้านต่ำๆ ขำๆ ขายมันราคาสักสองสามแสน เสียภาษีสักเล็กน้อยก็ได้แล้วสินะ แปะๆๆๆ ถือเป็นความคิดที่ฉลาดมากๆครับ แต่ตรงนี้ ผมคงต้องบอกข้อกฎหมายให้ฟังครับว่า ต่อให้เราพยายามกำหนดราคาขายยังไงก็ตาม แต่กฎหมายนั้นสั่งให้มูลค่าการขายนั้นต้องเป็นไปตามราคาตลาดเท่านั้นครับผม!

 

อ้างอิง :

มาตรา 65 ทวิ (4) ในกรณีโอนทรัพย์สิน ให้บริการ หรือให้กู้ยืมเงิน โดยไม่มีค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือดอกเบี้ย หรือมีค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือดอกเบี้ยต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจปร&#