งบการเงินคือหัวใจของธุรกิจ

งบการเงินเรียกได้ว่าเป็นภาษาสากลในทางธุรกิจก็ว่าได้ เพราะไม่ว่าจะเป็นบริษัทสัญชาติไหน ทำธุรกิจอะไร แปลกประหลาดสักเพียงไหน แต่หลักการในการทำงบการเงินก็เป็นสากลและมีมาตรฐานเดียวกัน งบการเงินจึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการลงทุนในหุ้น เพราะเราสามารถเข้าใจพื้นฐานทางการเงินของกิจการได้อย่างรวดเร็ว ลงทุนศาสตร์แนะนำให้พิมพ์เป็นกระดาษออกมาเพื่อที่จะขีดเขียนและสรุปได้โดยง่าย

ใครจะพิมพ์ออกมาก็แนะนำ HP Printer

ยอมรับอย่างตรงไปตรงมาว่า HP Printer เป็นผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการในการผลิตความรู้ชุดนี้ออกมา แต่ HP Printer ไม่ได้มีแค่ความใจดี เพราะ HP Printer เป็นผู้นำด้านระบบ Productivity เพราะเครื่องพิมพ์ HP Printer สามารถเพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการทำงานด้วยการสั่งพิมพ์งานจากนอกองค์กรได้โดยใช้เทคโนโลยี ePrint ที่สามารถส่งเอกสารไปถึงปลายทางได้โดยทันที ขอแค่ส่งอีเมลได้ แถมยังรองรับไฟล์หลากหลายรูปแบบ ส่งจากอีเมล์มายังเครื่องพิมพ์ และพิมพ์ออกมาเป็นเอกสารได้ทันที นอกจากความสะดวกรวดเร็วแล้วในการทำงานแล้ว ยังสามารถลดค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย

มาเริ่มต้นอ่านงบการเงินกัน

งบการเงินหลัก ๆ มีด้วยกัน 6 ประเภท ได้แก่ งบแสดงฐานะทางการเงิน งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ งบกระแสเงินสด งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น หมายเหตุประกอบงบการเงิน และความคิดเห็นของผู้สอบบัญชี โดยในระดับพื้นฐาน เราจะมุ่งเน้นไปที่ 3 งบหลักที่ใช้ในการทำความเข้าใจกิจการเบื้องต้น ได้แก่ งบแสดงฐานะทางการเงิน งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ และงบกระแสเงินสด

1. งบแสดงฐานะทางการเงิน

งบแสดงฐานะทางการเงินเหมือนกับการเปิดดูกระเป๋าเงินของกิจการว่า ณ จุดเวลานี้ บริษัทมีสินทรัพย์อะไรบ้าง หนี้สินอะไรบ้าง งบแสดงฐานะทางการเงินในสมัยก่อนจะเรียกว่างบดุล เพราะงบการเงินชนิดนี้ต้องดุลกันระหว่าง 2 ฝั่ง คือ สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของผู้ถือหุ้น

หลักการดูงบแสดงฐานะทางการเงินที่สำคัญคือการดูสถานะหนี้สิน

หลักใหญ่ใจความที่เราสนใจงบแสดงฐานะทางการเงิน คือ สภาพคล่อง ความสามารถในการชำระหนี้ ความแข็งแกร่งของกิจการในแง่มุมต่าง ๆ พื้นฐานที่สุดของงบแสดงฐานะทางการเงินจึงเป็นการดูโครงสร้างหนี้ว่าเหมาะสมหรือไม่ โดยปรกติเรามักจะนิยมดูผ่านอัตราส่วนทางการเงิน D/E Ratio หรืออัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น คำนวณโดยนำหนี้สินรวมมาหารด้วยส่วนของผู้ถือหุ้นรวม โดยทั่วไปเลขอัตราส่วนนี้ควรจะไม่มากกว่า 1.5 เท่า ยกเว้นบางกรณี เช่น ธุรกิจการเงินจะมีตัวเลข DE สูงโดยธรรมชาติ หากเราเจอบริษัทไหนที่มีสัดส่วนหนี้สินนี้เยอะ ๆ เราต้องไปลงลึกดูต่อว่าทำไม ยังน่าลงทุนอยู่ไหม แต่ถ้าตัวเลขนี้น้อย ในเบื้องต้นเราก็อาจจะมองได้ว่าผ่านเกณฑ์

2. งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ

งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จเหมือนกับการดูรายรับรายจ่ายของบริษัทว่า ภายในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ ของกิจการ เช่น 3 เดือน หรือ 1 ปี บริษัททำธุรกิจได้กำไรไหม แนวโน้มความสามารถในการทำกำไรเป็นอย่างไร สมการหลักของงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ คือ กำไร = รายได้ - ค่าใช้จ่าย

เราสนใจความสามารถในการทำกำไรและการเติบโต

ก่อนอื่นเราต้องดูความสามารถในการทำกำไรก่อน หลัก ๆ เราจะดู 2 ตัว คือ อัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin ; GPM) คำนวณจากกำไรขั้นต้นหารด้วยรายได้ และอัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin ; NPM) คำนวณจากกำไรสุทธิหารด้วยรายได้ เบื้องต้นเลยคือบริษัทควรจะมีกำไร ดังนั้น GPM และ NPM ควรเป็นบวก แต่จะมากน้อยอย่างไรเราต้องเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรม และบริษัทที่มีลักษณะใกล้เคียง โดยพื้นฐานหาก Margin สูงก็บ่งบอกถึงความสามารถในการแข่งขันที่มาก

ส่วนเรื่องของการเติบโต เราจะดูเปรียบเทียบกันแต่ละช่วงเวลาว่า รายได้มีแนวโน้มเติบโตไหม กำไรมีแนวโน้มเติบโตไหม ในแต่ละช่วงเวลาที่ผ่านมา บริษัทที่ดีควรจะมีรายได้และกำไรเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่ในบางบริษัทอาจจะมีการสะดุดไปบ้าง เราก็ต้องไปค้นหาคำตอบว่ารายได้และกำไรสะดุดเพราะอะไร และมีแนวโน้มจะกลับมาได้ไหม

3. งบกระแสเงินสด

งบกระแสเงินสดเป็นงบที่มุ่งเน้นการดูกระแสเงินสดของกิจการโดยเฉพาะว่า กิจการมีการไหลเข้าไหลออกของเงินสดอย่างไรบ้าง โดยกระแสเงินสดของกิจการจะแบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน (Cash Flow from Operation ; CFO) กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน (Cash Flow from Investing ; CFI) และกระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน (Cash Flow from Financing)

กระแสเงินสดควรจะเป็น บวก , ลบ , ลบ

CFO ของกิจการควรจะเป็นบวก เพราะแสดงว่ากิจการทำธุรกิจและได้เงินสดไหลเข้ามา CFI ของกิจการควรจะเป็นลบ เพราะแสดงว่าธุรกิจมีการนำเงินไปลงทุนเพิ่ม และสุดท้าย CFI ควรจะเป็นลบ เพราะบริษัทควรจะจ่ายเงินสดคืนให้ผู้ถือหุ้นทุกปี

ภาพรวมของการอ่านงบการเงินอย่างง่ายมีภาพรวมดังนี้

ใครถนัดขีดเขียนก็สามารถพิมพ์งบการเงินออกมาขีด มาโยง มาสรุปได้ตามใจชอบ หรือจะทำการเลือกตัวเลขและทำการจดบันทึกไว้อ่านในภายหลังก็สามารถทำได้เหมือนกัน

อย่าลืม ถ้าจะพิมพ์อย่าลืมพิมพ์ด้วย HP Printer

ขอบคุณ HP Printer อีกครั้งที่ช่วยสนับสนุนลงทุนศาสตร์ให้ทำเนื้อหาข้อมูลเพื่อการลงทุนดี ๆ แบบนี้ออกมา ใครจะพิมพ์งบการเงินปึกหนาก็อย่าลืมเรียกหากัน

ลงทุนศาสตร์