สวัสดีครับ กลับมาพบกับพรี่หนอมแห่ง TAXBugnoms กันอีกครั้ง กับบทความใหม่ใน aomMONEY ที่จะมาแบ่งปันแนวคิดของการลงทุน แบบ “ให้เงินทำงาน” อย่างแท้จริงครับผม

หลายคนคงเคยได้ยินว่า "กองทุนรวม" เป็นเครื่องมือหนึ่งในการลงทุนที่ช่วยให้เราได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้นใช่ไหมครับ ซึ่งโดยปกติแล้วการลงทุนในกองทุนรวมนั้น เราต้องใช้เวลาในการคัดเลือกกองทุน ดูผลตอบแทนย้อนหลัง ดู Rating วิเคราะห์กระแส ถามกูรู (หรือดูรายการ #กองทุนไหนดี - พื้นที่โฆษณา) เพื่อทำความเข้าใจและศึกษาข้อมูลว่ากองทุนนั้่นมันคือคุณค่าที่เราคู่ควรจะลงทุนจริงๆครับ

แต่อย่าเพิ่งถอดใจไป!! เพราะทางเลือกในการลงทุนที่ผมจะให้ในวันนี้ มันง่ายยยยยยยกว่านั้นเยอะครับ เรียกได้เลยว่า มันเป็นแนวคิดการลงทุนแบบสบายๆ ชิวๆ ปล่อยให้เงินลงทุนทำหน้าที่ของมันไป แล้วเอาเวลาที่เหลือไปทำมาหากินดีกว่าครับ! 

อะแฮ่ม ก่อนที่จะตัดสินใจลงทุนตามวิธีที่ผมแนะนำ อยากออกตัวไว้ก่อนสั้นๆ ครับว่า บทความนี้ไม่ได้บอกว่าแนวทางนี้ดีกว่าแนวทางการลงทุนแบบอื่นๆนะครับ แต่ตัวผมเองต้องการแชร์อีกทางเลือกหนึ่งในการลงทุนให้ลองพิจารณาดูกันครับ

และต่อให้บทความนี้จะแนะนำวิธีการลงทุนแบบ “ดี ง่าย ได้ผล” แต่สิ่งที่ทุกคนยังคงต้องทำคือ “เข้าใจสินทรัพย์” ที่เราเลือกลงทุน และ “ยอมรับความเสียง” จากการลงทุนให้ได้ด้วยนะครับ ย้ำนะครับว่า ถ้าหากคุณยังไม่เข้าใจความต้องการของตัวเอง หรือมีความรู้พื้นฐานด้านการเงินเพียงพอที่จะจัดการการเงินของตัวเองได้ ผมไม่แนะนำให้ทำตามอย่างเด็ดขาดครับ!

เข้าเรื่องสักที ตกลงว่ามันคืออะไรกันแน่?

เอาล่ะครับ... วิธีการที่ว่านี้ เราจะเน้นที่การ จัดพอร์ทลงทุน เป็นหลักครับ (ถ้าใครยังไม่มีความรู้เรื่องกองทุนรวมและการจัดพอร์ทการลงทุน ขอแนะนำให้ติดตามบทความของ หมอนัท คลินิกกองทุน เพื่อนรักของผมก่อนเลยครับ)

โดยวิธีการหนึ่งที่ค่อนข้างนิยมในการจัดพอร์ทการลงทุนด้วยกองทุนรวมนั้น จะใช้การแบ่งสัดส่วนระหว่าง กองทุนรวมหุ้น กับ กองทุนรวมตราสารหนี้ หรือ กองทุนรวมตลาดเงิน ตามผลตอบแทนที่ต้องการและความเสี่ยงที่เรายอมรับได้ครับ

สำหรับคนที่ยอมรับความเสี่ยงได้ค่อนข้างสูงและต้องการผลตอบแทนระยะยาวที่ดี มักจะเลือกลงทุนในกองทุนหุ้นประมาณ 60-80% และที่เหลือลงทุนในกองทุนตราสารหนี้/ตลาดเงิน ตามความพอใจครับ

โดยกองทุนหุ้น ส่วนใหญ๋ที่แนวคิดนี้เลือกใช้กัน มักจะเป็นกองทุนดัชนีที่มีค่าธรรมเนียมต่ำ อย่างกองทุนรวม SET50 ที่อ้างอิงผลตอบแทนตามตลาดหุ้นเป็นหลัก (แต่ถ้าใครจะเลือกกองทุนหุ้นประเภทอื่นก็สามารถทำได้เช่นเดียวกันครับ) ส่วนกองทุนตราสารหนี้นั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าชอบแบบไหนครับ จะระยะสั้น กลาง หรือยาวนั้น ขึ้นอยู่กับมุมมองและความเสี่ยงที่ยอมรับได้ครับ

หรือถ้าหากใครมองว่าตัวเองต้องเสียภาษีอยู่แล้ว และอยากจะลงทุนด้วยวิธีนี้ ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกันครับ โดยเลือกลงทุนในกองทุน LTF และ RMF แทน เช่น กองทุนหุ้น LTF 70% ร่วมกับ กองทุนตราสารหนี้ RMF 30% ซึงจะได้ประโยชน์จากการประหยัดภาษีเพิ่มขึ้นมาอีกต่อหนึ่งครับ

ตัวอย่างของการจัดพอร์ทแบบต่างๆ จากหัวข้อ ออกแบบพอร์ตลงทุนกองทุนรวมแบบ DIY คุณก็ทำได้ 
ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยครับ

ความเห็นส่วนตัวของผมมองว่า การลงทุนแบบนี้ควรจะคาดหวังผลตอบแทนในระยะยาวครับ (อย่างน้อย 10-15 ปี) และใช้การปรับปรุงพอร์ทการลงทุน (Rebalancing) ปีละ 1 ครั้งเท่านั้นครับ เพื่อปรับให้สัดส่วนการลงทุนเป็นไปตามที่เราต้องการครับผม

ตัวอย่างในการลงทุนแบบนี้ มีมากมายครับ หากใครสนใจเพิ่มเติมขอแนะนำให้ลองดูที่ PROJECT “B” : EARNING YIELD GAP ASSET ALLOCATION 70/30 ของเพจ Bear Investor หรือ index fund ของ Dekisugi.net ครับ

PROJECT “B” เพจ Bear Investor

ตัวอย่าง index fund ของ Dekisugi.net 

แบบนี้มันยากเกินไป มีอะไรที่ง่ายกว่านี้ไหม?

ถ้าหากใครมองว่าวิธีนี้มันยากเกินไป หรือยังไม่ได้กระจายความเสี่ยงในการลงทุนตามที่เราต้องการ เพราะอยากจะลงทุนให้หลายตลาด ทั้งในและต่างประเทศ หรืออยากลงทุนในสินทรัพย์มากมายหลายประเภท แบบนี้จะทำยังไงต่อไปดี?

ไม่ต้องกังวลใจไปครับ ผมมีอีกวิธีหนึ่งมาแนะนำเหมือนกันครับ นั่นคือการใช้ ระบบ หรือ เครื่องมือในการลงทุน ที่พัฒนาเพื่อคนที่ต้องการประหยัดเวลาในการคัดเลือกกองทุนด้วยตัวเองครับ

Treasurist เริ่มลงทุนด้วยแนวทางของผู้เชี่ยวชาญ

Treasurist.com เป็นระบบคัดเลือก “กองทุนแนะนำ” ของผู้ก่อตั้งเพจและเว็บไซต์ Thailand Investment Forum” ที่มีประสบการณ์ลงทุนมากว่า 10 ปี โดยช่วยให้เราคัดเลือกกองทุนที่ดีผ่านการทำแบบสอบถามทั้งหมด 16 ข้อ เพื่อให้ได้รูปแบบการลงทุนที่เหมาะกับเรา (สามารถเริ่มต้นลงทุนด้วยเงินก้อน แล้วต่อยอดด้วยเงินลงทุนรายเดือน) และช่วยจัดพอร์ทการลงทุนให้เรียบร้อยตามความเสี่ยงที่เรายอมรับได้ครับ

ตัวอย่างการใช้งาน Treasurist

วางแผนการเงินง่ายๆ ด้วย NTER

NTER เป็นเครื่องมือบริหารและจัดการเป้าหมายทางการเงินระยะยาวผ่านกองทุนรวม จากทาง FINNOMENA ครับ โดยเน้นการจัดพอร์ทการลงทุนตามเป้าหมายที่ต้องการ (ลงทุนรายเดือน) หรือสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนด้วยเงินก้อน เช่น การสร้างผลตอบแทน หรือ กระแสเงินสดจากการลงทุนครับ  

ตัวอย่างการใช้งาน NTER

สรุป

สำหรับบทความนี้เป็นการแนะนำแนวทางการลงทุนแบบใหม่ในกองทุนรวมในแบบภาพรวมครับ เห็นไหมครับว่าวิธีการลงทุนต่างๆ ที่ผมเล่ามานั้นไม่ใช่เรื่องยากเลยครับ ขอเพียงแค่เรามีความเข้าใจในสินทรัพย์และความเสี่ยงใน