"สินทรัพย์แบบไหนที่คนรวยเค้ามีกันนะ?"

 

สวัสดี !! นายปั้นเงินคนดีคนเดิม กลับมาอีกครั้งแล้ว

หลังจากที่บทความเรื่อง “สินทรัพย์ คืออะไร?”  ได้รับกระแสตอบรับดีงาม ล้นหลาม

และในบทความนั้นเราได้พูดถึง Asset Class ไปคร่าวๆแล้ว

(ใครยังไม่ได้อ่านบทความก่อนหน้า ไปตามอ่านด่วนๆเลยนะ >> รู้แล้วรวย !!! )

งั้นในครั้งนี้เรามาทำความรู้จักกับรายละเอียดของ Asset Class แต่ละชนิด ที่คนรวยส่วนใหญ่เค้าจะนำมาจัดสัดส่วนในพอร์ตการเงินกันดีกว่า เราจะได้รู้แล้วรวยไปพร้อมๆกัน!!!!

 

ย้อนความก่อนว่า Asset Class คืออะไร ?

เป็นกลุ่มสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องที่มากกว่าสินทรัพย์ชนิดอื่นๆ ไม่ต้องกลัวว่าจะขายแล้วเปลี่ยนเป็นเงินได้ยาก เพราะมีตลาดรองรับสินทรัพย์นั้นๆโดยเฉพาะ สามารถโยกย้าย และเปลี่ยนสัดส่วนการถือครอง ไปเป็นสินทรัพย์ชนิดอื่นๆได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว เหมาะกับการหยิบมาทำกลยุทธ์ Asset Allocation มากที่สุด ซึ่งประกอบไปด้วย;

 

1. เงินสด หรือเงินฝากธนาคาร..พี่ใหญ่ด้านสภาพคล่อง แต่เป็นน้องเรื่องผลตอบแทน

เงินสดและเงินฝาก คือ สินทรัพย์สภาพคล่องที่พร้อมจะเปลี่ยนเป็นสินทรัพย์ชนิดอื่นๆได้ตลอดเวลาและมีความเสี่ยงต่ำในการถือครอง แต่ไม่ใช่ว่ามันไม่มีความเสี่ยงเลยนะ


ความเสี่ยงในการถือครองเงินสดคืออะไร?


มันคือการโดนขโมย หรือโดนปล้นนั่นเอง..จะบ้าหรอ เฮ้ย!!เฮ้ย!!เฮ้ย!!

(เล่นเป็นศักรินทร์ดาวร้ายเลยนะ แหม่)

ความเสี่ยงของมัน คือ การเสียโอกาสงามๆในการลงทุน เพราะเงินที่อยู่ในบัญชีเงินฝากมีโอกาสที่จะโดน “เงินเฟ้อ” กัดกินมูลค่าได้ในอนาคต ปัจจุบันค่าเฉลี่ยของเงินเฟ้ออยู่ที่ 3% ต่อปี แล้วดอกเบี้ยออมทรัพย์ล่ะตอนนี้ได้กันอยู่เท่าไหร่ ? ถึง 2% มั้ย? หื้มมมม...

ดังนั้นเงินสดจึงสำคัญสำหรับการลงทุนมาก เพราะมันคือสภาพคล่องที่พร้อมเปลี่ยนเป็นสินทรัพย์ลงทุนได้เมื่อเห็นโอกาส พอได้จังหวะที่เหมาะสมก็อัดเปรี้ยง!!  เงินในพอร์ตหุ้นก็เช่นกัน พยายามกันสัดส่วนของเงินสดไว้เยอะๆเมื่อตลาดหุ้นพบเจอวิกฤต จะได้ไม่ต้องมานั่งเสียใจเวลาไม่ได้หุ้นดีราคาถูก

และเงินสดก็สำคัญมากเมื่อถึงเวลาฉุกเฉิน ในเวลาที่จำเป็นต้องใช้เงินสด คงไม่มีอะไรไปแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการที่เราต้องการได้ดีเท่ากับเงินสดอีกแล้ว

แล้วระดับของเงินสดที่ควรถือครองควรจะเป็นเท่าไหร่ดี?

โดยทั่วไปก็ 3-6 เท่าของจำนวนค่าใช้จ่ายรายเดือน แหละครับ แล้วแต่ความเสี่ยงและความสะดวกของแต่ละคนนะ

 

2. ตราสารหนี้..อยากปล่อยกู้แบบดูดี แถมพอร์ตก็ยังมั่นคง

ตราสารหนี้จะให้ผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย และมอบบทบาท “เจ้าหนี้” ให้กับนักลงทุนที่ถือครองตราสาร ส่วนผู้ระดมทุนคือ บริษัทเอกชน ภาครัฐ ก็กลายเป็นลูกหนี้ที่ต้องจ่ายดอกเบี้ย และไถ่ถอนเงินตามสัญญาที่ระบุไว้

โดยทั่วไปตราสารหนี้ที่เรารู้จักกันก็มี พันธบัตรรัฐบาล, ตั๋วเงินคลัง, หุ้นกู้ภาคเอกชน เป็นต้น ซึ่งจะมีระยะเวลาการไถ่ถอน อัตราดอกเบี้ย และลักษณะพิเศษที่แตกต่างกันออกไป (เรื่องมันยาว คร่าวๆเล่าไม่หมด T^T)

อัตราผลตอบแทนจะได้รับมาในรูปของดอกเบี้ย รายได้จากการคิดลด และกำไรจากการขาย แต่สำหรับนักลงทุนทั่วไปอาจจะสนใจแค่รายได้จากดอกเบี้ยรับก็ได้ เรตยิ่งสูงยิ่งดี ไถ่ถอนไวยิ่งดี


ความเสี่ยงของตราสารหนี้มีมากกว่าเงินสด


แต่ก็ไม่ถือว่าสูง..ซึ่งความเสี่ยงในการถือครองตราสารหนี้จะประกอบไปด้วย ความเสี่ยงด้านเครดิต ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย ความเสี่ยงจากสิทธิ์แฝง เป็นต้น

ซึ่งนักลงทุนสามารถเลือกซื้อตราสารหนี้ได้ตามโอกาสที่ต้องการ แต่อย่าลืมดูอันดับความน่าเชื่อถือด้วย (เครดิต) ถ้าเป็นหนี้ที่ออกโดยภาครัฐ ความเสี่ยงด้านเครดิตก็มีน้อยกว่า ภาคเอกชน และในภาคเอกชนก็จะมีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือด้วยอีกทีนึง ว่าอยู่ในระดับความเสี่ยงที่น่าลงทุนรึเปล่า

ดังนั้นบริษัทที่ไม่น่าเชื่อถือก็จะพยายามออกอัตราดอกเบี้ยสูงๆเพื่อดึงดูดนักลงทุน ส่วนใครเครดิตดีอยู่แล้วก็เรียกดอกเบี้ยต่ำๆได้

ส่วนเรื่องอายุของตราสารหนี้ ยิ่งตราสารหนี้มีอายุการไถ่ถอนที่ยาวนานก็จะยิ่งเผชิญความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย เพราะอัตราดอกเบี้ยจะไม่คงที่และมีความผันผวนตามสภาพเศรษฐกิจ

ถ้าเกิดตราสารที่นักลงทุนถือไว้อยู่มันดันได้ดอกเบี้ยน้อยกว่าอัตราตามท้องตลาด ราคาของตราสารนั้นก็จะยิ่งถูก เพราะไม่มีใครอยากได้ (แหงสิ) แถมเงินที่ได้รับจากดอกเบี้ยก็น้อยกว่าการลงทุนชนิดอื่นๆอีก ซวยซ้ำซวยซ้อนแท้ๆ

สรุปง่ายๆ ข้อดีของตราสารหนี้ถ้าจะเอามาจัดพอร์ตคือ ความผันผวนด้านผลตอบแทนมีน้อยกว่าหุ้น ได้ผลตอบแทนคงที่ และได้รับสิทธิ์ในการชำระหนี้ตามกฏหมายก่อนผู้ถือหุ้น(กรณีที่บ.เจ้าของตราสารล้มละลาย)

นักลงทุนจึงนิยมจัดสัดส่วนของตราสารหนี้ไว้ส่วนนึง เพื่อป้องกันความผันผวนของพอร์ตการลงทุน แถมผลตอบแทนก็มากกว่าเงินฝากออมทรัพย์ คนรวยบางคนจึงเลือกลงทุนในกองทุนรวมตราสารหนี้แทนการฝากเงิน เพราะเรื่องผลตอบแทนนี่แหละ

ดังนั้นแล้วถ้าใครคิดว่าจะลงทุนในตราสารหนี้ ต้องศึกษารายละเอียดให้ดี ดูความเหมาะสมของเงินที่จะนำไปลงทุน แล้วเลือกรูปแบบของตราสารหนี้ให้เหมาะกับการลงทุนของตัวเองนะจ๊ะ

 

3. ตราสารทุน หรือหุ้นนั่นเอง!! 

เมื่อพูดถึงการลงทุนที่ได้ผลตอบแทนสูงถึงสูงมาก และมีความเสี่ยงสูง ก็ต้องนึกถึงหุ้นกันเป็นธรรมดา เพราะการลงทุนในหุ้นเคยเปลี่ยนคนทั่วโลกจากหน้ามือเป็นหลังมือมาแล้ว

มีทั้งคนที่เคยขับวินมอเตอร์ไซค์รับจ้างสู่นักลงทุนในหุ้น พอร์ตพันล้าน แบบ “เซียนมี่” ทิวา ชินธาดาพงศ์ หรือ.. “คุณศิริวัฒน์ วรเวทวุฒิคุณ” เจ้าของแบรนด์ศิริวัฒน์แซนวิช จากนักลงทุนชื่อดังที่เคยมีพอร์ตหุ้นหลายร้อยล้าน เจ็บเพราะหุ้น แต่ไม่อายทำกิน เปลี่ยนมาขายแซนวิชเลี้ยงดูครอบครัว (ทั้งคู่เป็นเคสที่น่าศึกษาและให้บทเรียนชีวิต