อัปเดตมุมมองภาพรวมเศรษฐกิจ

โดย คุณพิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ รองหัวหน้าสายงานวิจัย ฝ่าย KKP Research และ ดร.ณชา อนันต์โชติกุล ผู้อำนวยการอาวุโส KKP Research

Recession ถูกเลื่อน และอาจไม่รุนแรง

เศรษฐกิจโดยรวมของโลกยังมีแนวโน้มชะลอตัวลง ปัจจุบันเกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่า Revenge of the consumer หรือการแก้แค้นของผู้บริโภคจากการเปิดประเทศหลัง COVID-19 โดยพบว่าตัวเลขในเศรษฐกิจของประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสหรัฐฯ และยุโรป ยังมีความแข็งแกร่งกว่าที่คาด

ช่วงปลายปีที่ผ่านมา หลายคนคาดการณ์ไว้ว่าภาวะเศรษฐกิจถอย (Recession) จะเกิดขึ้นในช่วงกลางปี 2023 นี้ แต่จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ KKP ประเมินว่า Recession จะถูกเลื่อนออกไปเป็นช่วงต้นปี 2024 และน่าจะส่งผลกระทบไม่รุนแรง เนื่องจากภาคบริการยังคงแข็งแกร่ง ตลาดแรงงานยังดีอยู่ รวมทั้งเงินเฟ้อยังค่อนข้างสูง

ทั้งนี้ ยังมีโอกาสค่อนข้างน้อยที่วิกฤติรุนแรงเหมือนปี 2008 แต่ยังมีโอกาสเห็น “อุบัติเหตุทางการเงิน” ได้ เช่น การเกิด Bank Run (แห่ถอนเงินออกจากธนาคาร) ในสหรัฐฯ

Local Divergence - วัฏจักรที่แตกต่างกันของภาคเศรษฐกิจสหรัฐฯ

สถานการณ์ของการเปิดเมืองจาก COVID-19 ทำให้เกิดการเร่งตัวของการภาคบริโภค แต่หากดูตัวเลขของวงจรของการผลิต อาจเรียกได้ว่าเกิด Recession ไปแล้ว เนื่องจากมีการหดตัวติดกันหลายเดือน รวมทั้งวงจรของภาคบริการก็มีการขายตัวต่อเนื่อง และภาคอสังหาริมทรัพย์ก็เริ่มฟื้นตัว

ในส่วนของตลาดแรงงานของสหรัฐฯ ยังคงแข็งแกร่ง อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 3.6-3.7 ต่ำที่สุดในรอบหลายปี ทำให้คนยังมีกำลังที่จะออกมาจับจ่ายใช้สอยได้ และสินทรัพย์จากการออมภาคครัวเรือนก็ยังดีอยู่ ส่งผลให้เศรษฐกิจยังคงวิ่งไปได้

Global Divergence - นโยบายการเงินที่สวนทางกันของ DM และ EM

จากสถานการณ์เงินเฟ้อของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว (Developed Markets: DM) ที่ยังคงค้างอยู่ในระดับสูง สวนทางกับกลุ่มประเทศตลาดเเกิดใหม่ (Emerging Markets: EM) ที่เริ่มเปลี่ยนทิศกลับเข้าสู่ระดับปกติ ส่งผลให้ประเทศในกลุ่ม DM ยังคงต้องขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย แต่กลุ่มประเทศ EM เริ่มทยอยลดดอกเบี้ยนโยบายแล้ว

ในส่วนของเงินเฟ้อสหรัฐฯ ลดลงช้ากว่าที่คาด อัตราดอกเบี้ยนโยบายใกล้จุดสูงสุดแล้ว แต่จะยังค้างอยู่ในระดับสูงจนถึงกลางปี 2024 ซึ่งประเมินว่าธนาคารกลางของสหรัฐฯ (Federal Reserve: Fed) จะขึ้นดอกเบี้ยฯ อีกสัก 2 ครั้งเพื่อจัดการกับเงินเฟ้อที่เกิดขึ้น

ภาวะการเงินจะตึงตัวขึ้นในระยะข้างหน้า

ที่ผ่านมาภาวะการเงินยังไม่ตึงตัวมากนัก เนื่องจากการส่งผ่านนโยบายที่ล่าช้า และจากเหตุการณ์ธนาคารล้ม และส่วนของนโยบายดึงสภาพคล่องออกจากระบบ หรือ Quantitative Tightening (QT) นั้นยังคงอยู่ มองว่าในระยะข้างข้างหน้าภาวะการเงินโลกจะตึงตัวขึ้น และส่งผลกระทบถึงประเทศไทยด้วย

ภาพรวมเศรษฐกิจไทย

การเติบโตของเศรษฐกิจไทยถือว่ายังต่ำกว่าแนวโน้มเดิมค่อนข้างมาก ภาคการท่องเที่ยวเป็นเครื่องยนต์หลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ภาคการส่งออกและภาคการผลิตหดตัวต่อเนื่อง มีภาวะการเงินที่ตึงตัวขึ้นจากสินเชื่อธนาคารมีการชะลอต่อเนื่องและการผิดนัดชำระหนี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในระยะต่อไป ซึ่งจะกลายเป็นตัวฉุดรั้งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

ในส่วนของเงินเฟ้อมีการชะลอตัวลงอย่างรวดเร็ว อัตราดอกเบี้ยนโยบายไทยใกล้ถึงจุดสูงสุดแล้ว ประเมินว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) น่าจะขึ้นดอกเบี้ยฯ อีกหนึ่งครั้ง และหยุดที่ 2.25% ทั้งนี้ สถานการณ์ของค่าเงินบาทยังคงมีความผันผวนสูงจากทั้งปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ

เศรษฐกิจ กับ นัยต่อการลงทุน

1.เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัว แต่แข็งแกร่งกว่าที่คาดไว้
🔎นัยต่อการลงทุน: การลงทุนในหุ้นมีความเสี่ยงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก แต่ยังให้ผลตอบแทนที่ดีที่สุดในระยะยาว

2.เงินเฟ้ออยู่ในระดับสูง เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติอย่างช้าๆ อัตราดอกเบี้ยใกล้จุดสูงสุด และจะค้างอยู่ต่อเนื่อง
🔎นัยต่อการลงทุน: ตราสารหนี้ให้ผลตอบแทนสูงในช่วงที่มีความเสี่ยงชะลอตัว โดยเฉพาะสกุลดอลลาร์สหรัฐ

3. ความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากปัญหาสภาพคล่องและปัญหาในภาคการเงิน แต่โอกาสเกิดวิกฤติการเงินต่ำ
🔎นัยต่อการลงทุน: เน้นกระจายการลงทุนไปยังสินทรัพย์ต่างประเทศเพื่อเพิ่มผลตอบแทนและกระจายความเสี่ยง

4.เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวจากภาคการท่องเที่ยวเป็นหลัก มีโอกาสชะลอตัว และยังขาดแรงขับเคลื่อนอื่น
🔎นัยต่อการลงทุน: สินทรัพย์ในรูปสกุลเงินเงินดอลลาร์ยังมีความน่าสนใจจากปัจจัยพื้นฐานระยะยาวที่ดีของเศรษฐกิจสหรัฐฯ

บนความไม่แน่นอนหุ้นไทยยังไหวไหม?

โดย คุณธีระพงษ์ วชิรพงศ์ กรรมการผู้จัดการ ประธานสายงานวิจัย บล.เกียรตินาคินภัทร และ คุณพรทิพย์ ทันตสุวรรณ หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์เศรษฐกิจและการลงทุน บล.เกียรตินาคินภัทร

ในภาพรวมของตลาดหุ้นไทยในครึ่งปีแรก ถือว่าทำผลงานได้ไม่ดี สู้ตลาดโลกไม่ได้ ซึ่งในครึ่งแรกของปี 2023 มีเพียงหุ้นกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ กับกลุ่มธนาคารที่ให้ผลตอบแทนรวมเงินปันผลเป็นบวก นอกนั้นในกลุ่มอื่นๆ ติดลบทั้งหมด

3 เรื่องที่ทำให้ตลาดหุ้นไทยให้ผลตอบแทนไม่ดี

1.ผลการเลือกตั้งผิดความคาดหมาย - เนื่องจากพรรคก้าวไกล ได้คะแนนเสียงจากการเลือกตั้งมากที่สุด ผิดจากที่ตลาดคาด ซึ่งนโยบายหาเสียงของพรรคทำให้เกิดความกังวลว่าจะส่งผลกระทบต่อกำไรของบริษัทจดทะเบียน อย่างเช่น เรื่องของการขึ้นภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นต้น

2.การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยกระจุกตัว - เศรษฐกิจไทยมีการฟื้นตัวที่กระจุกอยู่แต่ในภาคของการท่องเที่ยว ในขณะที่ภาคการส่งออกและภาคการผลิตหดตัว

3.ส่วนต่างดอกเบี้ยนโยบาย - อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยมีส่วนต่างที่ค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับสหรัฐฯ ส่งผลให้เงินมีการไหลออกไปในทีที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า

มองว่าหุ้นไทยไม่ดี เพราะมีปัญหา

ย้อนกลับไปในอตีดตอนที่เศรษฐกิจยังดีอยู่ แค่ดอกเบี้ยเงินฝากก็ให้ผลตอบแทนราวๆ 5-8% ต่อปีแล้ว ซึ่งสูงมาก ในขณะที่ดอกเบี้ยของสหรัฐฯ อยู่แค่เพียง 2 % จะเห็นได้ว่าดอกเบี้ยของไทยสูงกว่าดอกเบี้ยของต่างประเทศมาโดยตลอด รวมทั้งผลตอบแทนและเศรษฐกิจไทยก็โตกว่าต่างประเทศมาโดยตลอดเช่นกัน แต่ 10 ปีที่ผ่านมา สิ่งที่เกิดขึ้นคือมันกลายเป็นตรงกันข้าม อัตราดอกเบี้ยต่างประเทศสูงกว่าไทยมาก ซึ่งเราต้องยอมรับว่าตอนนี้เศรษฐกิจไทยสู้ต่างประเทศไม่ได้

รัฐบาลใหม่จะช่วยกระตุ้นการฟื้นตัวเศรษฐกิจไหม?

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่าเศรษฐกิจจะโตได้มาจาก 3 เรื่อง ดังนี้

🔎1.ประชากร - ประชากรเพิ่ม การบริโภคภาคเอกชนโต ส่งผลให้เศรษฐกิจโต แต่ปัจจุบันประชากรไทยมีแนวโน้มลดลง

🔎2.การลงทุน - การลงทุนเพิ่ม เศรษฐกิจโต ตอนนี้การลงทุนเราไม่มีเลย ความท้าทายคือ ปัจจุบันนักลงทุนไม่ได้ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานแล้ว แต่จะเน้นด้านเทคโนโลยีเป็นหลัก คำถามคือเราทำได้หรือไม่

🔎3.ศักยภาพในการผลิต - ศักยภาพในการผลิตเพิ่ม ผลผลิตเพิ่ม เศรษฐกิจโต ปัจจุบันศักยภาพในการผลิตทางการเกษตรของไทยแย่กว่าเวียดนามเสียอีก

คำถามคือ รัฐบาลใหม่สามารถแก้ปัญหาเหล่านี้ได้หรือไม่ ถ้าแก้ได้เศรษฐกิจก็โต จริงอยู่ที่ว่าการใช้นโยบายการแจกเงิน ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ แต่ก็เป็นเพียงระยะสั้นเท่านั้น ต้องคิดต่อว่าเมื่อเลิกแจกแล้วจะไปอย่างไรกันต่อ

กลยุทธ์การลงทุนเอาชนะความผันผวน

โดย คุณทวีศักดิ์ เผ่าพัลลภ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์เศรษฐกิจและการลงทุน สายงานที่ปรึกษาและบริหารการลงทุนลูกค้าบุคคล บล.เกียรตินาคินภัทร และ คุณพงศธร ลีลาประชากุล นักวิเคราะห์การลงทุนตราสารทุนต่างประเทศ บล.เกียรตินาคินภัทร

เศรษฐกิจสหรัฐฯ ทนทาน = เงินเฟ้อลงช้า + ดอกเบี้ยสูง + เติบโต

ประเมินความน่าจะเป็นของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ใน 12 เดือนข้างหน้า

โอกาสเกิด “เศรษฐกิจถดถอย” = 35%
โอกาสเกิด “เติบโตต่ำกว่าเทรนด์” = 55%
โอกาสเกิด “เงินเฟ้อ/ดอกเบี้ยลงเร็ว” = 5%
โอกาสเกิด “เศรษฐกิจไม่ชะลอ เงินเฟ้อไม่ลง” = 10%

คำแนะนำปรับพอร์ตระยะสั้นในกรอบ 6-12 เดือน

🔎ตราสาร

Moderate Underweight = หุ้นทั่วโลกและตราสารหนี้ High Yield
Moderate Overweight = ตราสารหนี้คุณภาพสูงและทองคำ

🔎ประเทศ

Moderate Underweight = หุ้นสหรัฐฯ
Moderate Overweight = หุ้นยุโรป

ปรับเพิ่ม REIT ทั่วโลกเป็น Moderate Overweight แะนำทยอยซื้อ

ผลตอบแทนคาดหวังที่เพิ่มขึ้น = ช่วยลดความเสี่ยง + เพิ่มผลตอบแทน

แนะนำสัดส่วนการลงทุน ระยะยาว (3-5 ปี)
🔎หุ้น = 50% (หุ้นต่างประเทศ 43% + หุ้นไทย 7%)
🔎ตราสารหนี้ = 30%
🔎สินทรัพย์ทางเลือก = 20%

มุมมองต่อตลาดการลงทุนต่างประเทศ

🔎หุ้นสหรัฐฯ = Underweight

ผลตอบแทนต่อความเสี่ยงดูไม่ดีเนื่องจาก Valuation ที่แพง ตลาดถูกผลักดันจากหุ้นขนาดใหญ่ไม่กี่บริษัท คาดการณ์กำไรที่ดูดีอาจไม่เป็นอย่างที่คาดหวัง ปัจจัยที่ต้องติดตามคือ สถานะเครดิตตึงตัว การบริโภค เงินเฟ้อ และนโยบาย Fed

🔎หุ้นยุโรป = Overweight

การคาดการณ์กำไรถูกปรับเพิ่มขึ้นเป็นวงกว้างและดูดีกว่าตลาดหุ้นโลก และมูลค่าพื้นฐานน่าสนใจ ปัจจัยที่ต้องติดตามคือเรื่องเงินเฟ้อ นโยบายการเงิน และความเสี่ยงเชิงภูมิรัฐศาสตร์

🔎หุ้นญี่ปุ่น = Neutral

การเปิดเมืองดำเนินต่อ มีการปฏิรูปธรรมาภิบาล การเปลี่ยนแปลงนโยบายของ BOJ และ Valuation กับมาในระดับที่ Fair

🔎กลุ่มตลาดเกิดใหม่ (EM) = Neutral

คาดจีนกระตุ้นเศรษฐกิจ ช่วงปลายเดือน ก.ค. มีความคาดหวังของนักลงทุนที่ลดลง สถานการณ์มีความแตกต่างของแต่ละประเทศ และ Valuation ยังค่อนข้างถูก

🔎หุ้นจีน = ในระยะสั้นมีโอกาสขึ้นมากกว่าลง

เหตุผลคือเรื่องของราคาที่น่าสนใจ แต่ก็มีความเสี่ยงเรื่องของนโยบายภาครัฐ และปัญหาภาคอสังหาริมทรัพย์ แนะนำว่าต้องระมัดระวังเรื่องสัดส่วนการลงทุนในหุ้นจีน หากใครที่ลงทุนระยะยาวอย่ารีบซื้อเพิ่ม

สร้างผลตอบแทนจากความผันผวน

หุ้นกลุ่มที่ชอบ: หุ้นที่เติบโตได้ในภาวะที่การเติบโตของเศณาฐกิจชะลอตัวและสามารถรักษาอัตรากำไรไว้ได้ในภาวะที่เงินเฟ้ออยู่ในระดับสูง

ทางเลือก ทางรอด ปรับพอร์ตลงทุน

โดย คุณสุภจักร งามลักษณ์, CFA หัวหน้าทีมผลิตภัณฑ์การลงทุน บล.เกียรตินาคินภัทร และ คุณณัฐชยา สุขุม, CFA นักกลยุทธ์การลงทุน บล.เกียรตินาคินภัทร

ทางรอด = กระจายความเสี่ยง

🔎1. กระจายประเทศ

เหตุผลที่ควรจะกระจายการลงทุนในหลายภูมิภาค คือ หากตลาดใดตลาดหนึ่งไม่เติบโต แสดงว่าเงินของเราก็จะไม่โตตามไปด้วย ปัจจุบันลูกค้าของ KKP 70% ที่พอร์ตมีหุ้นไทยเกิน 80% แบบนี้ถือว่ายังไม่กระจายความเสี่ยง จึงแนะนำว่าควรกระจายไปลงทุนในประเทศอื่นๆ ด้วย

🔎2. กระจายสกุลเงิน

เพราะในความเป็นจริงแล้ว ค่าใช้จ่ายเราไม่ได้มีแต่เงินบาท เรายังมีการใช้จ่ายที่เป็นเงินดอลลาร์ด้วย เคยมีผลสำรวจว่าในชีวิตประจำวัน เราใช้เงินเป็นสกุลดอลลาร์ประมาณ 20% ของการใช้จ่ายเลย ดังนั้น หากเป็นไปได้ควรกระจายความเสี่ยงด้วยการลงทุนตรงในต่างประเทศร่วมด้วย

🔎3. ติดตามพอร์ต

ในโลกการลงทุนไม่มีใครถูกและผิดตลอดเวลา เนื่องจากสถานการณ์มีการเปลี่ยนแปลงตลอด ดังนั้นควรติดตามเหตุการ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น และนำมาพิจารณาเพื่อปรับพอร์ตลงทุนด้วย

คำแนะนำสำหรับสินทรัพย์*

🔎หุ้นไทย (FOOD = Sell / BANK = Hold / ENERGY & CHEMICAL = Hold)
🔎อสังหาฯ (REIT & Infrastructure = Hold)

*หมายเหตุ: การลงทุนมีความเสี่ยงผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจลงทุน